บ้านปูฯ พาเยาวชน “เพาเวอร์กรีน” ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในอินโดนีเซีย
เรียนรู้การอนุรักษ์พันธุ์พืช-ส ัตว์หายาก
จุดประกายไอเดียพัฒนาท้องถิ่น
นางอุดมลักษณ์ โอฬาร
ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสั มพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
(จากซ้าย)
นางสาวอาทิตยา โสภณ (ออม),
นายสุริยันต์ ถวิลไพร (อั๋น),
นางสาวธิรดา นิลพนาพรรณ (กีกี้)
“อินโดนีเซีย” เป็นถิ่นกำเนิดของสัตว์น้อยใหญ่และพืชนานาพรรณซึ่งมีวิวัฒนาการมายาวนาน หล่อหลอมรวมกันจนกลายเป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์มากเป็นอันดับสองของโลก จึงนับเป็นโอกาสอันดีของ 3 เยาวชนโครงการ “ค่ายเพาเวอร์กรีน” ปีที่ 10 ที่ได้รับคัดเลือกจากบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ให้ร่วมเดินทางไปเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เจาะลึกแนวทางการอนุรักษ์พืชพันธุ์และสัตว์ป่าหายาก ณ สวนพฤกษศาสตร์โบกอร์ และศูนย์อนุรักษ์ลิงอุรังอุตังบอร์เนียว พร้อมศึกษากระบวนการบริหารจัดการเหมืองอินโดมินโคและเหมืองเอ็มบาลุตของบ้านปูฯ ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและฟื้นฟูพื้นที่เหมืองตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นางอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “บ้านปูฯ เชื่อว่า พลังความรู้คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา เราจึงส่งเสริมให้เยาวชนได้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้โลกกว้างและวัฒนธรรมต่างถิ่นเพื่อจุดประกายมุมมองใหม่ๆ ซึ่งโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่เหมืองอินโดมินโค และโครงการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่เหมืองเอ็มบาลุต ของบ้านปูฯ ในประเทศอินโดนีเซียเป็นตัวอย่างความเชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการดำเนินธุรกิจโดยผสานสมดุลด้านการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ขั้นวางแผนการผลิตจนถึงการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ระหว่างและหลังการทำเหมือง ซึ่งเยาวชนควรได้มีโอกาสเรียนรู้และนำกลับไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนให้พัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต”
เยี่ยมชมโครงการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพและฟื้นฟู พื้นที่เหมืองตามแนวทางการพั ฒนาอย่างยั่งยืนของบ้านปูฯ
นางสาวธิรดา นิลพนาพรรณ (กีกี้) อายุ 16 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ เล่าว่า “การไปอินโดนีเซียครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการทัศนศึกษาในต่างประเทศ รู้สึกประทับใจเหมืองอินโดมินโคมากที่สุด เพราะเป็นสถานที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีการวางแผนจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมในบริเวณเหมืองอย่างเป็นระบบ เต็มไปด้วยพันธุ์พืชและสัตว์หลากหลายชนิด เช่น ผีเสื้อบินกันเป็นฝูงราวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังไม่มีใครค้นพบ รองลงมาคือศูนย์อนุรักษ์ลิงอุรังอุตังบอร์เนียว ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ประทับใจอาสาสมัครที่ทำหน้าที่เป็นแม่บุญธรรมคอยดูแลลูกลิงอุรังอุตังที่เคยถูกทำร้ายหรือเคยถูกกักขัง แม่บุญธรรมต้องฟูมฟักและสอนทักษะที่สอดคล้องกับสัญชาตญาณให้กับลูกลิงจนกระทั่งโตเต็มวัย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติในเวลาที่เหมาะสม”
นายสุริยันต์ ถวิลไพร (อั๋น) อายุ 17 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวเสริมว่า “การได้เห็นวิธีการอนุรักษ์ลิงอุรังอุตังทำให้ตนอยากกลับไปทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ในพื้นที่บ้านเกิด โดยเฉพาะกระทิงและช้างในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียง และตั้งใจว่าเมื่อโตขึ้นจะทำโครงการขยายพื้นที่ป่า และช่วยเหลือชุมชนในการจัดสรรพื้นที่ทำเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และบ่อเลี้ยงปลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดสมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชน ซึ่งเป็นวิธีที่ได้เรียนรู้มาจากการได้เข้าชมเหมืองเอ็มบาลุต”
นางสาวอาทิตยา โสภณ (ออม) อายุ 17 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนระยองวิทยาคม จังหวัดระยอง กล่าวว่า “ชอบสวนพฤกษศาสตร์โบกอร์มากที่สุดเพราะได้เห็นพันธุ์พืชที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ต้นไม้หลายต้นมีอายุหลายร้อยปีแต่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ดอกไม้แต่ละชนิดสวยงามแปลกตา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองหายากที่คนในพื้นที่ให้ความสำคัญ ดูแลและเพาะพันธุ์อย่างจริงจัง นอกจากนี้ เหมืองอินโดมินโคก็มีห้องแล็บเพาะเนื้อเยื่อพันธุ์ไม้หายากและกล้วยไม้บางชนิด เพื่อนำกลับไปปลูกในขั้นการฟื้นฟูพื้นที่เหมือง ทำให้ภูมิทัศน์บริเวณเหมืองกลับมาสวยงามและคงความอุดมสมบูรณ์ รู้สึกอยากนำความรู้กลับไปทำโครงการปรับปรุงพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างกลมกลืน เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยไปในตัวด้วย”
ศูนย์อนุรักษ์ลิงอุรังอุตังบอร์ เนียว
(Borneo Orang Utan Survival)
การทัศนศึกษาครั้งนี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงการเรียนรู้หรือแรงบันดาลใจที่จำกัดอยู่กับเยาวชนเพียง 3 คนเท่านั้น เพราะเยาวชนทุกคนมีความตั้งใจที่จะแบ่งปันประสบการณ์ให้กับคนรอบตัวในรูปแบบที่ต่างกันไม่ว่าจะเป็นการจดบันทึก แชร์รูปภาพบนพื้นที่โซเชียลมีเดีย นำเสนอเรื่องราวให้รุ่นพี่รุ่นน้องที่โรงเรียนได้ฟัง หรือการจัดกิจกรรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องเพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้อันจะเป็นการส่งต่อความรู้และกระตุ้นจิตสำนึกอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดขึ้นในชุมชนของแต่ละคนต่อไป
สวนพฤกษศาสตร์โบกอร์
(Bogor Botanical Garden)
เยาวชนที่สนใจเรียนรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ติดตามความเคลื่อนไหวของ “ค่ายเพาเวอร์กรีน 11” ได้ที่ www.powergreencamp.com หรือ www.facebook.com/powergreencamp ซึ่งจะเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2559
เกี่ยวกับ ค่ายเพาเวอร์กรีน
โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม “เพาเวอร์กรีน” (The Power Green Camp) ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนเน้นให้เยาวชนรู้จักนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
เพื่อปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้แก่เยาวชน สร้างแกนนำและเครือข่ายเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยกลุ่มเป้าหมายของค่าย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 สายวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
เพื่อปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้แก่เยาวชน สร้างแกนนำและเครือข่ายเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยกลุ่มเป้าหมายของค่าย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 สายวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
เกี่ยวกับ บมจ. บ้านปูฯ
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บุกเบิกด้านพลังงานชั้นแนวหน้าของเอเชีย ดำเนินธุรกิจถ่านหิน ธุรกิจไฟฟ้า และพลังงานที่เกี่ยวเนื่องอย่างครบวงจร ใน 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
“พลังความรู้ คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา”
บ้านปูฯ เชื่อว่า “การเรียนรู้” เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนา “คน” ซึ่งจะขับเคลื่อนชุมชนและสังคมให้พัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว โครงการซีเอสอาร์ของบ้านปูฯ ในทุกประเทศ จึงมุ่งเน้นสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้กับเยาวชนและชุมชนในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน การฝึกฝนเพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะชีวิต หรือการค้นคว้า เรียนรู้ และค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเองหรือร่วมกับคนอื่นๆ