สรุปผลสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “หอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 34”
สัมมนาหอการค้าฯ ครั้งที่ 34 รวมพลังหอการค้าทั่วประเทศ ประกาศ “ปฏิญญาอยุธยา”
สานพลังความร่วมมือตามแนวทางประชารัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พร้อมยกระดับผู้ประกอบการสู่ Trade & Services 4.0 ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
มาเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจ ขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0
สานพลังความร่วมมือตามแนวทางประชารัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พร้อมยกระดับผู้ประกอบการสู่ Trade & Services 4.0 ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
มาเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจ ขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ภาพรวมการจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 34 ว่า ในปีนี้ใช้แนวคิดในการสัมมนาฯ ว่า “นวัตกรรม ทำจริง สู่ประเทศไทย 4.0” (Executing Innovation toward Thailand 4.0) เพื่อการพัฒนาและยกระดับประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางด้านการค้า การลงทุน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้ก้าวสู่ระบบการค้าอัจฉริยะ “Trade & Service 4.0”
ดร.เดช เฉิดสุวรรณรักษ์ กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) หอการค้าไทย กล่าวว่า การสัมมนาหอการค้า
ทั่วประเทศในครั้งนี้ ได้มีการจัดสัมมนากลุ่ม Young Entrepreneur Chamber of Chamber (YEC) โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่จะมาประชุมกำหนดกรอบการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจการค้าและสร้างเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้มีการประชุมในเรื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย การชี้แจงแนวปฏิบัติการเป็นสมาชิก YEC และการขับเคลื่อน YEC ปี 2560 การทบทวนโครงการ YEC ที่ผ่านมา , การเสวนา Inspire Speech "We Are TCC" และกิจกรรม YEC ปี 2560 YEC Pitching โดยมีผู้ประกอบการรุ่นใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 300 คน เข้าร่วมการสัมมนาฯ
ทั่วประเทศในครั้งนี้ ได้มีการจัดสัมมนากลุ่ม Young Entrepreneur Chamber of Chamber (YEC) โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่จะมาประชุมกำหนดกรอบการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจการค้าและสร้างเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้มีการประชุมในเรื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย การชี้แจงแนวปฏิบัติการเป็นสมาชิก YEC และการขับเคลื่อน YEC ปี 2560 การทบทวนโครงการ YEC ที่ผ่านมา , การเสวนา Inspire Speech "We Are TCC" และกิจกรรม YEC ปี 2560 YEC Pitching โดยมีผู้ประกอบการรุ่นใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 300 คน เข้าร่วมการสัมมนาฯ
นายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานกลุ่มที่ 1 เรื่อง “การเชื่อมโยงธุรกิจในภูมิภาค CLMVT+” (CLMVT + : Regional Value Chain Linkage) กล่าวว่า กลุ่มประเทศ CLMV เป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย ด้วยกำลังซื้อจากประชากรกว่า 250 ล้านคน อัตราการเติบโตเฉลี่ยของ GDP มากกว่า 7% สูงกว่าการเติบโตและมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีมูลค่าการค้ากับประเทศ CLMV อยู่เพียง 1 ล้านล้านบาท แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มประเทศ CLMV มีมูลค่าการค้าขายกับทั่วโลกมากถึง 12.5 ล้านล้านบาท เท่ากับว่าประเทศไทยทำการค้ากับกลุ่มประเทศ CLMV เพียง 8.6% ซึ่งประเทศไทยยังมีโอกาสในการดึงส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ใน CLMV จากตลาดโลก ดังนั้น การค้าและการลงทุนในประเทศ CLMV ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศไทย เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยให้เติบโต เข้มแข็ง และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ อย่างไรก็ตาม การเข้าไปลงทุนยังมีประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไข จากการระดมความเห็นจึงได้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
1) โครงสร้างพื้นฐาน ผลักดันให้ยกระดับด่านการค้าเพิ่มขึ้น, ขยายเวลาเปิดด่านการค้าชายแดนถึง 24.00 น.
2) ปลดล็อกทางการค้า การใช้เงินสกุลท้องถิ่นบริเวณชายแดน, ยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกันออกไป (NTM / NTB), ผลักดันความตกลง GMS CBTA, ส่งเสริมให้มีการนำเข้าสินค้าจาก CLMV, ความตกลงร่วมมือในการขนส่งสินค้าระหว่างกัน
3) Knowledge Tank ศูนย์รวมข้อมูลการค้า การลงทุนให้กับผู้ประกอบการไทย สามารถหาข้อมูลได้ในจุดเดียว
4) การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา การพัฒนาบุคลากรในประเทศ CLMV เพื่อรองรับการลงทุนของธุรกิจไทย, การพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาด CLMV
5) การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว ACMECS Single Visa เพื่อให้สอดคล้องกับ concept
“5 Countries 1 Destination”, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ , การรักษาพยาบาล
“5 Countries 1 Destination”, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ , การรักษาพยาบาล
6) ความร่วมมือระหว่างกัน การพบปะกันระหว่างกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ (YEC), การตั้งศูนย์กระจายสินค้า
7) Team Thailand + ปลดล็อคปัญหาทางการค้าที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน
และ เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่
และ เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่
นายสุรงค์ บูลกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานกลุ่มที่ 2 เรื่อง “องค์กรที่ประสบผลสำเร็จในสภาวะเศรษฐกิจยุคใหม่” (Successful Enterprise for Modern Environment) กล่าวว่า องค์กรที่สามารถปรับตัวและอยู่รอดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะเศรษฐกิจและสังคมตามทิศทางของโลก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่เห็นได้ชัด คือ การมี New Business Model ของหลายบริษัทที่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนเองจากเดิม เปลี่ยนไปใช้ Social Media ต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีที่ทำให้รูปแบบของธุรกิจเปลี่ยนไป
จากการระดมความคิดเห็นร่วมกัน สามารถสรุปประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจในสภาวะเศรษฐกิจยุคใหม่ที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดด (Leapfrog) และทำให้ก้าวไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ดังนี้
1) นวัตกรรม (Innovation) เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมของสินค้าและบริการ (Product and Service) หรือ กระบวนการ (Process) ซึ่งเป็นสิ่งที่หอการค้าไทยให้ความสำคัญมาตลอด อาทิ การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship: IDE) และโครงการคูปองนวัตกรรม เป็นต้น
2) เทคโนโลยี (Technology) เป็นปัจจัยที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อทำการตลาด, การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design), การเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากด้วย e-Commerce หรือ การใช้ Big Data กำหนดทิศทางของธุรกิจและวิเคราะห์ความต้องการลูกค้า เป็นต้น
3) การบริหารองค์กร (Management) ประกอบไปด้วยระบบงานส่วนหน้า (Front Office), ส่วนกลาง (Middle Office), ส่วนหลัง (Back Office) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากองค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและเหมาะสมกับรูปแบบการประกอบธุรกิจ
4) New Marketplace การเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจในการเข้าสู่ตลาด จากเดิมที่เป็นรูปแบบปกติ คือ การนำสินค้าเข้าสู่ Modern Trade เป็นการก้าวกระโดด ด้วยการใช้ e-Commerce ให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
และหลากหลายกลุ่ม
และหลากหลายกลุ่ม
นายกลินท์ สารสิน รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานกลุ่มที่ 3 เรื่อง “การสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรม” (Cultural Economy) กล่าวว่า Thailand Services 4.0 เป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มมูลค่าและความแตกต่างให้กับธุรกิจ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนในรูปแบบของเอกลักษณ์และเสน่ห์ไทย หรือ "Innovative on Thai Services" คือมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative) มีวัฒนธรรม (Cultural) และมีการนำเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Technology) เข้ามายกระดับการให้บริการ ทั้งนี้ ต้องมีปัจจัยพื้นฐานคือ มาตรฐานการบริการ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ภายใต้การดำเนินตามหลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) กล่าวคือ ความมีเหตุผล - ความพอประมาณ - มีภูมิคุ้มกัน และใช้ความรู้ควบคู่กับคุณธรรม รวมทั้ง การมีส่วนร่วม (Inclusive) ของชุมชนและทุกภาคส่วน จะนำพาให้การบริการของไทยก้าวสู่ยุคใหม่ ได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ จากการระดมความคิดเห็น ได้ข้อเสนอเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านแนวคิด “Cultural Economy” ดังนี้
- การปรับเปลี่ยนภาคการบริการ (Service Sector) ของประเทศไทยให้เข้าสู่ “Thailand Services 4.0” โดยดำเนินการผ่านแนวคิด “Cultural Economy” ของหอการค้าไทยคือ การใช้วัฒนธรรม ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ท้องถิ่น เชื่อมโยงกับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างความแตกต่างสำหรับสินค้าและบริการ นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และคุณค่าในทางสังคม โดยเชื่อมโยงตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว (Value Chain)
- การขับเคลื่อนการสร้าง Cultural Economy ผ่านโครงการ “ไทยเท่ ทั่วไทย” ซึ่งเป็นการจัดประกวดโครงการที่นำวัฒนธรรมท้องถิ่น ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ มาสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่แต่ละจังหวัดทั่วประเทศไทย
- แนวทางของหอการค้าไทยและหอการค้าทั่วประเทศ ในการสนับสนุนการขับเคลื่อน Cultural Economy โดยเสริมสร้างผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่น ตามแนวคิด Cultural Economy ผ่านเครื่องมือที่หลากหลาย ตั้งแต่การให้คำปรึกษา การสัมมนา การศึกษาดูงาน การฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตร IDEA ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น
งานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 34 ได้มี “ปฏิญญาอยุธยา” ที่หอการค้าทั่วประเทศได้ข้อสรุปร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตามแนวทางดังต่อไปนี้
- หอการค้าทั่วประเทศ จะสานพลังร่วมมือตามแนวทางประชารัฐร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Inclusive Growth)
- หอการค้าทั่วประเทศ จะสนับสนุนภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทย ตามนโยบาย Thailand 4.0
- หอการค้าทั่วประเทศ จะลงมือทำนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล มาให้พัฒนากระบวนการทางธุรกิจไปสู่การค้าและบริการ 4.0 (Trade and Service 4.0) ซึ่งเป็นการค้าและบริการบนระบบอัจฉริยะ (Smart Platform)
“ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว หอการค้าไทย คาดว่าจะช่วยผลักดันให้มูลค่าการค้าและบริการของประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าปีละ 50,000-100,000 ล้านบาท หรือช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 0.4-0.7% ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี 2560 เติบโตที่ระดับ 4.0%” คุณอิสระ กล่าวสรุป