ธนาคารออมสินจัดสร้างละครเพลงยิ่งใหญ่ “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล”
ละครสร้างชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.6 เปิดแสดง 18–22 พ.ค.นี้ ชมฟรี
คุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (ยืนกลาง) เป็นประธานในพิธีบวงสรวงและแถลงข่าวการจัดสร้างละครเพลง “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” ละครสร้างชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสครบ 103 ปีธนาคารออมสิน ซึ่งจะจัดแสดงระหว่างวันที่ 18 - 22 พฤษภาคมนี้ ณ เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ โดยมี คุณประสิทธิ์ชัย สุนทราภิรมย์ (ยืนที่ 3 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) คุณศุภชัย จงศุภวิศาลกิจ (ยืนที่ 3 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) พร้อมนักแสดง หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ, อาร์ม-กรกันต์ สุทธิโกเศศ, รอน-ภัทรภณ โตอุ่น, จิ๊บ-วสุ แสงสิงแก้ว ร่วมในงาน ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท เมื่อเร็วๆ นี้
1 เม.ย. 59 ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท
ธนาคารออมสิน แถลงข่าวการจัดกิจกรรมพิเศษเนื่องในโอกาสครบ 103 ปี ของธนาคารออมสิน
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 องค์พระผู้ทรงสถาปนาธนาคาร โดยจัดสร้างละครเพลง “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” เพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของพระองค์ ให้เป็นที่ประจักษ์ต่ออนุชนรุ่นหลังและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึก “ความรักชาติ” ที่ทรงวางเป็นอุดมการณ์แห่งชาติที่ไว้
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 องค์พระผู้ทรงสถาปนาธนาคาร โดยจัดสร้างละครเพลง “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” เพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของพระองค์ ให้เป็นที่ประจักษ์ต่ออนุชนรุ่นหลังและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึก “ความรักชาติ” ที่ทรงวางเป็นอุดมการณ์แห่งชาติที่ไว้
โดย คุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นประธานในการบวงสรวงการจัดสร้างละครที่พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 ณ พระราชวังพญาไทก่อนการแถลงข่าว และได้กล่าวถึง ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” ละครสร้างชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระมหาธีรราชเจ้า ว่า
“เมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช 2456” ทั้งยังพระราชทานเงิน 1 แสนบาทเพื่อเป็นทุนประเดิม โดยทรงมุ่งหมายให้คลังออมสินเป็นรากฐานในการฝึกให้ราษฎรได้รู้จัก การออม เพื่อให้มีทรัพย์ใช้สอยในยามจำเป็นและได้รับดอกผลตามสมควร จากนั้นมาคลังออมสิน พัฒนาและเติบโตอย่างแข็งแกร่งเป็นธนาคารออมสิน สถาบันการเงินของรัฐที่มั่นคงและอยู่คู่คนไทย ยาวนาน นับถึงปัจจุบัน 103 ปี พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงให้กำเนิดธนาคารนั้น คือสิ่งที่คนไทยทุกคนต่าง ตระหนักสำนึก และภูมิใจที่ได้สนองพระราชปณิธานของพระองค์
นักแสดงโชว์ในงานแถลงข่าว
นักแสดงโชว์ในงานแถลงข่าว
ในวาระคล้ายวันสถาปนาธนาคารออมสินครบ 103 ปีในปีนี้ ธนาคารออมสินจึงได้จัดกิจกรรม พิเศษ เพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระผู้สถาปนาธนาคารโดย อัญเชิญพระราชสมัญญานาม “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า “มหาราชผู้ทรงเป็น จอมปราชญ์” มาเป็นมงคลนามในการจัดสร้างละครเพลง “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” โดยน้อมนำ พระวิสัยทัศน์ในการปกครอง และพระอัจฉริยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งทรงได้รับการถวายพระเกียรติ ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้นำศิลปะมาพัฒนาประเทศ มาเป็นแรงบันดาลใจในการจัดทำบทละคร”
หนูนา - หนึ่งธิดา รับบทประยงค์ สาวยุคใหม่
อาร์ม - กรกันต์ รับบทชัย ข้าราชการหนุ่มไฟแรง
หนูนา - หนึ่งธิดา รับบทประยงค์ สาวยุคใหม่
อาร์ม - กรกันต์ รับบทชัย ข้าราชการหนุ่มไฟแรง
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างละครเพลง “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” นอกจากเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าแล้ว ยังเพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของพระองค์ และเพื่อกระตุ้นจิตสำนึก “ความรักชาติ” ที่ทรงวางเป็นอุดมการณ์แห่งชาติไว้ให้เป็นที่ประจักษ์ต่ออนุชนรุ่นหลัง
หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ
หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ
“ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” จะนำผู้ชมย้อนกลับไปสัมผัสบรรยากาศในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เห็นความเป็นไปของบ้านเมืองในเวลานั้นผ่านตัวละครต่างๆ และได้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย และเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกในเวลานั้น พระราโชบายในการวาง รากฐาน สยามประเทศในทุกๆด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศ อีกทั้ง ยังทรงให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกราษฎรในเรื่อง “อุดมการณ์ความเป็นชาติ” ผ่านพระราชดำรัสและบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ ทั้งบทละคร บทความในหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่นาฏกรรม จนรัชสมัย ของพระองค์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นยุค “ละครสร้างชาติ” และละครเพลงเฉลิมพระเกียรติ “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” ก็จะได้นำขนบ “ละครสร้างชาติ” กลับมาให้ผู้ชมได้ดื่มด่ำประทับใจอีกครั้ง โดยน้อมนำ ส่วนหนึ่งของบทพระราชนิพนธ์ อาทิ “ความรัก” จากบทพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง “เวนิสวาณิช” และ โคลงภาษิตนักรบโบราณ ที่มีผู้นำมาใส่ทำนองจนกลายเป็นเพลงที่คุ้นหู ก็ได้นำมาใส่ไว้ในละครด้วย” ดร.ธัชพลกล่าว
รอน-ปาน ร่วมบวงสรวง
รอน-ปาน ร่วมบวงสรวง
นอกจากนี้ละครเพลง “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” ละครสร้างชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ยังมีความพิเศษอีกหลายประการ ทั้งทีมนักแสดงก็เป็นชั้นแนวหน้าด้านละครเพลงของเมืองไทย ได้แก่ หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ อาร์ม- กรกันต์ สุทธิโกเศศ รอน- ภัทรภณ โตอุ่น จิ๊บ-วสุ แสงสิงแก้ว ปาน-ธนพร แวกประยูร แอ๊ด-ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย พร้อมด้วยนักแสดงละครเวทีมืออาชีพและนักแสดงสมทบอีกมากมาย และยังมีทีมงานสร้างสรรค์ที่เป็นมืออาชีพด้านต่างๆ และมีผลงานที่เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ พลเรือตรี วีระพันธ์ วอกลาง ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีสากล)พ.ศ. 2551 เป็นผู้อำนวยเพลง และวาทยากร อาจารย์ โกมล พานิชพันธ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลอง จังหวัดแพร่และเจ้าของพิพิธภัณฑ์ โกมลผ้าโบราณเป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย มนตรี วัดละเอียด เมคอัพอาร์ทติสชั้นครูที่ได้รับรางวัลมาแล้ว หลายสถาบันเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการแต่งหน้าทรงผม รศ.จารุณี หงส์จารุ เป็นผู้กำกับและประพันธ์เพลง ปริญญา ต้องโพนทอง ออกแบบและกำกับลีลา ปริดา มโนมัยพิบูลย์ เขียนบท พันพัสสา ธูปเทียน เป็นผู้กำกับการแสดง และธิษณา เดือนดาว เป็นผู้อำนวยการแสดง
นักแสดงร่วมพิธีบวงสรวง
นักแสดงร่วมพิธีบวงสรวง
“ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” ละครสร้างชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จัดสร้างโดย ธนาคารออมสิน สนับสนุนการจัดสร้างโดย บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนับสนุนด้านสถานที่ และบุคลากรอำนวยความสะดวกในการซ้อมการแสดง
แอ๊ด-ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย
“ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” เปิดการแสดง 5 วัน 5 รอบ ตั้งแต่วันที่ 18-22 พฤษภาคม 2559 ณ เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร์ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.gsb.or.th หรือ facebook : GSB society หรือ ADD Application line ของธนาคารออมสิน แอ๊ด-ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย
ละครสร้างชาติ...เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดย...ธนาคารออมสิน
หนูนา หนึ่งธิดา และรอน ภัทรภณ
ความเป็นมา
ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆเพียง 15 ปี (พุทธศักราช 2453 – 2468) หากแต่เป็น 15 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนในหลายด้าน ทั้งยังทรงวางรากฐานทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศเพื่อให้สยามมีความทันสมัย เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ในขณะนั้น และหนึ่งในพระราชกรณียกิจที่ทรงคุณประโยชน์ต่อประเทศ และยังเติบโตอย่างมั่นคงมา ตราบจนทุกวันนี้คือ การพระราชทานกำเนิด “ธนาคารออมสิน”
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช 2456” ทั้งยังพระราชทานเงิน 1 แสนบาทเพื่อเป็นทุนประเดิม โดยทรงมุ่งหมายให้คลังออมสินเป็นรากฐานในการฝึกให้ราษฎรได้รู้จักการออม เพื่อให้มีทรัพย์ใช้สอยในยามจำเป็นและได้รับดอกผลตามสมควร
คลังออมสินพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย และเติบโตอย่างแข็งแกร่งเป็นธนาคารออมสิน สถาบันการเงินของรัฐที่มั่นคงอยู่คู่คนไทยยาวนานนับถึงปัจจุบัน 103 ปี ตลอด 4 รัชสมัย พระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงสถาปนาธนาคารนั้น คือสิ่งที่คนไทยทุกคนต่างตระหนักสำนึก และภูมิใจที่ได้สนองพระราชปณิธานของ พระองค์
ในวาระคล้ายวันสถาปนาธนาคารออมสินครบ 103 ปีในปีนี้ ธนาคารออมสินจึงได้จัดกิจกรรมพิเศษ เพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระผู้พระราชทานกำเนิดธนาคารฯ โดยอัญเชิญพระราชสมัญญานาม “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า “มหาราชผู้ทรงเป็นจอมปราชญ์” มาเป็นมงคลนามในการจัดสร้างละครเพลง “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” โดยน้อมนำพระวิสัยทัศน์ ในการปกครอง และพระอัจฉริยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งทรงได้รับการถวายพระเกียรติว่าทรงเป็น พระมหากษัตริย์ที่ได้นำศิลปะมาพัฒนาประเทศ มาเป็นแรงบันดาลใจในการจัดทำบทละคร
“ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” จะนำผู้ชมย้อนกลับไปสัมผัสบรรยากาศในรัชสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ได้เห็นความเป็นไปของบ้านเมืองในเวลานั้นผ่านตัวละครต่างๆ และได้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์ ที่ทันสมัย และเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกในเวลานั้น พระราโชบายในการวางรากฐานสยามประเทศ ในทุกๆด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศ อีกทั้งยังทรงให้ความรู้และปลูกจิตสำนึก ราษฎรในเรื่อง “อุดมการณ์ความเป็นชาติ” ผ่านพระราชดำรัส และบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ ทั้งบทละคร บทความในหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่นาฏกรรม จนรัชสมัยของพระองค์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นยุค “ละคร สร้างชาติ” และละครเพลงเฉลิมพระเกียรติ “ธีรราชา เดอะ มิวสิคัล” ก็จะได้นำขนบ “ละครสร้างชาติ” กลับมาให้ผู้ชมได้ดื่มด่ำประทับใจอีกครั้ง โดยน้อมนำส่วนหนึ่งของบทพระราชนิพนธ์ อาทิ “ความรัก” จากบทพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง “เวนิสวาณิช” (The Merchant of Venice โดย William Shakespeare) และโคลงภาษิตนักรบโบราณ ที่มีผู้นำมาใส่ทำนอง จนกลายเป็นเพลงที่คุ้นหู ก็ได้นำมาใส่ไว้ในละครด้วย
วัตถุประสงค์
- เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระราชทานกำเนิดธนาคารออมสิน
- เพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณพระองค์ท่านให้เป็นที่ประจักษ์ต่ออนุชนรุ่นหลัง
- เพื่อกระตุ้นจิตสำนึก “ความรักชาติ” ที่ทรงวางเป็นอุดมการณ์แห่งชาติไว้
- เพื่อมอบเป็นของขวัญพิเศษแด่ผู้มีอุปการคุณต่อธนาคารออมสินและผู้สนับสนุน
วัน-เวลา สถานที่
จัดแสดง 5 รอบ (วันละ 1 รอบ) เวลา 19.30 น. ตั้งแต่วันที่ 18 – 22 พฤษภาคม 2559
ณ เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร์ ศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก
ผู้ดำเนินการจัดสร้างละคร
ธนาคารออมสิน
ผู้สนับสนุนการจัดสร้างละคร
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
ผู้สนับสนุนด้านสถานที่และบุคลากรอำนวยความสะดวกในการซ้อมการแสดง
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
www.gsb.or.th หรือ facebook : GSB society หรือ ADD Application line ของธนาคารออมสิน เพื่อติดตามข้อมูลในการรับบัตรเข้าชม
พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6
ละครพาผู้ชมย้อนกลับไปสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อแห่งการเปลี่ยนแปลง ผู้คนวุ่นกับการติดต่อค้าขายและการศึกษา สมัยใหม่ ประชาชนต่างตื่นตัวกับการถ่ายทอดความคิดเห็นผ่านหน้าหนังสือพิมพ์
“ชัย” หรือ “หลวงชัยพิเทศ” ข้าราชการหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงแห่งคลังออมสิน ได้เขียนบทความลง หนังสือพิมพ์จนโด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่ว จน “คุณพระบริภัณฑ์รักษา” เจ้านายของชัยส่งตัวไปช่วยงาน “เจ้าพระยาเสนาภักดี” ซึ่งมอบหมายให้ชัยร่วมแสดงละครพระราชนิพนธ์ “เวนิสวาณิช” ซึ่งจะจัดแสดงในงาน “สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” งานเอ็กซ์โปใหญ่ของประเทศ ชัยดีใจที่หน้าที่การงานของตนกำลังเจริญก้าวหน้า ทั้งยัง มีหวังจะได้เลื่อนตำแหน่งในคลังออมสินขึ้นแทนคุณพระที่กำลังจะไปประจำที่ยุโรป แต่ชัยก็ต้องหงุดหงิดกับ ปัญหาหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องบทความของชัยโดนโต้กลับอย่างเผ็ดร้อนลงหนังสือพิมพ์ โดยผู้เขียนปากกาว่า “นิรนาม” และยังมาเจอกับ “เทิด” หรือ “ร้อยเอกหลวงเทิดบดินทร” นายทหารรักษาวังที่เปิดฉากเป็นอริกัน ตั้งแต่วันแรกที่พบ ที่เลวร้ายที่สุดคือพ่อแม่จะจับคลุมถุงชนให้ชัยแต่งงานกับกุลสตรีจากครอบครัวข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่
การซ้อมละครเป็นไปอย่างทุลักทุเล ในขณะที่ชัยเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่มีความเชื่ออย่างสุดโต่งว่า การพัฒนาชาติอย่างตะวันตกจะพาให้สยาม “ศิวิไลซ์” เทิดกลับเห็นตรงกันข้าม แม้ว่าทั้งคู่มีสิ่งที่เหมือนกันคือ ความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่กลับไม่ได้เข้าใจพระวิสัยทัศน์อย่างแท้จริงเลย นอกจากนี้ ยังมีตัวป่วนคือ “นายทองคำ” พ่อค้าคหบดีและ “แม่กำไล” ผู้เป็นลูกสาว ที่มาก่อความวุ่นวายในการซ้อมละคร ชัยถูกมอบหมายให้ซ้อมละครเป็นนางปอร์เชีย ตัวละครหญิงในบทพระราชนิพนธ์แปลเรื่องเวนิสวาณิช ทำให้เทิด เยาะเย้ยไม่สิ้นสุด โชคยังเข้าข้างเมื่อเจ้าพระยาเสนาภักดีมอบหมายให้ “ประยงค์” มารับบทเป็นนางปอร์เชีย แทน
ชัยจำได้ว่าประยงค์คือหญิงสาวที่ตนเคยแย่งซื้อหนังสือพิมพ์ในวันที่บทความของ “นิรนาม” ออกวันแรก ชัยและ“นิรนาม”ผลัดกันนำเสนอบทความในมุมมองของตน ชัยเริ่มยอมรับว่ามุมมองของ “นิรนาม” เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศไม่ต่างจากตน จากคู่แข่งจึงเริ่มจะกลายเป็น “สหาย” แต่กับอริอย่างเทิดนั้น ความขัดแย้งยังคงเดิม ไม่ว่าจะพบเจอกันที่ใด ทั้งสโมสร ร้านก๋วยเตี๋ยวราชวงศ์ หรือแม้แต่ที่คลังออมสิน ณ ศุลกสถาน (โรงภาษี) ชัยและเทิดต่างก็ไม่มีใครยอมกันจนความขัดแย้งลุกลามใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้การ ซ้อมละครเป็นไปด้วยความทุลักทุเล ความหวังของชัยเริ่มคลอนแคลนเมื่อได้พบว่า ตนอาจไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง ในคลังออมสินอย่างที่คาดไว้ ชัยถูกติดสินบนโดยกลุ่มชายแปลกหน้า ให้เขียนบทความสนับสนุนการหาผล ประโยชน์ของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ชัยเข้าใจว่าผู้อยู่เบื้องหลังคือ เจ้าพระยาเสนาภักดีและมัวแต่กังวลกับ เรื่องนี้ จนลืมไปว่าต้องดูตัวสตรีที่พ่อแม่หมั้นหมายไว้ให้ แม้พยายามจะหลีกเลี่ยงแต่ชัยก็ต้องไปจนได้ ซึ่งทำให้ ชัยพบว่า แท้จริงหญิงสาวที่ตนถูกบังคับให้แต่งงานด้วย คือ ประยงค์ ชัยมีโอกาสได้รู้จักประยงค์มากขึ้น ทำให้ ชัยเริ่มมองประยงค์ในมุมที่เปลี่ยนไป
เทิด สารภาพรักกับประยงค์ และต้องอกหักเมื่อสังเกตเห็นว่าแท้จริงแล้วผู้ที่ประยงค์มีความรู้สึก ที่ดีให้คือชัย เทิดได้เห็นเหตุการณ์ที่ชัยถูกขมขู่ เทิดจึงไปสืบหาความจริงแล้วได้พบว่า แท้จริงแล้วเจ้าพระยา เสนาภักดีร่วมวางแผนกับเสือป่าเพื่อจับตัวคนร้ายเพื่อจะสาวไปถึงขุนนางระดับสูงที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ชัยสืบหาความจริงเรื่องนิรนามเพื่อจะเตือนว่า นิรนามตกอยู่ในอันตรายเช่นเดียวกับตน และได้พบว่าแท้จริง นิรนาม คือประยงค์ ทั้งสองเป็น ห่วงซึ่งกันและกันมาก
ในวันซ้อมฉากสำคัญ เจ้าพระยาเสนาภักดี เทิด และเสือป่าต่างดำเนินการตามแผนที่วางไว้ โดยมีประยงค์ซึ่งได้ทราบแผนในเช้าวันนั้นเอง ยอมเป็นตัวล่อคนร้ายให้ ในเวลาเดียวกันชัยได้ทราบข่าวร้าย จากคุณพระว่าตนเองพลาดหวังจากตำแหน่งที่คลังออมสิน ชัยมั่นใจว่าเป็นเพราะเขาล่วงรู้ความลับของ เจ้าพระยาสนาภักดีและตั้งใจจะเปิดโปงเพื่อความถูกต้องและความยุติธรรม ในระหว่างการซ้อมนั่นเอง ชัยซึ่ง ไม่รู้แผนการใดๆ ก็แอบซุ่มจับตัวมือปืนที่จะลอบยิงประยงค์และบังคับให้เจ้าพระยาเสนาภักดีสารภาพการ กระทำ ด้วยความเข้าใจผิดของชัย ทำให้มือปืนเกือบหนีรอดไปได้ โชคดีที่เสือป่าเข้าคุมสถานการณ์ไว้ได้ ทุกคน ได้พบว่า คนว่าจ้างมือปืนคือ นายทองคำ กำไลขอให้พ่อยอมสารภาพ ในที่สุดนายทองคำก็ยอมที่จะให้การถึง ขุนนางระดับสูงผู้อยู่เบื้องหลังการฉ้อราษฎร์บังหลวงนี้ ชัยโกรธมาก ที่เหตุใดตนจึงไม่ทราบแผนการแต่ผู้เดียว และได้ทราบว่าเป็นเพราะเทิดไม่ยอมบอก ทั้งที่เจ้าพระเสนาภักดีสั่งให้ชัยร่วมแผนการด้วย ชัยและเทิดจึงมี ปากเสียงกันอย่างรุนแรงจนแทบจะลงไม้ลงมือกัน ประยงค์เข้าห้ามจนกลายเป็นร่วมทะเลาะไปด้วยอีกคนหนึ่ง ในที่สุดเจ้าพระยาเสนาภักดีจึงต้องเข้าปราม
เจ้าพระยาเสนาภักดีสั่งสอนทั้งสาม โดยยกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น แบบอย่าง เมื่อพระองค์ทรงต้องรับศึกสองด้าน ทั้งจากขุนนางยุคเก่าที่เสียประโยชน์จากการผลัดแผ่นดิน และจากคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่ตั้งใจจะล้มล้าง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชถึงขั้นจะลอบปลงพระชนม์ มีกลุ่มคน กล่าวหาว่า ในหลวงทรงโกงแผ่นดิน ทั้งที่ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อกอบกู้สถานการณ์ แต่ในที่สุด ก็ทรงพาสยามรอดพ้นวิกฤตการณ์มาได้ เรื่องเล่านี้ทำให้เทิด ชัย ประยงค์ สะเทือนใจและซาบซึ้งใน พระมหากรุณาธิคุณยิ่งนัก และเรียนรู้ที่จะเปิดใจและเข้าใจอีกฝ่าย ที่แม้ความคิดจะไม่ลงรอยกันแต่ก็มีจุดยืน เดียวกันคือความตั้งใจดีต่อประเทศชาติและความภักดีต่อพระมหากษัตริย์ วันเวลาผ่านไป แต่สิ่งที่สมเด็จ พระมหาธีรราชเจ้าได้ทรงริเริ่มไว้ อาทิ คลังออมสิน ยังคงยืนหยัดท่ามกลางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง ของโลก และได้เติบโตผ่านกาลเวลาจวบจนถึงวัน
สองพระเอกร่วมบวงสรวง
สองพระเอกร่วมบวงสรวง
Character Breakdown
Place : พระนคร
Time : รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2468
| ||
CHARACTER
|
DESCRIPTION
|
ผู้แสดง
|
ประยงค์
|
ลูกผู้ดีเก่า อายุ 18 ปี พ่อเป็นท่านเจ้าคุณ รับราชการให้กับล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 แต่เป็นสาวยุคใหม่ มีการศึกษา ฉลาดเฉลียวหัวก้าวหน้า ต่อต้านขนบเป็น feminist
|
หนูนา - หนึ่งธิดา โสภณ
|
ชัย
|
อายุ23 ปี ข้าราชการหนุ่มไฟแรง หัวก้าวหน้า บ้านทำการค้าร่ำรวย มีความมั่นใจในตัวเองสูง ทะเยอทะยาน
|
อาร์ม - กรกันต์ สุทธิโกเศศ
|
ร้อยเอกหลวงเทิดบดินทร
(เทิด)
|
ทหารรักษาวังหนุ่ม อายุ 24 ปี มีใจรักพระมหากษัตริย์และรักชาติมาก หน้าตาหล่อเหลา มีเสน่ห์ ที่บ้านตระกูลเก่าแก่เป็นทหารรับใช้ชาติ มาหลายชั่วคน ชาตินิยม
|
รอน-ภัทรภณ โตอุ่น
|
เจ้าพระยาเสนา ภักดี
|
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทำงานคลังออมสิน รักแผ่นดิน รักพระเจ้าอยู่หัว ลุ่มลึก มองการณ์ไกล เป็นคนซื่อสัตย์ เห็นประโยชน์แผ่นดินเป็นสำคัญ
|
จิ๊บ - วสุ แสงสิงแก้ว
|
คุณหญิงเยื้อน
(แม่ประยงค์)
|
อายุ 35-40 ปี เกิดตระกูลผู้ดีเก่าแก่มาหลายสมัย เป็นหญิงไทย ทุกกระเบียด แต่หัวสมัยใหม่ อยากให้ลูกสาวและครอบครัวอยู่ดี กินดี รักษาหน้าตาทางสังคม จึงอยากให้ลูกสาวแต่งงานกับชัย เพราะเป็นครอบครัวร่ำรวยและอนาคตไกล
|
ปาน-ธนพร แวกประยูร
|
พระบริภัณฑ์รักษา
|
นายของชัยอายุ 30 กว่าปี เป็นผู้รับผิดชอบดูแลคลังออมสิน เชี่ยวชาญด้านการเงินและธนาคาร เป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ฉลาด สุขุม บริหารจัดการเก่ง และมีคุณธรรมเป็นตัวอย่างของ ข้าราชการที่ดี
|
แอ๊ด -ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย
|
นายทองคำ
|
คหบดีค้าไม้ พ่อหม้าย อายุระหว่าง 50 ปี มาจากชาวบ้านที่ทำธุรกิจ จนร่ำรวย พยายามเกาะขุนนาง หรือตระกูลผู้ดีเพื่อยกระดับตนเอง สร้างบารมีให้คนเคารพนับถือ เป็นคนเอะอะมะเทิ่ง กะล่อน ฉลาดแกมโกง โลภมาก
|
อ้น-เลอวิทย์ สังสิทธิ์
|
นางสาวกำไล
|
ลูกสาวคนเดียวของนายทองคำ อายุไล่เลี่ยกับประยงค์ มีความฝัน ที่จะใช้ชีวิตที่ดีพร้อมทั้งเงินทองและยศศักดิ์ หมายปองเทิด บ้านๆ ซื่อๆ เป็นคนจิตใจดี
|
ชลเลขา ละงู
|
เจ้าสัวซ้ง
|
อายุ 50 ปี เป็นลูกหลานจีน เกิดในสยาม บรรพบุรุษมาตั้งรกราก ตั้งแต่แผ่นดินรัชกาลที่ 3 แล้วทำการค้าขายค่อยๆ สร้างเนื้อสร้างตัว จนร่ำรวย พอใจที่ลูกชายได้รับราชการรับใช้เบื้องพระยุคลบาท อยากให้ลูกได้มีครอบครัว มีหน้าที่การงานที่ดี เป็นคนอารมณ์ดี เปิดเผย
|
จ้อน-ธานี พูนสุวรรณ
|
คุณนายหยก
(แม่ของชัย)
|
อายุ 40 ปี พบกับพ่อของชัยที่เมืองไทย ช่วยกันทำมาค้าขาย
จนสร้างตัวได้ ร่ำรวย เป็นผู้หญิงที่ดูแลสามีและลูกเป็นอย่างดี ทำงานหนัก เป็นคนอารมณ์ดี ฉลาด จิตใจดี
|
ดร. สุกัญญา สมไพบูลย์
|
พระยาปรีชาราชกิจ (พ่อประยงค์)
|
อายุ 40-45 ปี ผู้ดีเก่า อยู่ในตระกูลที่รับราชการมาหลายสมัย
ท่านเจ้าคุณรับราชการอยู่กระทรวงธรรมการ เกรงเมียนิดๆ อยากให้ลูกแต่งงานกับชัยซึ่งเป็นข้าราชการอนาคตไกล มีอนาคตและรวยมาก
|
แม็ก-เทพธนะ ปาลกะวงศ์
ณ อยุธยา
|
นางผิน
|
บ่าวคนสนิทของประยงค์ อายุ 20 กว่าๆ แก่กว่าประยงค์เล็กน้อย เป็นลูกสาวแม่นมของประยงค์ จึงมีฐานะสูงกว่าบ่าวอื่น ในบ้าน ผินถูกเลี้ยงโตมาด้วยกันกับประยงค์จึงมีความสนิทสนมผูกพันกัน คล้ายเป็นพี่น้องมากกว่าบ่าวกับนาย ติดตามประยงค์ตลอด จึงทำให้พออ่านออกเขียนได้ แต่ชอบงานบ้านงานเรือนมากกว่า เพราะมีความเชื่อแบบสตรีไทยยุคเก่าว่าสตรีต้องพึ่งพาบุรุษ และใจหายใจคว่ำทุกครั้งที่ประยงค์ทำอะไรแผลงๆ เช่น เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ หรือเล่นละคร
|
ใบตอง-ภัฎฎารินทร์ อิงคุลานนท์
|
ทีมงานสร้างสรรค์
ผู้อำนวยการแสดง (Producer)
ธิษณา เดือนดาว
กรรมการผู้จัดการ บริษัท มายด์เอ็นแมทเทอร์ส จำกัด
ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของงานแสดงครั้งสำคัญระดับชาติ มากมาย อาทิ เป็นผู้อำนวยการแสดงละครเพลงเฉลิมพระเกียรติ “ไกลกังวล มิวสิคัล ออน เดอะ บีช” และมหานาฏกรรมเฉลิม พระเกียรติ “พระมหาชนก” เนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี / เป็นผู้ควบคุมการผลิตของ “พิธีการและการแสดง ในพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่13 / ควบคุมและกำกับการแสดงละครประกอบแสง สี เสียง เรื่อง “เมืองแก้วขวัญเกล้า เวียงกุมกาม” และละครเชิงประวัติศาสตร์ เนื่องในโอกาสปีกาญจนาภิเษก 50 พรรษา “เฉลิมขวัญนพบุรี 700 ปี นครเชียงใหม่” / รวมทั้งงาน “การแสดงแสงและเสียง เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ และพระสวามี”
กำกับการแสดง
พันพัสสา ธูปเทียน
จบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านกำกับการแสดงจาก The Actors Studio Drama School, New York และเป็นคนไทยคนเดียว ที่ได้รับ เลือกให้เป็นสมาชิกของ The Actors Studio ซึ่งมีสมาชิกเป็นศิลปิน ต่างๆ เช่น Marilyn Monroe, Paul Newman, Jack Nicholson,
Julia Roberts และ Al Pacino พันพัสสา มีประสบการณ์การกำกับ ละครเวทีในหลายประเทศ เช่น Off-Broadway (New York),
New York Fringe Festival,
พันพัสสามีผลงานการกำกับละครหลากหลายประเภทและได้รับรางวัลผู้กำกับละครยอดเยี่ยม และละคร ยอดเยี่ยมจากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง ปัจจุบันพันพัสสาเป็นอาจารย์ประจำที่ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำกับและประพันธ์ดนตรี
รศ.จารุณี หงส์จารุ
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านดนตรี ที่ Columbia University
ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะ
การละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการดนตรีและผู้อำนวยเพลงคนไทยคนแรกของคณะนักร้อง กรุงเทพฯผสมที่ได้ได้รับเชิญให้เป็นผู้อำนวยเพลงคณะนักร้องประสาน
เสียงเด็กไทยเพื่อถวายการต้อนรับสมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จ พระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นครั้งเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ / ผู้อำนวยการขับร้องประสานเสียงและ ผู้อำนวยเพลงในพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 และมีประสบการณ์ในการอำนวยเพลง ในหลายประเทศ รวมทั้งได้อำนวยเพลงบันทึกแผ่นซีดีให้นักประพันธ์เพลงชาวต่างประเทศอีกด้วย / ด้านการ ประพันธ์ดนตรี มีประสบการณ์ การประพันธ์ดนตรีในละครนานกว่า 20 ปี ทั้งละครพูดและละครเพลง อาทิ ละครเวทีเรื่องขอโทษที่กวนประสาท (2540) ละครเพลงเรื่องดอกไม้แห่งสยาม (2554) ละครเพลงเรื่อง สยามมิสฉัน
ออกแบบและกำกับลีลา
ปริญญา ต้องโพนทอง
ผู้หลงใหลในศาสตร์ศิลปะการแสดง เริ่มต้นศึกษาและฝึกฝนทักษะ ด้านนาฏศิลป์สากลหลากหลาย ตั้งแต่บัลเลต์คลาสสิก (Classical Bullet) นาฏศิลป์ร่วมสมัย (Contemporary Dance) ไปจนถึง Theatre Dance จากคณาจารย์ของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง ทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล ปริญญามีประสบการณ์ ในการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในวงการมากมาย
ผลงานโดดเด่นด้านการออกแบบและกำกับลีลาที่ผ่านมา อาทิ “สุริโยทัย” บัลเลต์-โอเปร่า, ละครเพลง “ประทีบแห่งเจ้าพระยา”, ละครเพลงเฉลิมพระเกียรติ “ไกลกังวล มิวสิคัล ออน เดอะ บีช”, “โหมโรง เดอะ มิวสิคัล” เป็นต้น ปัจจุบันปริญญายังคงทำงานในแวดวงศิลปะการแสดงอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสวงหาความท้าทาย ใหม่ๆ ในอาชีพ
วาทยากร
พลเรือตรี วีระพันธ์ วอกลาง
(ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปการแสดง (ดนตรีสากล) ปีพ.ศ. 2551
จบการศึกษาจากโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือในปี 2500 หลังจากนั้น
ได้เข้ารับราชการในตําแหน่งนักไวโอลิน กองดุริยางค์ทหารเรือ จากนั้นได้รับทุนกองทัพเรือไปศึกษาต่อ ณ สหราชอาณาจักร จนกระทั่งสำเร็จการศึกษารวม 3 สถาบัน ได้แก่ สาขา Band Master
ที่สถาบัน Royal Marines School of Music, สาขาอํานวยเพลง และไวโอลิน ที่สถาบัน Royal Academy of Music, และสาขาไวโอลินที่สถาบัน Trinity College of Music ก่อนที่ศึกษาต่อด้านการ อํานวยเพลงที่ Musik Hoch Shule ในฐานะนักเรียนทุน Deutscher Akademischer Austauschdienst ประเทศเยอรมนี พลเรือตรี วีระพันธ์ เป็นอาจารย์และผู้อํานวยเพลง ของวงดุริยางค์ราชนาวี กองดุริยางค์ทหารเรือ จนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่งพลเรือตรีคนแรก และคนเดียว ทางด้านสาขาดนตรี หลังเกษียณอายุราชการ พลเรือตรี วีระพันธ์ ได้วางรากฐานและร่วมก่อตั้ง วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ(BSO) นอกจากนั้นก็ยังคงเป็นอาจารย์สอนดนตรี ไวโอลิน วิโอล่า ทฤษฎีดนตรี การประพันธ์เพลง และการอํานวยเพลง ที่โรงเรียนดนตรีวีระพันธ์ดุริยางค์ พลเรือตรีวีระพันธ์ วอกลาง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ปี พ.ศ. 2551 จากนั้นได้ร่วมก่อตั้งวงดุริยางค์ประชาคมกรุงเทพ (The Bangkok International Community Orchestra) และเป็นผู้อํานวยเพลงตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน
ออกแบบเครื่องแต่งกาย
โกมล พานิชพันธ์
ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลอง จังหวัดแพร่
และเจ้าของพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ
ผลงาน - ออกแบบชิ้นงานเอกพระบรมสาทิศลักษณ์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โดยจัดแสดง ณ ชั้น 6
อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
- ออกแบบเครื่องแต่งกาย งานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ทุกครั้ง
- ออกแบบเครื่องแต่งกาย งานเชียงใหม่ 700 ปี 2539
- ออกแบบชุดแต่งกายภาพยนตร์เรื่องสุริโยทัย “ชุดมหาเทวีจีรประภา” ปี 2543
- ออกแบบชุดประกวดนางสาวไทย “ชุดการแต่งกาย 4 ภาค” ปี 2544
- ออกแบบชุดแต่งกายการแสดงแสงเสียง “ริเวอร์ออฟเดอะคิงส์” ปี 2544
ออกแบบและควบคุมด้านการแต่งหน้า / ทรงผม
มนตรี วัดละเอียด
เมคอัพอาร์ททิสชั้นครูที่เคยได้รับรางวัลมาแล้วหลายสถาบัน
อาทิ รางวัลตุ๊กตาทองแต่งหน้ายอดเยี่ยมในปี 2531
ปัจจุบัน มนตรี วัดละเอียด เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสอนศิลปะ การแต่งหน้า เอ็ม ที ไอ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ชำนาญการแต่งหน้า โขนพระราชทาน ผลงานการแต่งหน้าในช่วงที่ผ่านมา เช่น สุริโยไท,
โหมโรง, ชั่วฟ้าดินสลาย, อุโมงค์ผาเมือง, ตำนานสมเด็จพระนเรศวร มหาราช และ จัน ดารา ฉบับหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล
เขียนบท
ปริดา มโนมัยพิบูลย์
จบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการเขียนบทละคร (Writing for Performance) จาก University of Exeter ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนวิชาเขียนบทละครทั้งในระดับปริญญาตรี
และปริญญาโทประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ และได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาเขียนบทละคร ในหลายมหาวิทยาลัย มีผลงานละครเวทีอย่างต่อเนื่อง อาทิ นางร้ายในลงกา The New Episode (2557) ฉุยฉายเสน่หา (2556)
ซึ่งได้รับรางวัลบทละครดั้งเดิมยอดเยี่ยมจากชมรมวิจารณ์ศิลปะ
การแสดงละครเพลงเรื่อง สยามมิสฉัน (2555) นอกจากในประเทศไทยแล้ว ยังมีผลงานที่จัดแสดงในระดับ เอเชียแปซิฟิก อาทิ Shakespeare’s in Thailand (2557) ซึ่งจัดแสดงที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน