CAT เผยโฉมผู้ชนะการแข่งขัน CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST 2016
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคว้าแชมป์อันดับหนึ่ง
อัจฉริยะนักแกะรอยภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ ปีที่ 3
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT จัดการแข่งขัน CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST 2016 รอบชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 ที่ผ่าน เพื่อเฟ้นหาแชมป์อัจฉริยะนักแกะรอย ภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ปีที่ 3 โดยมีนิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมชิงชัย และได้รับคัดเลือกเป็นสุดยอดทีมจำนวน 10 ทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศลุ้นแชมป์คว้าเงินทุนการศึกษากว่า 100,000 บาท ซึ่งทีมที่คว้าแชมป์อันดับหนึ่ง ได้แก่ ทีม 1' or '1' = '1 (วันออร์วันอีคัววัน) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พันเอกสรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST 2016 กล่าวว่า “การแข่งขัน CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST 2016” ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีต่อเนื่องกันมา เป็นปีที่ 3 แล้ว ด้วย CAT เล็งเห็นถึงปัญหาของการก่ออาชญากรรมบนโลกออนไลน์ที่ส่งผลกระทบสำคัญของระบบเศรษฐกิจ และความปลอดภัย ต่อความมั่นคงของประเทศที่มีสถิติสูงขึ้นในทุกๆ ปี และผลกระทบก็มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วยซึ่งเปลี่ยนไปจาก ในอดีตที่เพียงแค่สร้างความไม่สะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน การสร้างชื่อเสียงหรือจุดสนใจให้กับตัวเอง การทำลายระบบ การทำลายชื่อเสียง และในปัจจุบันที่ไปถึงขั้นเรียกเงินจากเหยื่อที่โดนคุกคาม ซึ่งกสท โทรคมนาคม ในฐานะ องค์กรภาครัฐผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศได้ตระหนักถึงภัยคุกคามของ ปัญหาดังกล่าว กอรปกับการเล็งเห็นว่าการจัดการกับปัญหาอย่างยั่งยืนและมีระบบนั้นควรต้องเริ่มปลูกฝังจาก กลุ่มคนรุ่นใหม่ ได้แก่ กลุ่มนิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการพัฒนาทางด้านความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAT จึงได้ริเริ่มโครงการ CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST ขึ้นเพื่อมุ่งหวังที่จะปลูกฝังให้นิสิต นักศึกษาตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามต่างๆ บนโลกออนไลน์ ตื่นตัวก้าวทันเทคโนโลยีและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถนำความรู้และประสบการณ์ ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์อย่างมีจรรยาบรรณ ในการ ใช้ทักษะความรู้ความสามารถในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งด้านความปลอดภัยของระบบ เทคโนโลยีในระดับประเทศต่อไป
นางสาวกัณณิกา วรคามิน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า การคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 10 ทีมนั้น ถูกคัดเลือกมาจากหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี แต่ยังคงไม่ทิ้งหัวใจหลักของกิจกรรมคือต้องมีความรู้ และ ความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย และมีจรรยาบรรณที่ดีเป็นหลักสำคัญ ซึ่งในปีนี้ การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST 2016 จะถูกพิจารณาภายใต้ แนวคิด “SOC Intelligent เฟ้นหาคนอย่างคุณ” โดยสุดยอด 10 ทีมนั้นจะได้รับการอบรมความรู้ที่จำเป็น ต้องใช้ในการทำโจทย์การแข่งขัน ซึ่งเป็นการอบรมที่ไม่สามารถศึกษาได้จากในสถาบันการศึกษาหรือศึกษาค้นคว้า เองในอินเทอร์เนททั่วไป ทำให้เกิดความเสมอภาคกันไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันไม่ว่าจะเป็นทีมแชมป์เก่า ที่มีประสบการณ์ในการแข่งขันในปีก่อนๆมาแล้ว หรือจะเป็นทีมที่พึ่งเข้าร่วมแข่งขันในปีนี้เป็นปีแรกก็ตาม
ในปีนี้มีการพัฒนาโจทย์การแข่งขันให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งทีมนักศึกษาจะถูกสวมบทบาทสมมติเป็น Security Analyst ซึ่งปฏิบัติงานเฝ้าระวังและตอบสนองต่อเหตการณ์ภัยคุกคามต่างๆ ตลอด 24x7 โดยปฏิบัติงาน ประจำอยู่ที่ศูนย์ Security Operation Center (SOC) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 27001 แห่งแรก ในประเทศไทย โดยต้องใช้ความรู้ความสามารถรวมถึงปฏิภาณไหวพริบในการสืบสวนแกะรอยภัยคุกคามและค้นหา คำตอบให้ได้ภายในเวลาการแข่งขันที่กำหนด 3 ชั่วโมง จนได้ผู้ชนะ 3 อันดับ ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และรองชนะเลิศอันดับสอง พร้อมรับเงินรางวัลทุนการศึกษามูลค่า 60,000 บาท, 40,000 บาท และ 30,000 บาท ตามลำดับ ซึ่งจากการขับเคี้ยวกันอย่างเข้มข้นภายในเวลาที่กำหนดกับการแก้โจทย์ สุดหินซึ่งเป็นสถานการณ์จริงที่เกิด ขึ้นในศูนย์ Security Operation Center (SOC) จนได้ผู้ชนะแชมป์อัจฉริยะ นักแกะรอยภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ ปีที่ 3 นั่นคือ ทีม 1' or '1' = '1 (วันออร์วันอีคัววัน) ที่ประกอบด้วย 4 สมาชิกจาก รั่วสถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้แก่ วีรภัทร ทรัพย์สมบูรณ์, นพณัฐ พลอยวงศ์, สัตยา สิงห์กุล และภูภัฎ ทองอยู่ 4 หนุ่มน้อยที่สามารถพิชิตโจทย์ได้ทันเวลา และค้นหาร่องรอย การโจรกรรมได้ถูกต้อง จนได้รางวัลชนะเลิศ รับทุนเงินทุนการศึกษามูลค่า 60,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
วีรภัทร ทรัพย์สมบูรณ์ ตัวแทนทีม 1' or '1' = '1 (วันออร์วันอีคัววัน) กล่าวว่า “การโจรกรรมบนโลก ไซเบอร์ หรือแฮคเกอร์ (Hacker) นั้น ไม่อยากให้มองเป็นสิ่งไม่ดีไปทั้งหมด เพราะ Hacker มี 2 ด้าน ทั้งด้านร้าย และด้านดีอยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้ด้านไหน ซึ่งปัจจุบันจะเห็นว่าเกิดปัญหา Hacker ที่ทำลายระบบ การทำงานทั้งของ องค์กรใหญ่ๆ และราชการ รวมไปถึงการแฮคเข้าสู่ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทั่วไป จนเกิดความเสียหายและ ผลกระทบรุนแรงมากมาย จึงอยากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่นำเอาทักษะความสามารถในการแฮคมาใช้ในทางที่เป็น ประโยชน์ต่อสังคมดีกว่านำมาทำร้ายกัน ถ้าเรามองเห็นช่องโหว่ของระบบแทนที่จะหาโอกาสทำลายหรือหากำไร จากช่องโหว่นั้น มาเป็นการอุดช่องโหว่ป้องกันและแก้ไขระบบไปด้วยกันดีกว่า เพื่อให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของไทยปลอดการโจรกรรมและพัฒนาก้าวหน้าทันสมัยยิ่งขึ้นทัดเทียมนานาประเทศ”
นอกจากนี้ทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดันหนึ่งได้แก่ ทีม iSasP Reborn และทีม NyanHack จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเช่นเดียวกัน ซึ่ง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดีๆ อย่าง CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST จะมีส่วนช่วยในการ ส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบุคลากรสายไอทีที่มีความรู้ความสามารถในด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและมีจรรยาบรรณที่ดี อันจะเป็นส่วนสำคัญให้ประเทศมีระบบสารสนเทศที่เข้มแข็งต่อไป อย่างยั่งยืน