พลอากาศเอกประจิน หนุนอีคอมเมิร์ซชี้ไม่มี รมต.ใหม่กระทรวงดีอีไม่กระทบการทำงาน
ศูนย์สิริกิติ์ 8 ต.ค. -รก.รมว.ดีอี เดินหน้าหนุนอีคอมเมิร์ซตั้งเป้าโตปี 59 ทะลุ 2.5 ล้านล้านบาท ชี้แม้ยังไม่มีรมต.ใหม่ไม่กระทบการทำงาน
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในงาน ไทยแลนด์ อีคอมเมิร์ซวีค เรื่อง “การเป็นกระทรวงดีอีไม่ได้เปลี่ยนแค่ชื่อ กระทรวงดีอี จะรุกการทำอีคอมเมิร์ซของประเทศ...เราควรเดินหน้าอย่างไร...” ว่า การเกิดขึ้นของกระทรวงดีอีมีความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโดยหัวใจหลักต้องนำความเป็นดิจิทัลมาปรับเปลี่ยวิธีการทำงานให้เป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างแท้จริง โดยมีการปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้างกระทรวงและวิธีการทำงาน โดยต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารและลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ลดขั้นตอนการทำงานให้สั้นและรวดเร็ว ตัวบุคลากรต้องเปลี่ยนกระบวนคิดเพื่อใก้การทำงานมีความคล้องตัวสามารถสร้างรูปแบบการบริหารจัดการ แม้ว่าขณะนี้โครงสร้างของกระทรวงยังอยู่ระหว่างปรับเปลี่ยนแต่ไม่มีผลกระทบกับการทำงานตามภารกิจที่รัฐบาลมอบหมายเพราะหน่วยงานหลักยังคงอยู่ทั้งหมดไม่มีการเปลี่ยน
“สำหรับตัวรัฐมนตรีว่าการดีอีขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องมีกาความรู้ความสามารถในการบริหารงานราชการและมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค ผมไม่ทราบเลยว่าจะเป็นใครอยู่ที่ท่านายกรัฐมนตรี ทุกคนก็รอดูว่าจะเป็นใคร แต่แม้ว่าตอนนี้รัฐมนตรีใหม่ยังไม่มาก็ไม่มีปัญหาในการทำงาน ส่วนโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านกระทรวงจะนำความเห็นของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)มาทำทวนและปรับการดำเนินการใหม่โดยจะหารือร่วมกับกสทช.เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวอีกว่า ในการรองรับกระทรวงดีอีสิ่งที่ทำแล้วคือแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือแผนดีอี แผนระดับประเทศคือแผนดิจิทัลกัฟเวอร์เมนท์ ส่วนที่กำลังดำเนินการคือร่างแผนพัฒนาอีคอมเมิร์ซ และร่างแผนไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของ โดยร่างแผนอีคอมเมิร์ซได้นำมารับฟังความคิดเห็นในงานอีคอมเมิร์ซวีคแล้วส่วนร่างแผนซีเคียวริตี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฏีกาคาดว่าภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 จะนำแผนมีมาใช้ได้ ซึ่งแผนจะเน้นการสร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นในระบบไซอร์ที่มองครอบคลุมทั้งมิติด้านเศรษฐกิจและสังคม
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า สำหรับการพัฒนาอีคอมเมิร์ซ สิ่งที่กระทรวงอยากเห็นคือการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นโดยอยากให้มีการเติบโตของการใช้จ่ายออนไลน์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ทั้งนี้เพื่อทำให้ไปสู่เป้าหมายจะพยายามช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบการ ทั้งต้นทุนด้านการชำระเงินและการขนส่งสินค้า การขยายตลาดทั้งระดับผู้ชายรายย่อยและระดับองค์กรธุรกิจ นอกจากนี้ต้องเตรียมการในการเพิ่มบุคลากรให้พอเพียง รวมถึงการคิดค้นสร้างนวัตกรรมและส่งเสริมบริษัท startup รายใหม่ไปพร้อมกัน ทั้งนี้รัฐบาลจะสร้างกลไกสนับสนุนทางด้านเงินทุน การเพิ่มศักยภาพและสิทธิพิเศษทางภาษี เพื่อให้ผู้ประกอบการมีคาวมเข้มแข็งโดยตั้งเป้าจะเพิ่มมูลค่าการซื้อขายออนไลน์ในปีนี้ให้ได้ถึง 2.5 ล้านล้านบาท