ส่งออกกุมภาพันธ์ ... ภาพลวงตาบนปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอน
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก แถลงข่าวร่วมกับนายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาผู้ส่งออก, นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งออก และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหารสภาผู้ส่งออก เกี่ยวกับสถานการณ์ส่งออกปี 2559 ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 ว่ามูลค่าการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่าการส่งออกของไทยฟื้นกลับมา เนื่องจากการส่งออกมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเติบโตกว่า 10.27% นั้น เกิดจากการส่งกลับอาวุธยุทโธปกรณ์ในการซ้อมรบ และการส่งออกทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปถึง 1,890 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเกิดจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในเดือนกุมภาพันธ์หากตัดปัจจัยทั้งสองประเด็นออกแล้ว จะทำให้การส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์หดตัว -3.75% ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงการหดตัวอย่างต่อเนื่องของภาคส่งออกไทย ขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจในตลาดสำคัญยังไม่ฟื้นตัวอย่างแท้จริง
ดังนั้น สภาผู้ส่งออก ยังคงเป้าหมายการส่งออกปีนี้ไว้ที่ 0-2% เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงเดิมยังคงอยู่และเริ่มเห็นผลกระทบชัดเจนมากขึ้น อาทิ 1) ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก กำลังซื้อผู้บริโภค และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ 2) ความผันผวนของราคาน้ำมัน และการตกต่ำของราคาสินค้าเกษตร/สินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อทั้งกลุ่มประเทศโอเปก และรวมถึงตลาดสำคัญอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาที่คาดการณ์ว่าจะส่งออกสินค้าเกษตรลดลงประมาณ 10% คิดเป็น 125,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 3) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนที่ยังอยู่ระหว่างการปรับฐาน และการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่อง 4) การหดตัวของการส่งออกไปยังตลาดซีแอลเอ็มวี 5) การสู้รบในตะวันออกกลาง และความตรึงเครียดในเอเชียตะวันออกและทะเลจีนใต้ 6) เหตุการณ์ก่อการร้ายในหลายแห่งทั่วโลก 7) ความผันผวนของตลาดการเงินและผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน 8) ผลกระทบจากไวรัสซิกาและการออกมาตรการตรวจสอบสินค้า/ตู้สินค้าที่ขนส่งระหว่างประเทศ และ 9) สถานการณ์ภัยแล้งในประเทศ
ทั้งนี้สภาผู้ส่งออก ได้เข้าร่วมร่วมการประชุม Global Shippers’ Alliance (GSA) และ Asian Shippers’ Alliance (ASA) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ร่วมกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือจากทั่วโลก อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แอฟริกา อินโดนีเซีย บังคลาเทศ ฮ่องกง มาเก๊า เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมมีการหารือและมีประเด็นผลักดันร่วมกัน อาทิ 1) สนับสนุนให้มีการเรียกเก็บค่าระวางแบบออลอินเรท (All-in-rate) เพื่อแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม (Surcharges) และค่าใช้จ่ายภายในประเทศ (Local Charges) ที่เรียกเก็บโดยสายเรือและผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 2) ประเทศสมาชิกเห็นชอบร่วมกันที่จะสร้างความร่วมมือทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยทางการค้าร่วมกัน ตามกรอบความตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ 3) ประเทศสมาชิกยังคงมีความกังวลในการปฏิบัติตามมาตรการชั่งและรับรองน้ำหนักตู้สินค้า (Container Weight Verification Rules) ซึ่งกำหนดโดยองค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) เนื่องจากยังคงมีความไม่ชัดเจนถึงวิธีปฏิบัติ และหลายประเทศยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติตามมาตรการ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2559.
สรุปสถานการณ์ส่งออกของไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
กระทรวงพาณิชย์ระบุ การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.27% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 683,842 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 22.52% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) โดยมีมูลค่าการส่งออกรายเดือนย้อนหลังระหว่างปี 2556-2559 ดังต่อไปนี้
สถานการณ์ส่งออกในกลุ่มสินค้าและตลาดส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรก ในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2559 ประกอบไปด้วย
ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัวเกิดจาก 1) มูลค่าการส่งออกทองคำที่สูงถึง 1,890 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่าเพียง 164.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และ 2) การส่งออกเฮลิคอปเตอร์และยานยนต์ที่ใช้ในการซ้อมรบกลับออกไป คิดเป็นมูลค่ากว่า 683 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหากตัดสองปัจจัยนี้ออกไปจะทำให้การส่งออกไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 หดตัวเท่ากับ -3.75%.
ดังนั้น สภาผู้ส่งออก ยังคงเป้าหมายการส่งออกปีนี้ไว้ที่ 0-2% เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงเดิมยังคงอยู่และเริ่มเห็นผลกระทบชัดเจนมากขึ้น อาทิ 1) ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก กำลังซื้อผู้บริโภค และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ 2) ความผันผวนของราคาน้ำมัน และการตกต่ำของราคาสินค้าเกษตร/สินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อทั้งกลุ่มประเทศโอเปก และรวมถึงตลาดสำคัญอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาที่คาดการณ์ว่าจะส่งออกสินค้าเกษตรลดลงประมาณ 10% คิดเป็น 125,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 3) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนที่ยังอยู่ระหว่างการปรับฐาน และการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่อง 4) การหดตัวของการส่งออกไปยังตลาดซีแอลเอ็มวี 5) การสู้รบในตะวันออกกลาง และความตรึงเครียดในเอเชียตะวันออกและทะเลจีนใต้ 6) เหตุการณ์ก่อการร้ายในหลายแห่งทั่วโลก 7) ความผันผวนของตลาดการเงินและผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน 8) ผลกระทบจากไวรัสซิกาและการออกมาตรการตรวจสอบสินค้า/ตู้สินค้าที่ขนส่งระหว่างประเทศ และ 9) สถานการณ์ภัยแล้งในประเทศ
ทั้งนี้สภาผู้ส่งออก ได้เข้าร่วมร่วมการประชุม Global Shippers’ Alliance (GSA) และ Asian Shippers’ Alliance (ASA) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ร่วมกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือจากทั่วโลก อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แอฟริกา อินโดนีเซีย บังคลาเทศ ฮ่องกง มาเก๊า เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมมีการหารือและมีประเด็นผลักดันร่วมกัน อาทิ 1) สนับสนุนให้มีการเรียกเก็บค่าระวางแบบออลอินเรท (All-in-rate) เพื่อแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม (Surcharges) และค่าใช้จ่ายภายในประเทศ (Local Charges) ที่เรียกเก็บโดยสายเรือและผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 2) ประเทศสมาชิกเห็นชอบร่วมกันที่จะสร้างความร่วมมือทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าและมาตรฐานความปลอดภัยทางการค้าร่วมกัน ตามกรอบความตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ 3) ประเทศสมาชิกยังคงมีความกังวลในการปฏิบัติตามมาตรการชั่งและรับรองน้ำหนักตู้สินค้า (Container Weight Verification Rules) ซึ่งกำหนดโดยองค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) เนื่องจากยังคงมีความไม่ชัดเจนถึงวิธีปฏิบัติ และหลายประเทศยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติตามมาตรการ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2559.
กระทรวงพาณิชย์ระบุ การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.27% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 683,842 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 22.52% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) โดยมีมูลค่าการส่งออกรายเดือนย้อนหลังระหว่างปี 2556-2559 ดังต่อไปนี้
สถานการณ์ส่งออกในกลุ่มสินค้าและตลาดส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรก ในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2559 ประกอบไปด้วย
ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัวเกิดจาก 1) มูลค่าการส่งออกทองคำที่สูงถึง 1,890 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่าเพียง 164.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และ 2) การส่งออกเฮลิคอปเตอร์และยานยนต์ที่ใช้ในการซ้อมรบกลับออกไป คิดเป็นมูลค่ากว่า 683 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหากตัดสองปัจจัยนี้ออกไปจะทำให้การส่งออกไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 หดตัวเท่ากับ -3.75%.