ดีแทคเสนอแก้ร่าง กม. จัดสรรคลื่นความถี่ มุ่ง 3 สาระสำคัญเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติ
2 สิงหาคม
2559 –
ดีแทคเสนอ 3 ข้อสาระสำคัญร่วมผลักดัน พรบ. จัดสรรคลื่นความถี่ฯ ต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิ สามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพื่อเตรียมความพร้อมรั บเทคโนโลยีสื่อสารดิจิทั ลและการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่ อประโยชน์สูงสุดของทุกฝ่ ายในชาติ
นายภารไดย ธีระธาดา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
กลุ่มกิจการองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า
“ดีแทคได้เข้าร่วมประชุมกั บคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่ างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่ นความถี่และกำกับการประกอบการวิ ทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่
..) พ.ศ. …. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อแสดงความเห็นและข้ อเส
นอแนะที่มีต่อพรบ. จัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าผู้ใช้บริการ ภาครัฐ ผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจจะร่ วมเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ในอนาคต”
ข้อเสนอที่เป็นประเด็นสำคัญที่ สุดที่ดีแทคนำเสนอต่ อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณา มี
3
ประเด็น คือ ข้อ 1. การประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า (Early Auction)
ดีแทคเสนอให้มีการประมูลคลื่ นความถี่ก่อนที่ใบอนุญาตหรือสั ญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง โดยให้ใบอนุญาตใหม่มีผลเริ่มต้ นในวันที่ใบอนุญาตหรือสัญญาสั มปทานเดิมสิ้นสุดลง ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่ นใจว่าจะสามารถใช้บริการได้อย่ างต่อเนื่อง ไม่เกิดความกังวลเรื่องซิมดับ
หากไม่มีการประมูลใบอนุญาตก่ อนที่ใบอนุญาตเดิมจะสิ้นสุดลง การให้บริการลูกค้าที่ยังตกค้ างในโครงข่ายจะเป็นการให้บริ การตามมาตรการเยียวยาซึ่งไม่เป็ นผลดีกับฝ่ายใด และก่อให้เกิดปัญหาด้านการจั ดการคลื่นความถี่ โครงข่าย และเกิดการฟ้องร้องต่างๆ ตามมาดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้ วในอดีต
อีกทั้ง หากมีการจัดให้มีการประมูลคลื่ นความถี่ล่วงหน้า รัฐก็จะได้รับเงินจากการประมู ลคลื่นความถี่เร็วขึ้นซึ่ งหมายถึงรายได้ และดอกผลจำนวนมหาศาลที่รัฐจะได้ รับจากเงินดังกล่าว
ข้อ
2.
สนับสนุนให้มีการระบุชัดเจนว่ าผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่ นความถี่สามารถโอนใบอนุญาตให้ ใช้คลื่นความถี่ (Spectrum Trading) ได้เหมือนกับหลักเกณฑ์สากล เนื่องจากร่าง พรบ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ ในขณะนี้กล่าวถึงเฉพาะการให้ร่ วมใช้คลื่นความถี่ (Spectrum
Sharing) หรือให้เช่าใช้คลื่นความถี่ (Spectrum Leasing)
เท่านั้น การเพิ่มเรื่องการโอนใบอนุ ญาตจะทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ต้องการเข้ามาแข่งขั นในตลาดสามารถเข้ามาได้ทันที ไม่ต้องรอให้มีการจัดประมูลที่ นานๆ จะเกิดขึ้น และยังลดความเสี่ยงของผู้ ประกอบการรายใหม่ในการทดลองเข้ ามาแข่งขัน เพราะหากไม่ประสบความสำเร็จ ก็ยังโอนขายใบอนุญาตได้
เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดผู้ ประกอบการรายใหม่ และยังทำให้ผู้ประกอบการที่ให้ บริการอยู่ต้องให้บริการที่ดี ในราคาที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจมีผู้ ประกอบการรายใหม่ที่มั่นใจว่ าทำได้ดีกว่าเข้ามาแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่ างแน่นอน อย่างไรก็ดี การให้โอนใบอนุญาตก็เหมือนเรื่ องอื่นๆ
ที่จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขว่ าเมื่อไหร่โอนได้โอนไม่ได้ โดยเงื่อนไขต้องรัดกุม เช่น ต้องกำหนดเงื่อนไขป้องกันไม่ให้ เกิดการเข้ามาขอรับใบอนุญาตเพื่ อนำไปโอนขายหากำไรโดยไม่มี เจตนาประกอบการจริง เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ สามารถกำหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกั นได้โดยอ้างอิงตามหลักเกณฑ์สากล
ข้อ
3.
กฎหมายควรกำหนดให้ กสทช. ต้องกำหนดระยะเวลาที่แน่ นอนในการจัดสรรคลื่นความถี่แต่ ละคลื่น หรือที่เรียกว่าแผนการจัดสรรคลื่ นความถี่ (Spectrum Roadmap)
โดยควรต้องประกาศใช้แผนดังกล่ าวให้เร็วที่สุดภายหลังที่ กฎหมายใหม่ประกาศใช้ เนื่องจากประเทศไทยยังมีความต้ องการคลื่นความถี่อี กจำนวนมากเพื่อรองรับการใช้ งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมื อถือ นอกเหนือจากคลื่น
1800 MHz และ 900 MHz ในการประมูลที่ผ่านมา โดยจากการศึกษาของ
ITU พบว่าความต้องการจำนวนคลื่ นความถี่ของแต่ละประเทศในการใช้ งานจะเพิ่มเป็นจำนวน
1340 MHz ถึง 1960
MHz ในปี พ.ศ. 2563 ในขณะที่วันนี้ประเทศไทยมี จำนวนคลื่นความถี่ในการใช้ งานเพียง
320 MHz เท่านั้น ดังนั้น จึงควรมีการจัดทำแผนแผนการจั ดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap)
เพื่อเอาคลื่นความถี่มาประมู ลให้มากขึ้น โดยควรกำหนดแผนไว้ล่วงหน้าอย่ างน้อย
5 ปี เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ และเพื่อให้ผู้ ประกอบการสามารถวางแผนการลงทุ นได้อย่างมีประสิทธิ ภาพและสอดคล้องกับพั ฒนาการของเทคโนโลยีและความต้ องการใช้บริการอินเทอร์เน็ ตความเร็วสูงบนมือถือ