สถาบันอาหาร เร่งสร้าง “มาตรฐานอาหารไทย” ไม่ให้เพี้ยน พุ่งเป้าร้านอาหารไทย 2 หมื่นแห่งทั่วโลก
สถาบันอาหาร
กระทรวงอุตสาหกรรม ผุดโปรเจ็คใหญ่ “Authenticity Thai Food”
หรือการสร้าง “มาตรฐานอาหารไทย”
เพื่อปกป้องภาพลักษณ์ อาหารไทยให้คงไว้ซึ่งรสชาติ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่ างไม่ผิดเพี้ยน ตั้งเป้าผลักดันร้ านอาหารไทยในต่างประเทศทั่ วโลกกว่า
20,000
แห่งให้ตระหนักและเห็นความสำคั ญ
ตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบ ส่วนผสม
จนถึงกระบวนการปรุงอาหารที่ถู กต้อง
ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดสู ตรอาหารคาว 10 เมนู และหวาน 2
เมนู ให้เหมาะสมในแต่ละภูมิ ภาคของโลกโดยผู้เชี่ยวชาญด้ านอาหารไทยผสานกระบวนการทางวิ ทยาศาสตร์ ทั้งเตรียมออกแบบเครื่องหมาย
“Authenticity Thai Food” มอบให้ร้านอาหารและผลิตภัณฑ์ อาหารที่เข้าร่วมโครงการ
คาดแล้วเสร็จและเห็นผลภายในหนึ่ งปี
ล่าสุดตอบรับกระแสความนิ ยมอาหารไทยบูมในญี่ปุ่น รมว.อุตสาหกรรมเตรียมนำตั วแทนคณะทำงานเข้าร่วมงาน
Thai Festival Tokyo 2016 หรือ เทศกาลไทย ณ กรุงโตเกียว
ครั้งที่ 17 ณ สวนสาธารณะโยโยงิ เขตชิบุยะ ภายใต้แนวคิด Discover
Thailand’s BEST ในวันที่ 14-15 พ.ค. 2559 เพื่อสร้างการรับรู้ในรสชาติที่ เป็นอัตลักษณ์ของอาหารไทย
และเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้ าอาหารแปรรูปจากไทย 12 ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมเปิดตลาดญี่ปุ ่น
นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์
ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า
สถาบันอาหารอยู่ระหว่างการผลั กดันให้เกิดการสร้าง “มาตรฐานอาหารไทย” หรือ
“Authenticity Thai Food” ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เนื่องจากความสลับซับซ้ อนของการปรุงอาหารไทย
ตลอดจนวัตถุดิบ และส่วนผสมที่มีความเป็นเอกลั กษณ์เฉพาะตัว
ประกอบกับปัจจุบันพบว่าร้ านอาหารไทยในต่างประเทศที่มีอยู ่ราว 20,000 แห่ง บางร้านมีเจ้าของที่เป็นคนต่ างชาติ
และพ่อครัว แม่ครัวไม่ใช่คนไทย ซึ่งมีความเข้าใจรสชาติและวั ฒนธรรมอาหารไทยไม่มาก
และบางร้านยังต้องการลดต้นทุนจึ งไม่ได้ใช้วัตถุดิ บในการประกอบอาหารที่ มาจากประเทศไทย
ทำให้รสชาติอาหารไม่ได้ มาตรฐานที่ควรจะเป็น
ส่งผลกระทบให้เกิดความสั บสนในรสชาติของอาหารไทยที่แท้ จริง กอปรกับวันนี้ประเทศไทยยังไม่มี มาตรฐานอาหารไทยที่จะเป็นตั วกำกับและควบคุมกระบวนการปรุ งอาหารให้ได้รสชาติ อาหารไทยแบบไม่ผิดเพี้ยน
จึงอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ของอาหารไทยได้
นายยงวุฒิ
กล่าวต่อว่า ขณะนี้สถาบันอาหารเตรียมจัดตั้ งคณะทำงานจัดทำมาตรฐานอาหารไทย โดยจะได้ประสานขอความร่วมมื อไปยังหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที ่เกี่ยวข้อง
อาทิ วิทยาลัยในวังหญิง,มหาวิทยาลั ยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, กระทรวงวัฒนธรรม,
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ,
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงแรงงาน, โรงเรียนครัววันดี, โรงเรียนการเรือนยิ่งเจริญ, โรงเรียนการอาหารไทยเอ็มเอสซี,
สมาคมเชฟประเทศไทย และสมาคมภัตตาคารไทย เป็นต้น เพื่อขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ ยวชาญด้านอาหารไทย
และผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมเป็ นคณะทำงาน ทั้งนี้เพื่อศึกษาข้อมูล
และเรื่องราวของอาหารตามสูตรดั้ งเดิม จากตำราอาหารทั่วประเทศ อาหารไทยประจำตระกูล
ฯลฯ และจากผู้เชี่ยวชาญด้ านอาหารไทย เพื่อกำหนดมาตรฐานอ้ างอิงอาหารไทยจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการจัดกิ จกรรมทดสอบทางประสาทสัมผัส
ร่วมกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการจัดทำหลักเกณฑ์และเงื่ อนไขการให้การรั บรองมาตรฐานอาหารตามรายการ
อาหารที่กำหนด รวมถึงเกณฑ์การนำเครื่องหมาย Authenticity
Thai Food ไปใช้สำหรับการรับรองผลิตภัณฑ์ ประเภทสินค้า
และการรับรองร้านอาหารที่ปรุ งอาหารตามมาตรฐานที่กำหนด
“ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดสู ตรอาหารคาว
10
เมนู และหวาน 2 เมนู
ให้เหมาะสมในแต่ละภูมิภาคของโลก เพื่อกำหนดสูตรอาหารมาตรฐาน โดยแบ่งออกเป็น สูตรต้นตำรับ, สูตรสำหรับประเทศในกลุ่มAEC, สูตรสำหรับสหภาพยุโรป, สูตรสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา,
สูตรสำหรับประเทศออสเตรเลีย, สูตรสำหรับประเทศจีน และสูตรสำหรับประเทศญี่ปุ่น
โดยพิจารณาจากส่วนผสมต้นตำรับ, วัตถุดิบหลักที่จำเป็นต้องมี
และการทดแทนส่วนผสมเดิมกรณีไม่ ได้ใช้วัตถุดิบจากไทย
นอกจากนี้จะได้มีการออกแบบเครื่ องหมายของ “Authenticity Thai Food” เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์โครงการ
และมอบให้ร้านอาหารและผลิตภัณฑ์ อาหารที่เข้าร่วมโครงการในลำดั บต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จเป็นรู ปธรรมได้ภายในหนึ่งปี”
นายยงวุฒิ
กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ ในรสชาติมาตรฐานอาหารไทยที่มีอั ตลักษณ์
และนำเสนอสินค้าอาหารแปรรู ปของไทยให้เป็นที่รู้จักภายใต้ นโยบายครัวไทยสู่ครั วโลกของภาครัฐ สถาบันอาหารและคณะทำงาน โดยการนำของนางอรรชกา
สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม จึงได้ตอบรับเข้าร่วมงาน Thai Festival Tokyo 2016 หรือ เทศกาลไทย ณ กรุงโตเกียว ครั้งที่ 17
ซึ่งเป็นงานประชาสัมพันธ์ อาหารไทย ตลอดจนสินค้า บริการ และวัฒนธรรมของไทย ที่จัดขึ้น
ณ สวนสาธารณะโยโยงิ เขตชิบุยะ ในวันที่ 14-15 พฤษภาคมนี้ นับเป็นงานเทศกาลของต่ างประเทศในกรุงโตเกียวที่มี ขนาดใหญ่ที่สุด
มีผู้ออกร้านมากกว่า 180 คูหา
คาดว่าจะมีจำนวนผู้สนใจเข้าร่ วมงานประมาณ 300,000 คน
ซึ่งปัจจุบันมีกระแสความนิ ยมอาหารไทยและสินค้าไทยในญี่ปุ่ นเป็นอย่างมาก
“สถาบันอาหารจะจัดแสดงสินค้ าอาหารและเครื่องดื่มแปรรูปที่ เข้าร่วมโครงการกับทางสถาบั นอาหาร จำนวน
12 รายการ โดยการคัดเลือกนี้จะเน้ นความแปลกใหม่
ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการผลิต และต้องการเปิดตลาดในประเทศญี่ ปุ่น ได้แก่ มะพร้าว
coco easy, ข้ามหลามแม่เอย,ข้าวต้มมัดแม่ นภา,
ซอสปรุงรสสำเร็จรูป Thai Delicious, แป้งกล้วยแขก Lobo, น้ำหวาน เฮลซ์บลูบอย, ลูกชุบไส้มะม่วงแช่แข็ง ไทยริชฟู้ดส์, คางกุ้งทอดกรอบ โอคุสโน่,
เส้นขนมจีนอบแห้งป้าเพ็ญศรี, ผลไม้แปรรูปทอดกรอบ Try Me และหมี่โคราชห้าดาว
พร้อมให้ผู้บริโภคชิม
และสาธิตการปรุ งอาหารไทยจากซอสสำเร็จรูปที่ผ่ านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิ งอุตสาหกรรมให้มีความง่ายต่ อการปรุง
และมีรสชาติความเป็นอาหารไทย โดยเชฟชุมพล แจ้งไพร
เชฟกระทะเหล็กแห่งประเทศไทย/ กรรมการผู้จัดการ ผู้อำนวยการใหญ่ MSC Thai
Cuisine นอกจากนี้ยังแนะนำให้รู้จั กอาหารไทย Thai Street
Food ผ่านทาง Application ตลอดจนบทบาทภารกิจของกระทรวงอุ ตสาหกรรมและสถาบั นอาหารภายในงานด้วย”
ทั้งนี้ยังได้เตรียมพบปะนักธุ รกิจ
และผู้ประกอบการนำเข้ าอาหารประมาณ 150 คน ที่จะมาร่วมงาน “CROSS
OVER NIGHT AT THE ROYAL THAI EMBASSY” ในช่วงเย็นวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
เพื่อแนะนำ “มาตรฐานอาหารไทย” และการรังสรรค์เมนูจากซอสสำเร็ จรูปโดยเชฟชุมพล
ให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับประทาน ได้แก่ แกงมัสมั่นเนื้อโกเบ ข้าวหอมมะลิ,
แกงเขียวหวานหอยเชลล์ ฮอกไกโด ขนมจีน,
ผัดเปรี้ยวหวาน และยำมะม่วงเขียวเสวยปลาย่าง เป็นต้น