ADS


Breaking News

เดอะ เรนโบว์ รูม ฉลองวันดาวน์ซินโดรมโลกและเดือนออทิสซึมโลก

กรุงเทพฯ - 16 มีนาคม 2559 - มูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม  ศูนย์ความเข้าใจใน  เชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษ แห่งแรกของไทย จับมือ อาร์ตคอนเนคชั่น และชมรมเมืองไทย เข้าใจออทิสซึม ฉลองวันดาวน์ซินโดรมโลก (21 มีนาคม 2559) และเดือนออทิสซึมโลก (2 เมษายน 2559)  ผ่านละครหุ่นแนวทดลอง “ เธียเตอร์สายรุ้ง ”  ในวันเสาร์ที่ 19 และอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2559 เวลา 15.00 น. ณ ครีเอทีฟ อินดัสทรีส์ โรงละครเอ็ม เธียเตอร์

รอบครอบครัว: วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2559
แสดงจริง :วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2559
เวลา 15.00 น. ณ ครีเอทีฟ อินดัสทรีส์ โรงละครเอ็ม เธียเตอร์
บัตรราคา 300 บาทสำหรับบุคคลทั่วไป 150 บาทสำหรับนักเรียน, นักศึกษา
ติดต่อซื้อบัตรได้ที่คุณแก้มยุ้ย 087-565-6736 /
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  hello@therainbowroom.org หรือโทร 02-023-2396
     การแสดงละครหุ่น เธียเตอร์สายรุ้ง(Rainbow Puppet Theatre) เป็นกิจกรรมของโครงการ ศิลปะการสร้างสายรุ้ง ครั้งที่ 3 ของมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม ภายใต้การพัฒนาโดย อาร์ต คอนเน็คชั่น  

ละครหุ่น เธียเตอร์สายรุ้ง- การแสดงแนวทดลอง
ละครหุ่น เธียเตอร์สายรุ้งได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของละครแนวทดลอง เธียเตอร์สายรุ้งจากกิจกรรมในโครงการ ศิลปะการสร้างสายรุ้ง ครั้งที่ 2ซึ่งเด็กๆ ได้แสดงศักยภาพในการแสดงบทบาทในละคร 4 องก์ ที่ร้อยรวมเป็นเรื่องการเดินทางเพื่อแสวงหาดินแดนสายรุ้ง ในปีนี้ การแสดงจะเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการทำงานของศิลปินในด้านศิลปะการแสดงละครหุ่นร่วมกับเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษ, เด็กทั่วไป และผู้ใหญ่ซึ่งเป็นอาสาสมัคร โดยมีศิลปินดนตรีทำเพลงประกอบในลักษณะ Theme หลักเพื่อร้อยการทำงานของกลุ่มละครหุ่นทั้ง 4 กลุ่มเข้าด้วยกัน ซึ่งมีทั้งหุ่นมือ หุ่นสาย และหุ่นเงา ภายใต้แนวคิด ฉันทำได้หรือ I Am Ableโดยสะท้อนศักยภาพของเด็กๆ ในมุมมองที่อาจจะยังไม่ได้มีการค้นหา การประดิษฐ์และเล่นหุ่นหลากหลายประเภทร่วมกับศิลปินละครหุ่นที่ร่วมโครงการ จะเป็นการเปิดเผยศักยภาพในการสร้างสรรค์ผ่านตัวหุ่นซึ่งเป็นภาพสะท้อนตัวตนของมนุษย์และสัตว์ คำถามคือ เด็กๆ ที่ถูกมองว่ามีความท้าทายทางด้านจินตนาการจะสามารถเชื่อมโยงเวทมนต์แห่งการเคลื่อนไหวของหุ่นกับการบังคับหุ่นได้หรือไม่ พวกเขาจะเห็นส่วนหนึ่งของตัวตนของเขาและผสานเป็นหนึ่งเดียวกับตัวหุ่นได้หรือไม่ การประดิษฐ์ บังคับหุ่น และการเล่าเรื่องราวภายใต้แนวคิด ฉันทำได้ไม่เพียงทำลายกำแพงแห่งความไม่เข้าใจระหว่างเด็กๆ ที่มีความแตกต่างและเด็กทั่วไปในด้านความสามารถที่ไม่มีขีดจำกัด แต่ยังเชิญชวนให้ศิลปินมองเห็นความเป็นไปได้ในการทำงานกับเด็กๆ ที่มีความสามารถแตกต่างกัน และเปิดให้สังคมได้มีโอกาสแสดงศักยภาพในการโอบรับความสามารถของเด็กๆ โดยมองข้าม
ผ่านข้อจำกัดที่เคยคิดว่ามี ความสามารถนี้ คือ "พลังวิเศษ" เฉกเช่นยอดมนุษย์ในจินตนาการ ที่จะทำให้เด็กๆ ที่มีความแตกต่าง สามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ เติมเต็มส่วนที่ขาดพร่องของสังคม และร่วมกันตามหาสายรุ้งแห่งความเป็นไปได้ที่สูญหายไปจนพบในที่สุด ทั้งนี้ ภาพสะท้อนของความแตกต่างในความเหมือน และความเหมือนในความแตกต่าง จะทำให้ทุกคนสามารถเห็นว่า ไม่ว่าอย่างไร เด็กทุกคนคือเด็ก พวกเขามีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับในความสามารถไม่ว่าเขาเป็นใครก็ตาม
ทั้งนี้ ละครหุ่น เธียเตอร์สายรุ้งในครั้งนี้ เป็นละครแนวทดลองที่นำเสนอกระบวนการทำงาน จากการเรียนรู้ร่วมกัน สู่การสร้างสรรค์ และการนำเสนอรูปแบบผลงานของศิลปิน เด็กๆ ผู้ปกครอง และเพื่อนอาสา ในลักษณะ งานที่ยังคงอยู่ในกระบวนการพัฒนาสร้างสรรค์(work in progress) แม้จะไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์แบบ หากเมล็ดพันธ์แห่งความสร้างสรรค์ที่ได้เพาะลงในผืนดินแห่งความเป็นไปได้และจินตนาการของเด็กๆ และผู้ร่วมโครงการทุกคนในวันนี้ ก็ยังคงจะเจริญเติบโตต่อเนื่องไปในอนาคต ทั้งนี้ งานแสดงในครั้งนี้จะชักนำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับกระบวนการพัฒนาความตื่นรู้ การเรียนรู้ และความสามารถร่วมกันระหว่างผู้อยู่บนเวที ผู้อยู่เบื้องหลัง และผู้ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของเวที

รอบครอบครัว: วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2559
แสดงจริง :วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2559
เวลา 15.00 น. ณ ครีเอทีฟ อินดัสทรีส์ โรงละครเอ็ม เธียเตอร์
บัตรราคา 300 บาทสำหรับบุคคลทั่วไป 150 บาทสำหรับนักเรียน, นักศึกษา
ติดต่อซื้อบัตรได้ที่คุณแก้มยุ้ย 087-565-6736 /
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  hello@therainbowroom.org หรือโทร 02-023-2396

ศิลปะการสร้างสายรุ้ง
ละครหุ่น “เธียเตอร์สายรุ้ง”

ศิลปะการสร้างสายรุ้ง
เมื่อรุ้งเริ่มทอสาย - ความเป็นมา

วันหนึ่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ พบวิญญ์ รุจิรวิริยภิญโญ ศิลปินภาพถ่ายฝีมือระดับโลกเป็นครั้งแรก ผ่านการแนะนำของ เพลิน ประทุมมาศ กรรมการมูลนิธิฯ โดยโรสซาลีน่าได้พูดถึงโครงการในฝันที่จะนำภาพเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษที่มีความสดใส น่ารัก ร่าเริง และมีความสุข ไปแสดงตามที่ต่างๆ วิญญ์สนใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ และยินดีที่จะมาถ่ายภาพเด็กๆ ที่เล่นกันอย่างสนุกสนานในเดอะ เรนโบว์ รูม ในวันนั้น วิญญ์ได้สัมผัสกับเด็กๆ และสะท้อนประสบการณ์ของเขาผ่านเลนซ์ออกมาเป็นภาพที่งดงาม ตามความเป็นจริงว่า เด็กก็คือเด็ก ไม่มีความแตกต่างแม้ว่าเขาจะมีความต้องการพิเศษ  หนึ่งในประสบการณ์ที่ประทับอยู่ในใจของทุกคนในวันนั้น คือ ปาฏิหาริย์ที่ทุกคนคาดไม่ถึง ในช่วงเวลาที่น้องนีมาโร อายุ 4 ปี (ในตอนนั้น) สบตากับคุณแม่เป็นครั้งแรกในชีวิต ผ่านการเล่นและการชี้แนะของครูเพลิน เราจึงได้เห็นพลังอันยิ่งใหญ่ของการช่วยเหลือพัฒนาการแรกเริ่มที่มีต่อเด็กที่ความต้องการพิเศษ

โรสซาลีน่าได้แบ่งปันประสบการณ์ในวันนั้นและให้ประคำกรอง พงษ์ไพบูลย์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งอาร์ต คอนเนคชั่น กลุ่มเคลื่อนไหวทางศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเพื่อนรักฟัง ทั้งคู่ลงความเห็นว่า ควรจะให้คนอื่นๆ ได้มีส่วนร่วมในประสบการณ์ดังกล่าวเพื่อสร้างความตระหนักในเชิงบวกเกี่ยวกับเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษในสังคมไทย  โครงการ “ศิลปะการสร้างสายรุ้ง#1” จึงถึงกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยความร่วมมือระหว่าง เดอะ เรนโบว์ รูม, อาร์ต คอนเน็คชั่น, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม มีการจัดนิทรรศการการจัดวางภาพถ่ายของวิญญ์ รุจิรวิริยภิญโญ และเสียง โดยศิลปินเสียง เอก​โอตระวรรณะ ในผลงานพื้นที่การจัดวางของ อภิกุล โกเมศโสภา ณ. มิวเซียมสยาม เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2555 ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณอานันท์ ปันยารชุน ฑูตยูนิเซฟมาเป็นประธานเปิดนิทรรศการ
โครงการ “ศิลปะการสร้างสายรุ้ง” นี้ มีวัตถุประสงค์ให้ศิลปินในหลายแขนงมาสัมผัส มีประสบการณ์ หรือทำงานโดยตรงกับเด็กๆ แล้วสะท้อนประสบการณ์นั้นผ่านงานศิลปะของตน เพื่อสร้างความเข้าใจในเชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษให้สังคมและช่วยให้ทุกคนเห็นศักยภาพ ความเป็นไปได้ และความงดงามของเด็กๆ ผ่านศิลปะซึ่งเป็นภาษาสากลที่สามารถสัมผัสได้ด้วยจิตวิญญาณ

ศิลปะการสร้างสายรุ้ง #3
ละครหุ่น “เธียเตอร์สายรุ้ง”

การแสดงละครหุ่น “เธียเตอร์สายรุ้ง” (Rainbow Puppet Theatre) เป็นกิจกรรมของโครงการ “ศิลปะการสร้างสายรุ้ง ครั้งที่ 3” ของมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม ภายใต้การพัฒนาโดย อาร์ต คอนเน็คชั่น  

ละครหุ่น “เธียเตอร์สายรุ้ง” - การแสดงแนวทดลอง
ละครหุ่น “เธียเตอร์สายรุ้ง” ได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของละครแนวทดลอง “เธียเตอร์สายรุ้ง” จากกิจกรรมในโครงการ “ศิลปะการสร้างสายรุ้ง ครั้งที่ 2” ซึ่งเด็กๆ ได้แสดงศักยภาพในการแสดงบทบาทในละคร 4 องก์ ที่ร้อยรวมเป็นเรื่องการเดินทางเพื่อแสวงหาดินแดนสายรุ้ง ในปีนี้ การแสดงจะเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการทำงานของศิลปินในด้านศิลปะการแสดงละครหุ่นร่วมกับเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษ, เด็กทั่วไป และผู้ใหญ่ซึ่งเป็นอาสาสมัคร โดยมีศิลปินดนตรีทำเพลงประกอบในลักษณะ Theme หลักเพื่อร้อยการทำงานของกลุ่มละครหุ่นทั้ง 4 กลุ่มเข้าด้วยกัน ซึ่งมีทั้งหุ่นมือ หุ่นสาย และหุ่นเงา ภายใต้แนวคิด “ฉันทำได้” หรือ “I Am Able” โดยสะท้อนศักยภาพของเด็กๆ ในมุมมองที่อาจจะยังไม่ได้มีการค้นหา การประดิษฐ์และเล่นหุ่นหลากหลายประเภทร่วมกับศิลปินละครหุ่นที่ร่วมโครงการ จะเป็นการเปิดเผยศักยภาพในการสร้างสรรค์ผ่านตัวหุ่นซึ่งเป็นภาพสะท้อนตัวตนของมนุษย์และสัตว์ คำถามคือ เด็กๆ ที่ถูกมองว่ามีความท้าทายทางด้านจินตนาการจะสามารถเชื่อมโยงเวทมนต์แห่งการเคลื่อนไหวของหุ่นกับการบังคับหุ่นได้หรือไม่ พวกเขาจะเห็นส่วนหนึ่งของตัวตนของเขาและผสานเป็นหนึ่งเดียวกับตัวหุ่นได้หรือไม่ การประดิษฐ์ บังคับหุ่น และการเล่าเรื่องราวภายใต้แนวคิด “ฉันทำได้” ไม่เพียงทำลายกำแพงแห่งความไม่เข้าใจระหว่างเด็กๆ ที่มีความแตกต่างและเด็กทั่วไปในด้านความสามารถที่ไม่มีขีดจำกัด แต่ยังเชิญชวนให้ศิลปินมองเห็นความเป็นไปได้ในการทำงานกับเด็กๆ ที่มีความสามารถแตกต่างกัน และเปิดให้สังคมได้มีโอกาสแสดงศักยภาพในการโอบรับความสามารถของเด็กๆ โดยมองข้ามผ่านข้อจำกัดที่เคยคิดว่ามี ความสามารถนี้ คือ "พลังวิเศษ" เฉกเช่นยอดมนุษย์ในจินตนาการ ที่จะทำให้เด็กๆ ที่มีความแตกต่าง สามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ เติมเต็มส่วนที่ขาดพร่องของสังคม และร่วมกันตามหาสายรุ้งแห่งความเป็นไปได้ที่สูญหายไปจนพบในที่สุด ทั้งนี้ ภาพสะท้อนของความแตกต่างในความเหมือน และความเหมือนในความแตกต่าง จะทำให้ทุกคนสามารถเห็นว่า ไม่ว่าอย่างไร เด็กทุกคนคือเด็ก พวกเขามีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับในความสามารถไม่ว่าเขาเป็นใครก็ตาม

ทั้งนี้ ละครหุ่น “เธียเตอร์สายรุ้ง” ในครั้งนี้ เป็นละครแนวทดลองที่นำเสนอกระบวนการทำงาน จากการเรียนรู้ร่วมกัน สู่การสร้างสรรค์ และการนำเสนอรูปแบบผลงานของศิลปิน เด็กๆ ผู้ปกครอง และเพื่อนอาสา ในลักษณะ “งานที่ยังคงอยู่ในกระบวนการพัฒนาสร้างสรรค์” (work in progress) แม้จะไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์แบบ หากเมล็ดพันธ์แห่งความสร้างสรรค์ที่ได้เพาะลงในผืนดินแห่งความเป็นไปได้และจินตนาการของเด็กๆ และผู้ร่วมโครงการทุกคนในวันนี้ ก็ยังคงจะเจริญเติบโตต่อเนื่องไปในอนาคต ทั้งนี้ งานแสดงในครั้งนี้จะชักนำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับกระบวนการพัฒนาความตื่นรู้ การเรียนรู้ และความสามารถร่วมกันระหว่างผู้อยู่บนเวที ผู้อยู่เบื้องหลัง และผู้ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของเวที

สารคดี
“เธียเตอร์สายรุ้ง”
กระบวนการทำงานทั้งหมดในโครงการละครหุ่น “เธียเตอร์สายรุ้ง” จะถูกบันทึกเป็นสารคดี เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการทำงาน ร่วมกันของศิลปินกับเด็กๆ ตั้งแต่เริ่มการคัดเลือกตัวละคร การฝึกซ้อม จนกระทั่งถึงผลงานของกระบวนการบนเวที โดยผู้ชมสารคดีชุดนี้จะเห็นถึงความเข้าใจในด้านบวก รวมถึงพลวัตรและกระบวนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา การของตัวตน , อารมณ์, ความสามารถ, ปฏิสัมพันธ์ และผลงานของศิลปินที่ทำงานร่วมกับเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทั่วไป มุมมองของผู้ปกครองและเพื่อนอาสา เพื่อความตระหนักในเชิงบวกและเอื้อให้เกิดการการอยู่ร่วมกัน ในสังคมได้อย่างมีความเข้าใจและความสุขในที่สุด

ความหวังของเราคือ ในขณะที่ผู้ที่ร่วมในการแสดงจะเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันและมิตรภาพที่ไม่มีขอบเขตนั้น ผู้ชม ที่กำลังดูละคร  จะได้ตระหนักถึงศักยภาพของเด็กๆ จะถูกปลุกเร้าด้วยสารของการให้เกียรติในความสามารถของเด็กๆ ทั้งนี้ ผู้ชมจะมีความเข้าใจถึงความงดงามของความแตกต่าง และมองเห็นความเป็นไปได้ที่ ไม่มีสิ้นสุดในตัวเด็กๆ

ในส่วนของสารคดี ผู้ชมสารคดีจะได้พิจารณาถึงกระบวนการสร้างสรรค์ละครเวที “เธียเตอร์สายรุ้ง” ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงจบ โดยจะได้เห็นถึงพัฒนาการของพลวัตรและการปฏิสัมพันธ์ของศิลปินและเด็กๆ

วัตถุประสงค์

        เพื่อให้ศิลปินมีโอกาสได้สัมผัสและทำงานกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กทั่วไป ได้เห็นกระบวนการในการใช้ งานศิลปะ  เพื่อช่วยในพัฒนาการของเด็กๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับศิลปินเพื่อค้นหาศักยภาพของตน และนำมาใช้เพื่อเพิ่มพูนความภาคภูมิใจในตนเอง
        เพื่อให้พ่อแม่ได้เห็นถึงความหลากหลายในการเรียนรู้และรับรู้ถึงการพัฒนาศักยภาพของลูกอย่างเต็มที่
        เพื่อให้สังคมได้เห็นมุมมองของศิลปินที่สะท้อนออกมาเป็นผลงานหลังจากทำงานกับเด็กๆ แล้ว และเกิดความเข้าใจ ในศักยภาพของเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษ และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างกลมกลืน
        เพื่อเผยแพร่และสร้างความตระหนักเชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษ ผ่านศิลปะการละครหุ่นและภาพยนตร์สารคดี

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม

มูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม เป็น ศูนย์ความเข้าใจในด้านบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษ ที่ไม่แสวงหากำไร เราเป็นกลุ่มพ่อแม่, ครอบครัว และเพื่อนของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษด้านพัฒนาการและพฤติกรรม รวมถึงดาวน์ซินโดรม, ออทิสซึม, แอสเพอร์เกอร์ส, พีดีดี เอ็นโอเอส, เซเรบรัล พัลซี, เอดีเอชดี และความท้าทาย ด้านพันธุกรรมอื่นๆ เราส่งเสริมความเข้าใจในด้านบวกผ่านการแบ่งปันข้อมูล, ประสบการณ์, กำลังใจ และพลังเสริม แบบ “พ่อแม่สู่พ่อแม่” โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา

เราสนับสนุนการช่วยเหลือตนเอง, เสริมความมั่นใจ และความภาคภูมิใจในความแตกต่างเฉพาะบุคคล วัตถุประสงค์ของเราคือ การเป็นแรงบันดาลใจเพื่อโอกาสที่ดีกว่า ผ่านการยอมรับของชุมชน

ภาคีในโครงการ

อาร์ต คอนเน็คชั่น
กลุ่มความเคลื่อนไหวด้านศิลปะ ที่เริ่มจากการรวมตัวของกลุ่มคน 4 คนเพื่อจัดทำแผนที่วัฒนธรรมแจก โดยมี  วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลด้านศิลปะและขยายกลุ่มผู้มีความสนใจเรื่องศิลปะและวัฒนธรรมในกรุงเทพ นอกจากนั้น กลุ่มยังทำงานด้านภัณฑารักษ์ให้กับการแสดงการจัดวางงานศิลปะ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ประเทศฝรั่งเศส  และประเทศไทยในงาน “อาร์ตคอนเน็คชั่น”:ซึ่งจัดแสดงในแกลเลอรี่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพ ร่วมกับสมาคมฝรั่งเศสในปี 2545 ในปี 2555  อาร์ตคอนเน็คชั่นได้ร่วมงานกับมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม  ในโครงการ           “ ศิลปะการสร้างสายรุ้ง ครั้งที่ 1” ซึ่งเป็นนิทรรศการการจัดวางภาพถ่ายและเสียง

ชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม
ชมรมเมืองไทยเข้าใจออทิสซึม เกิดขึ้นได้จากแรงกายและแรงใจจากกลุ่มเยาวชน และ คนหนุ่มสาวที่ต้องการผลักดันให้สังคมไทยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับออทิสซึมมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสังคมในอนาคตที่จะยอมรับและให้ความเสมอภาคโดยตั้งใจที่จะส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับออทิสซึมต่อผู้ปกครอง ครู นักเรียน และชุมชนต่างๆในประเทศไทย ผ่านงานกิจกรรม นิทรรศการ และ การกุศลต่างๆ ด้วยความหวังสูงสุดที่จะช่วยให้เด็กที่แสดงอาการออทิสติกได้รับการวินิจฉัยที่เที่ยงตรงได้เร็วที่สุด ส่งเสริมการมีห้องเรียนคู่ขนานในทุกๆโรงเรียน และ สังคมที่มีจิตใจที่เปิดกว้าง รวมทั้งตระหนักถึงผลดีของการอยู่ร่วม กันในสังคมที่หลากหลาย


ศิลปินในโครงการละครหุ่น
เธียร์เตอร์สายรุ้ง

เจ้าขุนทอง
  • เกียรติสุดา  ภิรมย์
  • ผาล  ภิรมย์
  • นพดล  พระเดโช
เกิดขึ้นเพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย  สำหรับเด็ก และ เยาวชน   
ตัวละครเป็นกลุ่มหุ่นสัตว์พูดได้ (เน้นสัตว์ไทย เช่น เจ้าขุนทอง  ฉงน( ควาย)  หางดาบ (สุนัขไทย)  ลุงมะตูม( เต่า)    ขอนลอย(จระเข้)ฯลฯ)
เนื้อหาประกอบด้วยสาระความรู้  ด้านภาษาไทย จริยธรรม คุณธรรม ส่วนรูปแบบเป็นลักษณะละครหุ่น  เพลง นิทาน เป็นต้น  ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 7
ตั้งแต่  เดือนตุลาคม ปี2534 ถึง ปัจจุบัน เวลาออกอากาศปัจจุบัน  ทุกเสาร์ 6.00น.
นอกจากนี้ คณะเจ้าขุนทองมีการแสดงสดและงานอบรม ตามวาระต่างๆด้วย

สรรค์สนุก
San-sanook
 

คณะละครหุ่นสายสรรค์สนุก
หุ่นสรรค์สนุกกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2551 จากนาย พสุธีร์พล จุรณะโกเศศ (ท๊อป ) ที่ก่อตั้งคณะหุ่นขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงละครหุ่นสายที่มีหุ่นที่น่ารัก ไม่น่ากลัว มีเนื้อเรื่องเนื้อหาดีงาม สอนให้รู้จักดีรู้จักชั่ว  สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน โดยเฉพาะกับเยาวชนที่จะเติบใหญ่ต่อไปในอนาคต โดยการขับเคลื่อนคณะหุ่นสรรค์สนุกได้มี เพื่อนๆและพี่น้องหลายคนหมุนเวียนมาช่วยสร้างและแสดงตลอดจนสร้างสรรค์สิ่งดีๆ โดยมี
นาย บัณฑิต ม่วงพัฒน์ ( น้าหนู ) มาช่วยฝ่ายศิลป์อยู่เนืองๆ
นาย ณเอก ธนภาคย์กุลเดช ( อ.ตั้ม ) มาช่วยทำดนตรี
หุ่นสรรค์สนุกมีการแสดงทั้งแบบหุ่นโชว์ความสามารถเดี่ยว , หุ่นหลากหลายที่เล่นเป็นเรื่องราว


มัมมี่ พัพเพ็ท
mommy puppet
 
พ่อโจ้  วิศวิชญ์  จิตรถาวรกุล
แม่แก้ม  ศิริจิตร  จิตรถาวรกุล
พี่แอน  มณีรัตน์  สิงหนา
ครูแว่น  ไพโรจน์ วิสุทธวงศ์รัตน์

คณะละครหุ่นที่มีจุดเริ่มต้นจากนิทานก่อนนอนในบ้าน  คุณพ่อ คุณแม่ ลูก                
อ่านหนังสือนิทานด้วยกันทุกวัน    แล้วใช้ตุ๊กตาข้างหมอนมาเชิดเล่นกันสนุกสนาน   จนวันหนึ่งลูกๆแต่งนิทานของเขาเอง   แล้วขอให้คุณแม่เย็บหุ่นเป็นตัวละครในนิทานให้   เด็กชอบมาก      เอานิทานหุ่นไปเล่าให้เพื่อนๆฟัง  จนกลายเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน  แล้วขยายสู่เครือข่ายผู้ปกครอง   

มะขามป้อม
MAKHAMPOM
สิริกาญจน์   บรรจงทัด  (ครูแจ๋)
ศิลปินละครหุ่นเงาสร้างสรรค์งานละครหุ่นเงามามากกว่า 10 ปี จากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม ) มีผลงานทั้งด้านการแสดงและการผลิตหุ่นเงาและหุ่นร่วมสมัย ทั้งยังเป็นอาจารยฺพิเศษและวิทยากรผู้สอนและจัดกระบวนการเรียนรู้สร้างสรรค์ ผ่านศิลปะและศาสตร์แห่งเงา

ธนัชฐ์พร  จันทร์เรือง    (ครูโก๋)
จากอาสาสมัครมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) ทำหน้าที่ทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง ในบทบาทการเป็นนักแสดงละครเวทีและละครหุ่นเงาและผู้ช่วยกำกับการแสดงมากมาย ครูโก๋สะสมประสบการณ์มากมายจนปัจจุบันเป็นทั้ง ครูสอนการแสดง สถาบัน Character club และวิทยากรฝึกอบรมโครงการต่างๆ
เช่น โครงการสอนละครให้ศูนย์เด็กเล็กในกรุงเทพๆ (กทม) และ โครงการส่งเสริมการอ่านช่วงปฐมวัย 4ภาคทั่วประเทศ (กศน)
ศิลปินผู้ประพันธ์เพลง

SONG WRITER /MUSIC COMPOSER
 
คุณชนะ เสวิกุล


จบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร ทำงานตำแหน่ง อาร์ตไดเรคเตอร์ ที่บริษัท ดาราวิดีโอ แล้วต่อมา ได้ทำงาน อาร์ตไดเรคเตอร์ , สคริปต์ ไรท์เตอร์ , ครีเอทีฟ , เอดิเตอร์ ที่บริษัท Act-1 ของครูช่าง ชนประคลภ์ จันทร์เรือง  จากนั้น ได้ร่วมงานกับบริษัท Nite Spot Production ในฐานะก๊อปปี้ไรเตอร์ จากนั้น ก็ไปเป็น บรรณาธิการให้นิตยสาร Sense  ปัจจุบันนอกจากเป็น โปรดิวเซอร์ สายงานเพลง บมจ.GMM Grammy    ยังเป็น columnist นิตยสาร Modern Mom, นิตยสาร Real Parenting และเป็นนักเขียนอิสระเกี่ยวกับ เรื่องของเด็ก เป็นผู้ผลิตรายการ ครูติดล้อ รายการศิลปะและเพลงเพื่อพัฒนาการเด็ก  เป็นผู้ก่อตั้ง สิรวีเนอสเซอรี
www.facebook.com/pages/ชนะ-เสวิกุล/
ทีมสารคดี
DOCUMENTARY CREW

เป็นการรวมตัวกันของคนหลายสาขาอาชีพ เพื่อบันทึกเรื่องราวของเด็กและพัฒนาการของเด็ก ทั้งที่มีความต้องการพิเศษหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อต้องร่วมงานกันกับกลุ่มละครหุ่น ที่มีความชำนาญและมีชื่อเสียง แล้วนำเรื่องราวนั้นมานำเสนอเป็น ชุดสารคดีสั้น สำหรับเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้เรียนรู้
ทีมงานหลักมี 3 คน คนแรกคือ ศรัณย์ เสมาทอง จบจากสาขาภาพยนตร์และภาพถ่าย จาก ม.ธรรมศาสตร์ เคยผ่านงานสารคดี รายการท่องเที่ยวและงานเขียนตีพิมพ์ในนิตยสารมาร่วม 20 ปี ปัจจุบันยังทำงานอิสระในด้านการเขียนและภาพเคลื่อนไหว
เชิดศักดิ์ นามสกุล ประทุมศรีสาคร  ผู้กรำงานด้านละครเวที ทั้งเป็นผู้กำกับ ผู้เขียนบท และนักแสดง ละครเวทีมาอย่างต่อเนื่องถึง 20 ปี ปัจจุบัน เป็นหัวหน้าสาขาศิลปะการแสดง และผู้รับผิดชอบหลักสูตรของวิทยาลัยศิลปะการแสดง ม.สยาม
รัฐศิลป์ สิริชนธีร์ เคยผ่านตำแหน่งผู้จัดการด้านการตลาด ผู้พัฒนาธุรกิจ รวมถึงเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตของงานสายโฆษณา และมีความสนใจในงานเขียนและสารคดี

  1. ด.ญ. ธรชญา สื่อนพคุณ            ชื่อเล่น หนูอิณ
  2. ด.ญ. พิมพ์พนิต สื่อนพคุณ            ชื่อเล่น หนูนา
  3. ด.ช. พศศศิริธา สื่อนพคุณ            ชื่อเล่น พุทธ
  4. ด.ช. กฤติธี สุขะวัธนะกุล            ชื่อเล่น โมไนย
  5. ด.ญ. ชญาน์ประพิมพ์ แผ่นศิลา        ชื่อเล่น เนย
  6. ด.ญ. เมลาณี ทวีสิน                               ชื่อเล่น มดตะนอย
  7. ด.ช. ณัฎชนน ชวนชัยสิทธิ์            ชื่อเล่น ปก
  8. ด.ญ. กัณชลิตาฐ์ หล่อวัฒนกิจชัย                 ชื่อเล่น ซันซัน
  9. ด.ช. ปาณัท วงศ์สุวรรณ            ชื่อเล่น ซีซั่น
  10. ด.ช. เบญจมิน พาย            ชื่อเล่น เบน
  11. ด.ญ. โซเฟีย พาย                ชื่อเล่น โซเฟีย
  12. ด.ญ. กุลณิชา เจียงจตุรภัทร์            ชื่อเล่น ฟ้า
  13. ด.ญ. ในหล้า ไมรอน            ชื่อเล่น ในหล้า
  14. ด.ช. อัครวิชญ์ สุขสันต์สิริวงศ์        ชื่อเล่น พ้อย
  15. ด.ช. ภัทชมน นิลอ่อน            ชื่อเล่น พลาย
  16. ด.ช. ภูดิท ชุ่มศรีขรินทร์            ชื่อเล่น ภู
  17. ด.ช. คณิณ ริสุขุมาล            ชื่อเล่น วินด์
  18. ด.ญ. คณัชญา  ริสุขุมาล            ชื่อเล่น วีวี่
  19. ด.ญ. คณัสนันท์ ริสุขุมาล            ชื่อเล่น วิว
  20. ด.ช. ภูมิภัทร เกียรติเสวีกุล            ชื่อเล่น จงเฮง
  21. ด.ช. พนธกร ยกศิริ                ชื่อเล่น นักรบ
  22. ด.ช. ณัฐวีภัทร วีรเดชทวีวรรณ        ชื่อเล่น วิน
  23. ด.ช. เตชทัต จิรานิธิกุล            ชื่อเล่น หยางซาน
  24. ด.ช. มนณัช เอี่ยมลำน้ำ            ชื่อเล่น อุณห
  25. ด.ญ. ชาคริยา ปีสิงห์            ชื่อเล่นข้าวปุ้น
  26. ด.ญ. จอร์จิน่า แม็คเคย์            ชื่อเล่น จอร์จี้
  27. ด.ญ. กเบรียล แม็คเคย์            ชื่อเล่น แก๊บบี้
  28. ด.ช. ไอยกรณ์ อัครวิภาวัลย์            ชื่อเล่น ยีนส์
  29. ด.ช. สุทธโสม ทองกิ่งแก้ว            ชื่อเล่น อั่งเปา
  30. ด.ญ. วรกมล เหลืองอ่อน            ชื่อเล่น ใจใส
  31. ด.ญ. กชบุษย์ เศรษบุตร            ชื่อเล่น มิม
  32. ด.ญ. ณภัทร ตรีโชติ                         ชื่อเล่น จีนนี่
  33. ด.ช. เทศน์ ไมรอน                ชื่อเล่น เทศน์
  34. ด.ญ. ไอยวริญญ์ หลิว            ชื่อเล่น ดาต้า
  35. ด.ญ. ประภัทรสิริ ชุ่มศรีขรินทร์            ชื่อเล่น มีมี่
  36. ด.ญ. เพชรลดา ชีวมงคล            ชื่อเล่น เฟย์
  37. ด.ช. เฟาซี ดีประเสริฐ            ชื่อเล่น เฟาซี
  38. ด.ช. อินอาม ดีประเสริฐ            ชื่อเล่น อินอาม
  39. ด.ช. วรากร มนต์คาถา            ชื่อเล่น นิว  
    40. ด.ช. ปุณณวิทย์ นาแล            ชื่อเล่น กันต์