ADS


Breaking News

ดีแทค แอคเซอเลอเรท ร่วมสานฝันปั้นสตาร์ทอัพช้างเผือกระดับท้องถิ่น ในงานสตาร์ทอัพและดิจิทัลไทยแลนด์ ที่ จ.เชียงใหม่

     5 สิงหาคม 2559 – ดีแทค แอคเซอเลอเรท โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพเบอร์ 1 ของไทย ร่วมงานสตาร์ทอัพและดิจิทัล ไทยแลนด์ (Startup Thailand & Digital Thailand) จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จ.เชียงใหม่ โดยออกบูธแสดงนิทรรศการให้ความรู้ พร้อมยกทีมสตาร์ทอัพรุ่นใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จในระดับ ซีรี่ย์เอ เช่น เคลมดิ (Claim Di)  สกูตาร์ (Skootar) และเทคมีทัวร์(Take Me Tour) มาแชร์ประสบการณ์และให้ความรู้ในการเริ่มต้นเข้าสู่เส้นทางการเป็นสตาร์ทอัพ นักรบเศรษฐกิจพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและช่วยกระตุ้น สร้างผู้ประกอบการธุรกิจ ที่มีการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเป็นตัวขับเคลื่อนสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ให้ธุรกิจประเทศไทยเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างยั่งยืน
     นายสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจและดีแทค แอคเซอเลอเรท บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดทางภาคเหนือ เป็นเมืองที่มีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยกลุ่มธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มนี้ ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจทางการแพทย์ เวชสำอาง และธุรกิจด้านเทคโนโลยี ดีแทค แอคเซอเลอเรท ได้ตระหนักถึงความตื่นตัวของสตาร์ ทอัพในท้องถิ่น เราได้ริเริ่มจัด ดีแทค แอคเซอเลอเรท และผองเพื่อนโรดโชว์ ที่จ.เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ตขอนแก่น และนครราชสีมา โดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ
1) เพื่อค้นหาสตาร์ทอัพช้างเผือก ที่มีบุคลิกหรือคุณลักษณะในการเป็นสตาร์ทอัพ ทั้งความปรารถนาอันแรงกล้า หรือ passion ความต้องการแก้ปัญหาให้กับคนหมู่มากในสังคม และประเทศชาติ มีสินค้าและบิสิเนสโมเดล ที่เป็นที่ต้องการของตลาด หรือตอบโจทย์เพนพ้อยท์ของตลาดได้
2) นำเอาองค์ความรู้ในบูธแคมป์ จากกูรูระดับโลกมาแชร์ให้เพื่อนๆสตาร์อัพในจังหวัดอื่นในประเทศไทย ได้รับความรู้อย่างทัดเทียมกับสตาร์ทอัพในกรุงเทพฯ เพราะเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หลังจากที่ไปจัดงานมาเรารู้สึกได้ถึงพลังของแต่ละสตาร์ทอัพคอมมูนิตี้ ทุกครั้งที่ไปได้รับความสนใจมาร่วมงานอย่างคับคั่ง โดยเฉพาะใน จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเติบโตของสตาร์ทอัพ อีโคซิสเต็ม ชุมชนของเหล่าสตาร์ทอัพ และโคเวิร์คกิ้งสเปซ
3) สร้างความสัมพันธ์กับสตาร์ทอัพ คอมมูนิตี้ในระดับท้องถิ่น เพื่อช่วยภาครัฐในการผลักดันผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ในท้องถิ่นให้มีศักยภาพ รองรับการขยายตัวของธุรกิจในท้องถิ่น จังหวัด รวมถึงภูมิภาค การขยายตลาด AEC เป็นการพัฒนากระบวนการเริ่มขับเคลื่อนธุรกิจสายใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรมให้กับประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ว่า ไทยต้องผลิตนักรบเศรษฐกิจขึ้นมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
     จากข้อมูลของ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบันมี สตาร์ทอัพ ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 500 ราย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพ (80%) เชียงใหม่ (10%) และภูเก็ต (5%) โดยมีกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจหลากหลายด้าน อาทิ การท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจความงามและสุขภาพ กลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร รวมถึงไอทีและดิจิทัลคอนเท้น