PwC ชี้ผู้นำรุ่นใหม่คิดต่าง เชื่อ ศก.โลกฟื้นตัวได้หากปฏิวัติทางดิจิทัล แต่ห่วงระบบการศึกษายังไร้ประสิทธิภาพ
กรุงเทพฯ, 30 มิถุนายน 2559 – PwC เผยผลสำรวจผู้นำรุ่นใหม่มองทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ในอีก 12 เดือนข้างหน้าโดยใช้ดิจิทัลขับเคลื่อนธุรกิจ แตกต่างจากซีอีโอรุ่นปัจจุบันที่มั่นใจน้อยกว่า แต่ห่วงภัยคุกคามไซเบอร์ ความเชื่อมั่นภาคเอกชนถดถอยเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ฉุดรั้งการเติบโตของธุรกิจ พร้อมกังวลระบบการศึกษาระดับประเทศยังล้มเหลวในการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้นำ
สุดท้าย ผลการสำรวจยังระบุด้วยว่า การมีความสามารถในการบริหารจัดการทางด้านอารมณ์ยังเป็นทักษะสำคัญที่พนักงานในศตวรรษที่ 21 ทุกคนต้องมี นอกเหนือจากความรู้ความสามารถทางด้านสติปัญญาและความเป็นมืออาชีพ
PwC (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) หนึ่งในเครือข่ายบริษัทผู้ให้บริการด้านตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก มีเครือข่ายไปใน 157 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 208,000 คน สำหรับประเทศไทย บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 โดยมีบทบาทในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจไทยมานานกว่า 57 ปี PwC ผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการทำงานกับลูกค้าข้ามชาติ ผนวกกับความเข้าใจตลาดภายในประเทศเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อเสียงของ PwC เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจต่างๆ โดยปัจจุบัน มีบุคลากรกว่า 1,600 คนในประเทศไทย
นาย ศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร และหุ้นส่วน PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงรายงาน Tomorrow’s leaders today ซึ่ง PwC จัดทำร่วมกับ AIESEC หนึ่งในองค์กรนักศึกษานานาชาติชั้นนำของโลก โดยใช้ผลการสำรวจ 19th Annual Global CEO Survey ของ PwC ที่ผ่านมา ทำการสำรวจความคิดเห็นว่าที่ผู้บริหารยุคใหม่อายุไม่เกิน 30 ปี จำนวน 216 ราย ใน 104 ประเทศทั่วโลก เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้นำรุ่นใหม่กับผู้บริหารในยุคปัจจุบัน และให้ผู้บริหารยุคปัจจุบันได้เรียนรู้แนวคิดของผู้นำรุ่นใหม่ว่า 60% ของผู้บริหารรุ่นใหม่เชื่อว่า ทิศทางเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า สูงกว่าผู้บริหารในยุคปัจจุบันที่มีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเพียง 27% เท่านั้น
ทั้งนี้ มุมมองความเชื่อมั่นของผู้บริหารรุ่นใหม่ อาจสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของคนยุคดิจิทัล ที่เชื่อว่าวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี (Digital revolution) จะช่วยก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ผู้บริหารยุคปัจจุบันส่วนใหญ่กลับมองว่า ดิจิทัล คือ ต้นทุนและความเสี่ยงขององค์กร
นอกจากนี้ ผู้บริหารรุ่นใหม่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามที่องค์กรต้องเผชิญมากกว่าซีอีโอยุคปัจจุบันในหลาย ๆ ประเด็น เช่น 86% ระบุว่าองค์กรควรให้ความสำคัญกับการวางแผนรับมือหรือป้องกันปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง เปรียบเทียบกับผู้บริหารยุคปัจจุบันเพียง 61% ที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้
ยิ่งไปกว่านั้น การขาดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน ยังถูกจัดให้เป็นปัญหาที่ว่าที่ผู้บริหารรุ่นใหม่ให้ความกังวลมากเป็นอันดับต้น ๆ (83%) อีกด้วย ในขณะที่ซีอีโอในยุคปัจจุบันให้ความกังวลเพียง 55%
“ว่าที่ผู้นำรุ่นใหม่มีมุมมองที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากผู้บริหารในยุคปัจจุบัน โดยเราพบว่า คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เชื่อว่า องค์กรควรให้ความสำคัญต่อผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว มากกว่าการมองที่ปัญหากฎระเบียบที่เข้มงวดมากเกินไป และความไม่สงบทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรเพียงอย่างเดียว” นาย ศิระ กล่าว
นายศิระ กล่าวต่อว่า สิ่งหนึ่งที่ผู้นำทั้งสองรุ่นเห็นตรงกันก็คือ วันนี้โลกของเรามีความแตกต่างทางความคิดอย่างมาก ผู้บริหารจำนวนมากมองว่า การรวมกลุ่มทางการค้าน่าจะเป็นทางออกสำหรับการเติบโตของภูมิภาคดีกว่าการเป็นตลาดเดียว ในขณะที่บทบาทของธนาคารและสถาบันการเงินระดับภูมิภาคจะมีความสำคัญต่อภาคธุรกิจมากกว่าธนาคารระดับโลกแห่งใดแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ ยังเห็นตรงกันด้วยว่า ผลกำไรไม่ได้เป็นตัวชี้วัดถึงความสำเร็จของการทำธุรกิจในศตวรรษที่ 21 อีกต่อไป
‘คุณค่าและวัฒนธรรมองค์กรที่ใช่’ มัดใจว่าผู้นำรุ่นใหม่
PwC คาดการณ์ว่า ภายในปี 2563 พนักงานในองค์กรต่างๆทั่วโลกถึง 50% จะเป็นคนที่เกิดในยุคมิลเลนเนียล (Millennials) และยุคเจนแซด (Generation Z) ซึ่งคนในยุคดังกล่าว มีสไตล์การใช้ชีวิต รวมทั้งความคิด ความเชื่อ และบุคลิกลักษณะแตกต่างจากคนรุ่นก่อน โดยส่วนใหญ่มีความทะเยอทะยาน ให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์และคุณค่าของการทำงาน มากกว่าผลตอบแทน และการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง โดยผู้ทำการสำรวจเพียง 18% เท่านั้นกล่าวว่า ตนมีแผนที่จะทำงานอยู่ในตำแหน่งเดิมต่อไปในระยะยาว
นาย ศิระ กล่าวว่า ปัจจัยเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างเสริมคุณค่าและวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมกับแนวทางการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ส่วนใหญ่ยังมองหาโอกาสในการไปปฏิบัติงาน หรือสร้างเสริมประสบการณ์ในต่างประเทศ และร่วมทำกิจกรรมอาสาสมัครต่าง ๆ ในช่วงแรกเริ่มของการทำงานอีกด้วย
“จริง ๆ แล้ว พนักงานในทุกรุ่น ทุกวัยล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการเติบโตขององค์กร แต่วันนี้ที่ทุกฝ่ายกำลังพูดถึงยุคมิลเลนเนียล เพราะคนรุ่นนี้คืออนาคตของธุรกิจ และจะเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในยุคต่อไป เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจัยเรื่องของตัวเงิน และสวัสดิการต่าง ๆ ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดทาเลนต์ให้อยู่กับองค์กร แต่สิ่งที่สร้างคุณค่าทางจิตใจให้กับคนรุ่นนี้มากไปกว่านั้น คือการที่องค์กรให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เพื่อให้พนักงานในทุกระดับตระหนักถึงบทบาทและคุณค่าของตนเอง ผู้บริหารเองต้องใส่ใจกับการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานเป็นทีม ทำให้พนักงานรู้สึกภาคภูมิใจ และรู้สึกได้ถึงการเป็นที่ยอมรับและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปบนเส้นทางสายอาชีพของตน” นาย ศิระ กล่าว
เมื่อถามว่าปัจจัยใดที่จะทำให้บริษัทกลายเป็นองค์กรที่มีความโดดเด่นและสามารถดึงดูดใจพนักงานได้ ทั้งซีอีโอในยุคปัจจุบัน และผู้บริหารรุ่นใหม่ ต่างเห็นพ้องว่า บริษัทต้องมีแผนงานที่ชัดเจนในการส่งต่อความเป็นผู้นำและเพิ่มทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างผู้บริหารให้เกิดขึ้นในองค์กรแก่พนักงาน
‘ระบบการศึกษา’ พื้นฐานการสร้างผู้นำโลกอนาคต
นอกจากนี้ ผลสำรวจระบุว่า ผู้นำรุ่นใหม่ถึง 64% ระบุว่า ระบบการศึกษา ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างและพัฒนาคนวัยหนุ่มสาวให้กลายมาเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต แต่ถึงกระนั้น 70% ของคนเหล่านี้ยอมรับว่า ระบบการศึกษาภายในประเทศของตนยังคงล้มเหลวในการเตรียมความพร้อมและทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัลให้แก่เด็กรุ่นใหม่
เมื่อถามว่าทักษะประเภทใดที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคตมากที่สุด 66% ของผู้นำรุ่นใหม่กล่าวว่า พนักงานทุกระดับต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการเป็นผู้นำ ไม่จำกัดเฉพาะพนักงานในตำแหน่งผู้จัดการขึ้นไปเท่านั้น ตามด้วยการปลูกฝังการทำงานด้วยใจรักและความกระตือรือร้น (51%) ความคิดสร้างสรรค์ (46%) และทักษะในการแก้ปัญหา (43%)
สุดท้าย ผลการสำรวจยังระบุด้วยว่า การมีความสามารถในการบริหารจัดการทางด้านอารมณ์ยังเป็นทักษะสำคัญที่พนักงานในศตวรรษที่ 21 ทุกคนต้องมี นอกเหนือจากความรู้ความสามารถทางด้านสติปัญญาและความเป็นมืออาชีพ
เกี่ยวกับ PwC
PwC (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) หนึ่งในเครือข่ายบริษัทผู้ให้บริการด้านตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก มีเครือข่ายไปใน 157 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 208,000 คน สำหรับประเทศไทย บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 โดยมีบทบาทในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจไทยมานานกว่า 57 ปี PwC ผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการทำงานกับลูกค้าข้ามชาติ ผนวกกับความเข้าใจตลาดภายในประเทศเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อเสียงของ PwC เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจต่างๆ โดยปัจจุบัน มีบุคลากรกว่า 1,600 คนในประเทศไทย