ADS


Breaking News

หลับดี สมองไว กับเทคนิคการนอนจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ครั้งแรกของเมืองไทย โดย S-26 Progress GOLD

กรุงเทพฯ – 27 พฤษภาคม 2559 ปัญหาเรื่องการนอนของลูกน้อยเป็นปัญหาที่สร้างความเหน็ดเหนื่อยให้กับพ่อแม่ทั่วโลก S-26 Progress GOLD นมผงคุณภาพระดับพรีเมี่ยมสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพของเด็กไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนอนที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาด้านสมองที่ดี โดยได้เชิญ คิม เวสท์ (Kim West) ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้าน Sleep Coaching หรือเทรนนิ่งสำหรับเด็กที่มีปัญหาการนอน มาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
คิม เวสท์ หรืออีกชื่อที่ได้รับการเรียกว่า The Sleep LadyR ให้ความช่วยเหลือพ่อแม่ที่เจอปัญหาลูกนอนยากมามากกว่าหมื่นครอบครัวในอเมริกาและทั่วโลก ด้วยประสบการณ์มากกว่า 24 ปี คิม ได้แนะนำให้แต่ละครอบครัวเข้าใจถึงความสำคัญในเรื่องการนอนและพฤติกรรมของลูก จนสามารถถ่ายทอดเทคนิคที่เปลี่ยนแปลงวิธีการนอนของเด็กได้อย่างนุ่มนวล ไม่ใช้วิธีการหักดิบ บังคับ หรือฝืนใจเด็กทำ แต่ใช้วิธีแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปทีละขั้นตอน ทำให้เด็กนอนหลับอย่างมีคุณภาพและทำให้พ่อแม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
นางสาวสภาพร กังวานเวชกุล ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจผลิตภัณฑ์นมผงคุณภาพระดับพรีเมี่ยม S-26 Progress GOLD กล่าวว่า “S-26 Progress GOLD มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยผ่านโภชนาการที่ดี เราเล็งเห็นว่าการนอนเป็นปัจจัยสำคัญไม่แพ้เรื่องโภชนาการ การนอนที่ไม่เพียงพอของเด็กนั้น ไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และการพัฒนาสมองของเด็กเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการที่พ่อแม่จะสามารถพักผ่อนได้ดีหรือไม่อีกด้วย ในโอกาสนี้เราได้รับเกียรติจาก คิม เวสท์ ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการนอน จากอเมริกามาเผยเคล็ดลับที่พ่อแม่คนไทยสามารถนำไปใช้ได้และเห็นผลจริง”
ปัญหาการนอนในเด็กที่พบได้บ่อย คือ เด็กนอนดึก เข้านอนยาก เด็กตื่นกลางดึกบ่อย หลับไม่สนิท และการที่เด็กไม่สามารถนอนเองได้ ต้องมีตัวช่วย เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มีความเกี่ยวพันกัน เพราะหากเด็กต้องใช้ตัวช่วยให้นอนหลับ เช่น รอให้พ่อแม่มากล่อมเท่านั้นถึงจะหลับ ก็จะทำให้งอแงไม่ยอมนอน ส่งผลให้พอถึงเวลานอนจริงๆ สะดุ้งตื่นบ่อย ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่อย่างมาก เมื่อเด็กนอนน้อยหรือนอนไม่ต่อเนื่องสมองอาจจะพัฒนาไม่เต็มที่ จากการสำรวจพฤติกรรมการนอนของเด็กยังพบอีกว่าเด็ก 25-40% นอนไม่พอ(1) และยังมีการศึกษาในแม่ชาวเอเชียเทียบกับแม่ชาวตะวันตก พบว่ามากกว่า 54% มีปัญหาการนอน(2) เด็กในเอเชียมีชั่วโมงการนอนที่น้อยกว่าเด็กในยุโรปและพ่อแม่คนเอเชียมีแนวโน้มให้ลูกนอนเตียงเดียวกันหรือห้องนอนเดียวกันมากกว่าเด็กในยุโรป(3) แต่ความยุ่งยากใจเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคนิคเฉพาะทางและความร่วมมือของทุกคนในครอบครัว


คิม เวสท์ หรือ The Sleep LadyR ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการนอนของเด็ก กล่าวว่า “พฤติกรรมการนอนของลูกส่งผลกระทบต่อทุกคนและเป็นปัญหาที่พบเจอแทบจะทุกครอบครัวทั่วโลก  รูปแบบการนอนของเด็กนั้นเป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะส่งผลทั้งร่างกาย อารมณ์ การเรียนรู้ และนิสัยของเด็กในระยะยาว สาเหตุของปัญหาการนอนในเด็กมีมากมายทั้งจากตัวเด็กเองและปัจจัยแวดล้อม เช่น สมาชิกในครอบครัว กิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการนอนของเด็ก เราสามารถช่วยเหลือเด็กและเรียนรู้ร่วมกันที่จะปรับเปลี่ยนนิสัยโดยใช้เทคนิคที่นุ่มนวลได้ ที่อเมริกาเองให้ความสำคัญกับเรื่องการนอนของเด็กมากเพราะการที่เด็กได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพจะช่วยเสริมสร้างความผูกพันและสานสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างพ่อแม่ลูก”
แพทย์หญิงธิศรา วีรสมัย สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลพญาไท 1 กล่าวว่า “ช่วงเวลาการนอนตอนกลางคืนของเด็กมีความสำคัญมากเพราะสมองจะนำเอาประสบการณ์ที่เกิดจากการทำกิจกรรมตอนกลางวันมาสร้างเป็นความทรงจำระยะยาว (Memory Consolidation) เพื่อให้สมองของลูกน้อยทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ พ่อแม่ควรดูแลโภชนาการให้ครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ รวมทั้ง ดีเอชเอ โคลีน ลูทีน และแอลฟา-แล็คตัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูง พบในน้ำนมแม่ ย่อยง่าย และให้กรดอะมิโนจำเป็นชื่อ ทริปโตเฟน พ่อแม่ควรสร้างบรรยากาศและใช้เทคนิคที่เหมาะสม เพื่อให้การนอนของลูกมีประสิทธิภาพอีกด้วย”
ทาง S-26 Progress GOLD ยังได้จัดทำ scrapbook รวบรวม 26 เทคนิค จาก คิม เวสท์ ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการนอนของเด็ก เพื่อช่วยให้เหล่าพ่อแม่ได้คลายกังวลเกี่ยวกับปัญหาการนอนของลูก พ่อแม่ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับได้ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมองลูกในขณะหลับ คลิก www.s-momclub.com/thepowerofsleeping หรือ โทร 02-640-2288


(2)  Mindell JA, Sadeh A, Kwon R, Goh DY, Cross-cultural comparison of maternal sleep, 2013.
(3) Mindell JA1, Sadeh A, Wiegand B, How TH, Goh DY, Cross-cultural differences in infant and toddler sleep, 2010