สิงห์ผนึก 3 หน่วยงานรัฐ ผุด “World Food Valley Thailand” ปั้นไทยฮับเมืองนวัตกรรมอาหารโลก
จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี (ที่ 2 จากขวา) กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท
สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วย คุณยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ (ที่ 2 จากซ้าย)
ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร, คุณสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ (ซ้ายสุด)
รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ งประเทศไทย, คุณสาลินี วังตาล (ขวาสุด) ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิส าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพั ฒนาโครงการ “เวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์” (World Food Valley Thailand) เปิดนิคมอุตสาหกรรมอาหารแห่งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรู ปของไทย ให้ก้าวไปสู่การผลิตและแปรรูปสิ นค้าด้วยนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์อา หารไทยอย่างยั่งยืน โดยมี ดร.อรรชิกา สีบุญเรือง (กลาง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรร ม ร่วมเป็นสักขีพยาน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ เมื่อ 19 กันยายน 2559
คุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วย คุณยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร, คุณสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, คุณสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาโครงการ “เวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์” (World Food Valley Thailand) เปิดนิคมอุตสาหกรรมอาหารแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทย ให้ก้าวไปสู่การผลิตและแปรรูปสินค้าด้วยนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์อาหารไทยอย่างยั่งยืน โดยมี ดร.อรรชิกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ เมื่อ 19 กันยายน 2559
คุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วย คุณยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร, คุณสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, คุณสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาโครงการ “เวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์” (World Food Valley Thailand) เปิดนิคมอุตสาหกรรมอาหารแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทย ให้ก้าวไปสู่การผลิตและแปรรูปสินค้าด้วยนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์อาหารไทยอย่างยั่งยืน โดยมี ดร.อรรชิกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ เมื่อ 19 กันยายน 2559
นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท ได้ร่วมกับ 3 หน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสถาบันอาหาร(สอห.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือพัฒนาโครงการ “World Food Valley Thailand” เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทย ให้ก้าวไปสู่การผลิตและแปรรูปสินค้าด้วยนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจอาหารของประเทศแข็งแกร่ง และสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้มากขึ้น
นอกจากนี้ โครงการ “World Food Valley Thailand” ยังถือเป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทย และเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมหรือไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมอาหาร ที่ต้องการผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งเมืองนวัตกรรมอาหารขึ้นด้วย
สำหรับโครงการ “World Food Valley Thailand” บริษัทจะพัฒนาให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารครบวงจรภายใต้แนวคิดอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ(Eco-Industrial Estate)มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและแปรรูปอาหารเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาธุรกิจ การลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ตลอดจนสร้างเครือข่ายธุรกิจ ซึ่งคาดหวังว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้กับผู้ผลิตอาหารไทยยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมอาหารถือเป็นกลไกสำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย มีสัดส่วนคิดเป็น 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) และในแต่ละปีประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปยังตลาดโลกมูลค่ามหาศาล นับเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับที่ 14 ของโลกด้วย สำหรับในปี 2558 ที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกอาหารและสร้างรายได้ให้กับประเทศมูลค่าสูงถึง 897,529 ล้านบาท แต่สินค้าส่วนใหญ่ยังไม่ได้แปรรูป หรือมีการผลิตโดยนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มมากนัก ซึ่งส่งผลต่อราคาขายให้อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก โดยเฉพาะหลายประเทศในยุโรป ได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารให้รุดหน้าไปมาก มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า ที่สำคัญยังสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
“อุตสาหกรรมอาหารของไทยต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกับกระแสโลก ที่ขณะนี้กำลังเคลื่อนตัวสู่อุตสาหกรรม 4.0 มีการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตสินค้า ซึ่งสิงห์ คอร์เปอเรชั่น ในฐานะเป็นผู้ผลิตและทำตลาดอาหารและเครื่องดื่ม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นภาคเอกชนลำดับแรกที่ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อดำเนินโครงการWorld Food Valley Thailandผลักดันให้เป็นเมืองนวัตกรรมอาหารที่ครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย และบริษัทต้องการผลักดันให้เป็นศูนย์กลาง(ฮับ)ระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนด้วย โดยโครงการจะให้บริการพื้นที่อุตสาหกรรมและบริการงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อาทิ การกำกับดูแลการผลิตและการนำเข้าวัตถุดิบตลอดจนปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัย บริการวิเคราะห์ทดสอบและการรับรองมาตรฐานของอาหารไทยสามารถเชื่อมโยงการบริการทางการเงิน เทคนิค พี่เลี้ยง ที่ปรึกษาด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการอาหารไทยมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น”
จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี (ขวา) กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สิงห์
คอร์เปอเรชั่น จำกัด และ ดร.อรรชิกา สีบุญเรือง (ซ้าย)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรร ม ร่วมมือพัฒนาโครงการ “เวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์” (World Food Valley Thailand) เปิดนิคมอุตสาหกรรมอาหารแห่งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรู ปของไทย ให้ก้าวไปสู่การผลิตและแปรรูปสิ นค้าด้วยนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์อา หารไทยอย่างยั่งยืน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ เมื่อ 19 กันยายน 2559
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการพัฒนา World Food Valley Thailand ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยในรูปแบบประชารัฐ และมีการมุ่งเป้าสู่การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารสู่ยุค 4.0 โดยคำนึงถึงอนาคตของประเทศ และพี่น้องประชาชนคนไทยในพื้นที่ สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและแผนอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ ของกระทรวงอุตสาหกรรมในอนาคตที่ควรจะต้องมีการสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนานวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม และการนำผลงานเหล่านั้นไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคเอกชนอย่างเป็นระบบ ก่อเกิดประสิทธิภาพต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวมให้มากขึ้น
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการพัฒนา World Food Valley Thailand ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยในรูปแบบประชารัฐ และมีการมุ่งเป้าสู่การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารสู่ยุค 4.0 โดยคำนึงถึงอนาคตของประเทศ และพี่น้องประชาชนคนไทยในพื้นที่ สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและแผนอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ ของกระทรวงอุตสาหกรรมในอนาคตที่ควรจะต้องมีการสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนานวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม และการนำผลงานเหล่านั้นไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคเอกชนอย่างเป็นระบบ ก่อเกิดประสิทธิภาพต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวมให้มากขึ้น
นางอรรชกา กล่าวต่อว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศสู่ยุค 4.0 ควรให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและการแข่งขันของผู้ประกอบการอาหารไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 หรือให้เป็นนักรบรุ่นใหม่ 2) การจัดระบบการพัฒนาปัจจัยเอื้อต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทยเป็นครัวของโลก เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารไทย อย่างเช่นการพัฒนา World Food Valley Thailand ที่มีองค์ประกอบในการให้บริการทั้งพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม พื้นที่การให้บริการภาครัฐแบบ One Stop พื้นที่เพื่อการเชื่อมโยงการพัฒนานวัตกรรมและมาตรฐาน ตลอดจนพื้นที่เพื่อการพัฒนากำลังแรงงานภาคอุตสาหกรรม และ 3) การพัฒนาตลาดอุตสาหกรรมอาหารอนาคต และช่องทางการค้าในเวทีสากล เพื่อให้เอสเอ็มอีได้มีโอกาสเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารโลก
“นอกจากนี้ควรมีการกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการขับเคลื่อนในระยะ 20 ปีข้างหน้าให้ชัดเจน ประกอบด้วย 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1) การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ S Curve ในสาขาอาหารให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และการสร้างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยในเวทีโลก โดยรวมน่าจะต้องมีจำนวนกว่า 20,000 ราย 2) การเพิ่มมูลค่าและผลิตภาพให้มีอัตราการขยายตัวให้ได้ร้อยละ 2 ต่อปี โดยการพัฒนามาตรฐานสินค้าอาหารแปรรูปไทยทั้งรสชาติและมาตรฐานตามที่ตลาดต่างๆ ต้องการ และ 3) การสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถค้าขาย ส่งออกได้บนพื้นฐานของสินค้าที่มีคุณภาพและมีมูลค่าเพิ่มในตลาดเดิมและตลาดใหม่จนทำให้มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ทั้งนี้ ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ในการทำงานว่า “ประชารัฐร่วมใจประเทศไทยเป็นครัวของโลก” และมีการวัดผลของการทำงานจากส่วนแบ่งในตลาดโลก มุ่งสู่การเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารติดอันดับ TOP 5 ให้ได้ในอีก 20 ปีข้างหน้า”
นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการพัฒนา World Food Valley Thailand ว่า จากการที่สถาบันอาหาร ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะกรรมการชี้นำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการเพิ่มผลิตภาพ นวัตกรรม และมาตรฐานภาคอุตสาหกรรม(SPRING BOARD) ให้เป็นหน่วยงานสำนักงานอย่างเป็นทางการเพื่อประสานการพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหาร ภายใต้แนวนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ 20 ปี ซึ่งเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการผลิตอาหารแปรรูปมุ่งสู่อุตสาหกรรมอาหาร 4.0 และการพัฒนาอาหารสู่ตลาดการค้าโลก พร้อมการส่งเสริมวิสาหกิจไทยในทุกระดับ และเห็นควรให้มีการพัฒนากลไกการกำกับดูแลการพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรมกลางนํ้าให้เกิดความเชื่อมโยงกับต้นนํ้าและปลายนํ้า โดยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
สถาบันอาหาร จึงได้ร่วมกับ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาโครงการ World Food Valley Thailand ขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่ของบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ที่จังหวัดอ่างทอง เนื้อที่ประมาณ 1,300 ไร่ ให้เป็นเมืองนวัตกรรมอาหารอนาคตครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยมีแนวทางความร่วมมือในครั้งนี้ดังนี้ 1) ร่วมมือในการศึกษาพัฒนาความเป็นไปได้โครงการพัฒนา World Food Valley Thailand 2) ร่วมมือในการพัฒนาผู้ประกอบการอาหารและบุคลากร รวมถึงบรรยากาศในการประกอบธุรกิจ(Ecosystem) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3) ร่วมมือในการส่งเสริม ผลักดันให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยเอื้อ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอนาคตของประเทศ 4) แสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อให้โครงการ World Food Valley Thailand ประสบความสำเร็จโดยรวดเร็ว และ 5) ร่วมมือดำเนินกิจกรรม/โครงการอื่นๆ ตามที่ทั้ง 4 ฝ่ายเห็นสมควร
นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) กล่าวว่า ธนาคารฯมีภารกิจในการให้บริการทางการเงินและบริการอื่นๆ ตอบสนองความต้องการผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมไทย(เอสเอ็มอี) โดยผู้ประกอบการไม่น้อยที่มีการประกอบกิจการอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้น ธนาคารฯจึงเล็งเห็นความสำคัญในการเข้ามาช่วยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการดังกล่าวให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ World Food Valley Thailand
ทั้งนี้ การลงนามบันทึกข้อตกลลงครั้งนี้ ธนาคารจะให้ความช่วยเหลือในด้านการบริการทางการเงินให้กับผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในโครงการ รวมทั้งให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในปัจจัยแวดล้อมอื่นๆด้วย ที่จะนำไปสู่การเพิ่มความสามารถการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย
นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)จำนวนมากกว่า 2.9 ล้านราย และเป็นฟันเฟืองที่สำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐไทย สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจในสัดส่วนกว่า 40% ทั้งนี้ สสว. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานบูรณาการ และผลักดันการส่งเสริม SME ของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้ SME สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล (Smart SME) การร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือพัฒนาโครงการ World Food Valley Thailand กับบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด สถาบันอาหาร และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) เพื่อสร้างเมืองนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารไทยแข็งแกร่ง