ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ก.ล.ต. มีแผนจะปรับปรุงพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) และพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) เพื่อให้สอดคล้องกับ
หลักสากลของ IOSCO[1] เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนให้หลากหลาย รองรับการประกอบธุรกิจและการดูแลผลประโยชน์ของผู้ลงทุน ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้
หลักสากลของ IOSCO[1] เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนให้หลากหลาย รองรับการประกอบธุรกิจและการดูแลผลประโยชน์ของผู้ลงทุน ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ส่วนที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ มีการปรับปรุงในหลายด้าน อาทิ ด้านการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์จดทะเบียน ด้านธรรมาภิบาล (governance) โดยปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มบทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น บริษัทจัดการกองทุน บริษัทจดทะเบียน สถาบันหรือสมาคมที่มีการส่งเสริมความรู้และรักษาสิทธิผู้ลงทุนและการกำกับดูแลกิจการที่ดี และด้านการเชื่อมโยงกับตลาดอื่นโดยให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อนุญาตผู้อื่นส่งคำสั่งซื้อขายเข้าตลาดหลักทรัพย์นอกจากสมาชิกได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เลือกรูปแบบการสร้างพันธมิตรที่ยืดหยุ่น เหมาะสม และรองรับการเชื่อมโยงการซื้อขายในอนาคต
- การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ โดยปรับปรุงให้เรื่องใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ในการออก การเพิกถอน การกำหนดประเภทธุรกิจหลักทรัพย์เพิ่มเติม รวมทั้งการกำหนดทุนจดทะเบียนชำระแล้ว เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อความยืดหยุ่นและทันต่อพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลง
- การปรับปรุงโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ (governance) ของกองทุนรวม ให้การบริหารจัดการเงินลงทุนเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ โดยเสนอกลไกที่จะมีหน่วยงานหรือบุคคลที่เป็นอิสระ เป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลการดำเนินงานของ บลจ. และสามารถควบคุมความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการจัดการได้ นอกจากนี้ ได้เพิ่มทางเลือกให้ บลจ. สามารถจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อได้รับมติ เพิ่มจากการส่งจดหมายขอรับมติ
4. สำหรับ พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะปรับปรุงเกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่และคุณสมบัติของคณะกรรมการกองทุนให้ชัดเจน และในกรณีที่สมาชิกไม่เลือกแผนการลงทุน ให้นายทะเบียนกำหนดแผนการลงทุนที่เหมาะสมให้แก่สมาชิก อาทิ แผนการลงทุนสมดุลตามอายุ (life path) ซึ่งจะมีการปรับสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับสมาชิกในแต่ละช่วงอายุโดยอัตโนมัติตามช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป เพื่อสร้างความเติบโตของเงินกองทุนและสมาชิกมีโอกาสมีเงินเพียงพอรองรับวัยเกษียณ
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า “การพัฒนาและกำกับดูแลตลาดทุนไทยให้ยั่งยืนเป็นหน้าที่หลักของ ก.ล.ต. ซึ่งต้องพิจารณาจากปัจจัยประกอบรอบด้าน ทั้งการเติบโตของตลาดทุน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพัฒนาการของเทคโนโลยีซึ่งจะกระทบกับรูปแบบการประกอบธุรกิจที่หลากหลาย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการระดมทุน การนำเสนอสินค้าและบริการ การเสนอปรับปรุงกฎหมายหลักทรัพย์และกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในครั้งนี้ ก.ล.ต. ต้องการให้ตลาดทุนไทยพร้อมรับการแข่งขัน มีศักยภาพและได้มาตรฐานสากล ในขณะที่ ประชาชนมีการออม มีทางเลือกการลงทุน พร้อมรับชีวิตวัยเกษียณอย่างมีความสุข”
ก.ล.ต. เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) จึงขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ ทางโทรสาร หรือทางอีเมลล์ โดยเรื่องการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ ติดต่อโทรสาร 0-2263-6335 หรือทาง e-mail ที่ jarun@sec.or.th เรื่องการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ติดต่อโทรสาร 0-2263-9777 หรือทาง e-mail ที่ namporn@sec.or.th เรื่องการปรับปรุงโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการของกองทุนรวม และการปรับปรุง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ติดต่อโทรสาร 0-2263-6333 หรือทาง e-mail ที่ sumitra@sec.or.th
ทั้งนี้ ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นเรื่องการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 18 เมษายน 2559 และเรื่องอื่น ๆ จนถึงวันที่ 21 เมษายน 2559 เอกสารแสดงความคิดเห็
การแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องใบอนุญาตและการกำหนดทุนจดทะเบียนชำระแล้ว สำหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
http://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1458299544082559.pdf
การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์
http://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1458528735hearing_09_2559.pdf
การปรับปรุงพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
http://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1458527358hearing_11_2559.pdf
การปรับปรุง governance ของกองทุนรวม และการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อเพิ่มกลไกการคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน
http://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1458527386hearing_10_2559.pdf
[1] IOSCO คือ International Organization of Securities Commissions