ADS


Breaking News

ดีแทค แอคเซอเลอเรท ปีที่ 4 เริ่มแล้ว หลังโชว์ผลงานปั้นสตาร์อัพ ผงาดขึ้นเบอร์1 โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพไทย

 พร้อมติดอาวุธให้นักธุรกิจใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปฏิรูปเศรษฐกิจสู่ดิจิทัล ไทยแลนด์
      4 มีนาคม 2559 – ดีแทคเปิดโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท batch 4 ซีซั่นล่าสุด ปีนี้จัดเต็มติดอาวุธให้สตาร์ทอัพอย่างครบวงจร ชูจุดเด่นเป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพเบอร์ 1 ของไทยกับหลักสูตรระดับโลก เรียนรู้การเป็นสตาร์ทอัพ จากกูรูแถวหน้าจากซิลิคอน วัลเล่ย์ เพิ่มความเข้มข้นด้วยเมนเทอร์สตาร์ทอัพชื่อดัง ในธุรกิจไทยมาเป็นพี่เลี้ยงโค้ชชิ่งให้อย่างใกล้ชิด ร่วมเป็นพันธมิตรกับสตาร์ทอัพจากดิจิ มาเลเซีย และเทเลนอร์ เมียนมา ที่จะส่งทีมเข้าร่วมอบรมบูธแคมป์ตลอด 4เดือนเพื่อต่อยอดขยายการเติบโตธุรกิจเข้าสู่ตลาด AEC พร้อมให้พื้นที่สำนักงานแฮงกา HANGAR Coworking Space ทำงานได้ฟรี 7 วันต่อสัปดาห์ตลอดทั้งปีหลังจากเข้าโครงการ

     ดีแทคกำลังก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Service Operator)นอกจากเป้าหมายนี้แล้ว ดีแทคยังมีพันธกิจสำคัญ ที่จะช่วยสนับสนุนรัฐบาล ปฏิรูปประเทศไทยเพื่อก้าวเข้าสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ ให้ประเทศไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยเป้าหมายในการนำนวัตกรรม ความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี มาใช้ในภาคผลิต ภาคบริการในทุกอุตสาหกรรม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีแผนงาน การเพิ่มขีดความสามารถของภาคธุรกิจ เร่งสร้างบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล ซึ่งดีแทคในฐานะภาคเอกชนพร้อมที่จะช่วยภาครัฐเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการได้ดำเนินธุรกิจบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อสังคมและระบบเศรษฐกิจฐานราก ให้เติบโต เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจและสังคม

      ทั้งนี้โครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท นับเป็นหนึ่งในระบบ Ecosystem ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยบ่มเพาะสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ ส่งเสริมให้เข้าถึงแหล่งทุน สร้างความเข้มแข็ง เกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคม อย่างมั่นคง และยั่งยืน ให้กับประเทศไทย นอกจากนี้ดีแทคยังได้ร่วมช่วยผนึกกำลังกับภาครัฐ ภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการเพิ่มศักยภาพสตาร์อัพไปสู่ความสำเร็จ ในรูปแบบต่างๆ และผลักดันนโยบายส่งเสริมสตาร์ทอัพและสร้างเวทีให้ผู้ประกอบการไทยได้แสดงศักยภาพ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้สตาร์ทอัพไทยเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของประเทศชาติต่อไป

     นายแอนดริว กวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม Strategy และ Innovation บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด มหาชน หรือดีแทค (ขวา) กล่าวว่า “ในธุรกิจสตาร์ทอัพ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีสถิติที่น่าสนใจเกิดขึ้นในปี 2558 มีการลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพไทยประมาณ 35 – 40 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1,260 – 1,440 ล้านบาท ด้วยดีลในการร่วมลงทุนในธุรกิจกว่า20 ดีล และยังมีอีกหลายดีลที่ไม่เปิดเผย รวมทั้งหมดแล้วคาดการณ์มูลค่าในการลงทุนประมาณ 50 ล้านเหรียญ หรือ 1800 ล้านบาท ดีแทคเล็งเห็นถึงการเติบโตในธุรกิจสตาร์ทอัพ จึงได้ให้ความสำคัญและทุ่มเทในStartup Ecosystemด้วยการก่อตั้งโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท เมื่อ 3ปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2559 ดีแทค แอคเซอเลอเรท ตั้งเป้าหมายสูงสุดที่จะยกระดับ ดีแทค แอคเซอเลอเรท สู่เวทีสตาร์ทอัพโลก เส้นทางของดีแทค แอคเซอเลอเรท เติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จนเข้าปีที่ 4 เราเป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ เบอร์ 1ของประเทศไทย จากบทพิสูจน์ผลงานการสร้างธุรกิจแบบโตเร็ว ให้กับทีมที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 11 ทีม ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จนประสบความสำเร็จในธุรกิจ และสามารถขยายสเกลสู่ตลาดต่างประเทศ สิ่งที่ดีแทค แอคเซอเลอเรท ประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมา เช่น

·สตาร์ทอัพภายใต้โครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท โตขึ้น 3-15 เท่า ด้วยมูลค่าประมาณ 1 พันล้านบาท

·สตาร์ทอัพในโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท 70%ได้รับเงินลงทุน ในขณะที่สตาร์ทอัพในตลาดได้รับเงินลงทุนเฉลี่ยเพียง 20%


·3 ใน 6 ทีม ดีแทค แอคเซอเลอเรท ได้รับการลงทุนจาก VC ในช่วงของการเข้าร่วมบูธแคมป์ตั้งแต่ 4 เดือนแรกที่ร่วมโครงการ


·ดีแทค แอคเซอเลอเรท 4 - 5 ทีม ติดอันดับท็อปเทน จากหลายสื่อๆที่จัดอันดับสตาร์ทอัพที่มีชื่อเสียงในเมืองไทย


·500 TukTuks ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ในระดับโลก และมีความเคลื่อนไหวมากที่สุด มีพอร์ตการลงทุนถึง 50 % ในครอบครัวดีแทค แอคเซลเลอเรท


·เคลมดิ (ClaimDi) ซอฟต์แวร์ที่ปฏิวัติวงการประกันภัยระดับโลก สามารถระดมทุนจากนักลงทุนระดับโลก ในรอบซีรียส์เอ เป็นเงินทั้งสิ้น 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้มูลค่าของบริษัทสูงถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตขึ้น 15 เท่าภายในระยะเวลาแค่ 12 เดือนหลังจบโครงการไปและถือเป็นการลงทุนในระดับซีรียส์เอที่สูงที่สุดในวงการสตาร์ทอัพไทย ที่เป็นบริษัทของคนไทย 100% และยังจดทะเบียนในไทยที่มีการระดมทุนสร้างมูลค่าบริษัทที่สูงที่สุด และล่าสุดได้รับการจัดอันดับให้ติด Top 10 ของโลกทางด้าน Startupในสายธุรกิจ Insuranceหรือ Top10InsureTech ของโลก


·ทีม GizTix เป็นทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Winner award และ Z myHome ติด 1 ใน 5 ในงาน เอชลอน ประเทศไทย 2558 (Echelon Thailand 2015)


·Take Me Tour ได้รับการยกย่องจาก e27 ให้ติด1 ใน 5 แอพTravelTech ในเอเชีย


·SKOOTAR เป็นสตาร์ทอัพหน้าใหม่ของปี 2558จากการจัดอันดับในประเทศไทย


     นายสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจและดีแทค แอคเซอเลอเรท (ซ้าย) กล่าวว่า “เรากำลังมองเห็นแนวโน้มแอพพลิเคชั่นดาวรุ่งปีนี้และในอีก 2-3 ปีข้างหน้าอย่าง FINTECHที่ร้อนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ HealthTech ก็กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก อันเนื่องมาจากโลกกำลังเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ และมีอุปกรณ์และซอฟแวร์ ที่มีความฉลาดล้ำเข้ามาเสริม ในขณะที่ EdTech ก็เป็นแอพที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ทุกคนได้เข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียม และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การขยายโครงข่าย4G ให้ครอบคลุมพื้นที่การใช้งาน ทำให้ความนิยมในการเข้าไปดูวิดีโอ สตรีมมิ่ง มากขึ้นทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ VR Technology หรือ เทคโนโลยีเสมือนจริง ก็กำลังถูกเอามาทำในเชิงพานิชย์มากขึ้นต่อไปนับจากปีนี้และปีต่อๆไป สำหรับ IOT หรือ Internet of Thingและอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องยนต์ต่างๆ ก็เรียนรู้ไปพร้อมกับ AgriTech ที่กำลังเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่กำลังมาเป็นแนวโน้มในอนาคต แนวโน้มดังกล่าวกำลังนำไปสู่โอกาสของสตาร์ทอัพไทย แล้วทำไมสตาร์ทอัพถึงอยากเข้าร่วมดีแทค แอคเซอเลอเรท เพราะจุดแข็งจากโอกาสและรางวัลที่ได้รับ เป็นสิ่งที่สตาร์ทอัพทุกคนใฝ่ฝันคือ

1. เป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่ต่อเนื่องและดีที่สุดในประเทศไทย ด้วยความแข็งแรงของหลักสูตรการสอนในบูธแคมป์ระดับโลก จากกูรูแถวหน้า ซิลิคอน วัลเล่ย์ ที่บินมาสอน และแนะนำเป็นโค้ชอย่างใกล้ชิดแบบตัวต่อตัวกับสตาร์ทอัพ


2. ลงทุนในทีมที่มีความสามารถเข้าร่วมโครงการถึง10 ล้านบาท และช่วยสนับสนุน การทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ รวมมูลค่าถึง 50ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปีที่แล้ว


3. มีเมนเทอร์สตาร์ทอัพปรมาจารย์ระดับสุดยอด และเป็นที่ยอมรับในวงการสตาร์ทอัพไทย เช่น คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลน์ ประเทศไทย คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง อุ๊คบี คุณป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ซีอีโอ ตลาดดอทคอม คุณแจ็ค กิตตินันท์ อนุพันธ์ ซีอีโอ และผู้ก่อตั้งเคลมดิ คุณโบ๊ท ไผท ผดุงถิ่น ซีอีโอ Builkและ ที่ขาดไม่ได้คือคุณทิวา ยอร์ค ซีอีโอ ของ KaiDeeที่สำคัญเป็น mentor ผู้ปั้น 2 ทีมชนะเลิศใน batch ที่แล้วอีกด้วย


4. ร่วมเป็นพันธมิตรกับ ดิจิ มาเลเซีย และเทเลนอร์ เมียนมา โดยเปิดโอกาสให้ทีมจากดิจิ และ เทเลเนอร์ เมียนมาเข้าร่วม อบรมบูธแคมป์ในประเทศไทยตลอด 4 เดือน ผลที่คาดว่าจะได้จากความร่วมมือทั้ง 2 ประเทศในครั้งนี้ จะทำให้สตาร์ทอัพสามารถทำตลาดไปในลูกค้าของทั้งสองประเทศได้ ในขณะที่สตาร์ทอัพไทยสามารถขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว และทีมจากดิจิ และเทเลนอร์ เมียนมา ก็ได้เรียนรู้จากสตาร์ทอัพไทยด้วย


5. เป็นพันธมิตรกับDisrupt Universityซึ่งเป็นเอ็กซ์คลูซีฟพาร์ทเนอร์ ของ 500 สตาร์ทอัพจาก ซิลิคอน วัลเล่ย์ ซึ่งเป็น 1 ใน3 ของสตาร์ทอัพแคมป์ระดับโลก


6. เป็นพันธมิตรกับ แบล็คบ็อกซ์ BlackBox ซึ่งเป็นบูธแคมป์ที่ได้รับความนิยมท๊อป5 สูงสุดจากสตาร์ทอัพทั่วโลก ที่ต้องการรับความรู้และประสบการณ์การทำธุรกิจสตาร์ทอัพโดยตรงที่ซิลิคอน วัลเล่ย์ โดยส่งทีมที่ชนะเลิศ ที่มีความสามารถเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ และมีไอเดียที่ดีที่สุดจากประเทศไทยไปเรียนรู้ และได้ทำความรู้จักกับ เจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และนักลงทุนผู้มากด้วยประสบการณ์ และแหล่งของทรัพยากรที่จะเร่งให้ประสบความสำเร็จขยายต่อไปในระดับโลก


7. เป็นพันธมิตรกับ เทเลนอร์ ดิจิทัล วินเนอร์ ซึ่งเป็นโอกาสของสตาร์ทอัพที่จะได้ไปนำเสนอแผนธุรกิจกับนักลงทุนใหญ่ระดับโลก เช่น อินเทล เว็นเจอร์ แคปปิตอล ในนอร์เวย์”
     ดีแทค แอคเซอเลอเรท batch 4 เปิดรับสมัครผลงานตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม – 17 เมษายน 2559 ผู้ที่สนใจสามารถส่งผลงานนำเสนอแนวคิด แผนการดำเนินงาน วิธีการใช้งาน การสร้างรายได้ กลุ่มเป้าหมาย ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ หรือเข้ามาดูรายละเอียดและกรอกใบสมัครได้ที่ http://accelerate.dtac.co.th/  
     พบกิจกรรมพิเศษ Pitch Clinic ให้คำแนะนำใน การเตรียม proposal ในวันที่ 3 เมษายน 2559 โดยจะมีการคัดเลือกผลงาน 20 ทีมที่ผ่านรอบแรก ในวันที่ 22 เมษายน 2559 หลังจากนั้นจัดนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อคัดทีมที่ได้เข้าสู่ Intensive Bootcamp (Pitch day) ในวันที่ 27 เมษายน2559 และจะเริ่มคอร์สอบรมIntensive Bootcampตั้งแต่เดือนพฤษภาคม –สิงหาคม 2559 และนำเสนอผลงานรอบสุดท้ายประกาศผลในวัน Demo day ในเดือนสิงหาคมนี้
dtac accelerate Batch 4 : Key Speakers & Mentor
Key Speakers:
หัวข้อ

Nir Eyal
  1. Nir Eyal, ผู้เขียนหนังสือ “Hooked : How to Build Habit-Forming Products” หนังสือขายดีอันดับที่ 1 ในหมวดหมู่ออกแบบในเวบ amazon.com

เนียร์จบการศึกษาและสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับ Tech Startup ระดับโลกมาหลายที่ เช่น Facebook, Instagram, Twitter และ Linkedin เป็นต้น โดยเลือกร่วมกับบริษัทที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อไป และสามารถควบคุมลูกค้าให้ใช้ Product อยู่ซ้ำๆ ซึ่ง Product ที่ดีที่สุดไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ใหม่ที่สุด แต่ต้องเป็นสิ่งที่ดึงลูกค้าเข้ามาอยู่ใน loop ความสะดวกถี่ขึ้น ง่ายขึ้น และทำให้เกิดความประทับใจมากขึ้นด้วย

เนียร์มีประสบการณ์มากมายในวงการวิจัยและให้คำปรึกษา รวมถึงประสบการณ์ในการเขียนหนังสือการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่นิยม เขาบอกว่า โปรดักส์ที่จะประสบความสำเร็จต้องสามารถดึงดูดความสนใจนักลงทุน ประกอบด้วย มีศักยภาพในการเติบโต สร้างความผูกพันระหว่างผลิตภัณฑ์กับผู้ใช้ และทำเงินได้จากฐานลูกค้าที่มี นอกจากนี้ต้องเข้าใจและเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคให้ได้

เนียร์ก่อตั้ง 2 บริษัทตั้งแต่ปี 2003 และยังลงทุนในบางบริษัทอีกด้วย เช่น Eventbrite, Product Hunt, Pantry, Kahoot, Refresh.io (ถูกซื้อกิจการโดย LinkedIn), Happy Bits, Presence Learning, 7 Cups of Tea, Pana, และ Symphony Commerce
การออกแบบผลิตภัณฑ์: ในคลาสจะสอนโดยวิธีการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคชอบโดยวิธีที่เรียกว่า “HOOKED” ที่เนียร์เป็นคนคิดค้นขึ้นนั่นเอง

Scott Bales
2. Scott Bales ผู้เขียนหนังสือ “Mobile Ready” และ ผู้อำนวยการบริษัท Innovation Labs Asia

Scott คือผู้ประกอบการระดับโลก นักวางกลยุทธ์ดิจิตอลและยังเป็นนักพูดเวที TEDx รวมถึงเป็นผู้เขียนหนังสือ “Mobile Ready” ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือขายดีอีกด้วย

นอกจากนี้ Scott ยังถนัดการใช้ Lean Canvas ซึ่งเป็นเทคนิคในการทำ Lean Startup อีกด้วย
Lean Startup คือการสร้างสตาร์ทอัพโดยให้ความสำคัญกับคุณค่าที่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้จะได้รับและมุ่งเน้นการลดขั้นตอนที่ไม่สำคัญหรือสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ออกไป

Jon Yongfook Cockle
3. Jon Yongfook Cockle, ผู้ก่อตั้ง Beatrix  และผู้เขียนหนังสือ Growth Hacking Handbook
Jon Yongfook Cockle ผู้ก่อตั้ง Beatrix ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ธุรกิจ (SaaS) ด้าน Social Media Content Marketing และผู้แต่ง Growth Hacking ซึ่งเป็นการทำมาร์เก็ตติ้งที่เน้นการใช้ต้นทุนที่ต่ำ โดยลงลึกในเรื่องของการใช้ Technology แล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เขามองว่า ระหว่าง Product กับ Marketing สิ่งสำคัญที่สุดคือ Product ที่ต้องช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ ถึงแม้ว่าจะทำ Marketing ได้ดีแต่ตัว Product เองไม่สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ และต้องมีการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
Growth Hacking เป็นเทคนิคการทำตลาดเพื่อเพิ่มยอดผู้ใช้ให้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงแรกๆ ที่เริ่มเปิดบริการ โดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยแทนการโปรโมทแบบเดิมๆ เพื่อช่วยให้ต้นทุนค่าการตลาดต่ำลง (‘hack’ เพื่อให้ ‘growth’)
Key Speakers:
หัวข้อ

กุลวัฒน์ วงศาโรจน์
4. กุลวัฒน์ วงศาโรจน์ กรรมการผู้จัดการและ โค้ช Agile บริษัท Lean in Consulting
กุลวัฒน์ วงศาโรจน์คือโค้ชด้าน Agile ที่ดีที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทยด้วยประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

นอกจากนี้ยังเคยก่อตั้งสตาร์ทอัพของตัวเองและเป็นที่ปรึกษาบริษัทชั้นนำอีกมากมาย

อีกทั้งยังเป็นคนเผยแพร่ Agile ในประเทศไทยอีกด้วย
อไจล์ (Agile) หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยแนวคิดแบบอไจล์ (Agile Software Development) ซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักกันในฝั่งตะวันตกตั้งแต่ปี 2001 และได้เริ่มเป็นที่แพร่หลายกันมากขึ้นในเมืองไทย ตั้งแต่ปี 2010

William Klippgen
5. William Klippgen กรรมการผู้บริหารกองทุน Tigris Capital

วิลเลี่ยม คลิปเจ้นเป็นนักลงทุนและยังเคยเป็นผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง

เคยก่อตั้งบริษัท zoomit.com และขายให้กับ yahoo โดยภายหลังควบรวมกับ kelkoo.com และกลายเป็นเว็บไซด์ช้อปปิ้งอันดับ 3 ของยุโรป

วิลเลี่ยมก่อตั้ง Tigris ในปี 2003 และต่อมาในปี 2006 ก่อตั้งบริษัทที่เน้นการลงทุนในช่วงเริ่มต้นของสตาร์ทอัพซึ่งมีหุ้นส่วนกับบริษัทในประเทศสิงคโปร์
สอนวิธีต่างในๆการระดมทุนในสายตาของนักลงทุนว่า นักลงทุนมองหาอะไรในบริษัทสตาร์ทอัพรวมถึงทำอย่างไรให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนจากมุมมองนักลงทุนจากสแกนดิเนเวีย

เรืองโรจน์ พูนผล
6. เรืองโรจน์ พูนผล, นักลงทุน จาก 500 Startups และผู้ก่อตั้ง Disrupt University

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบ่มเพาะธุรกิจ “สตาร์ทอัพ” (startup) โมเดลธุรกิจเกิดใหม่ที่ลงทุนน้อยแต่สร้างแรงกระเพื่อมยิ่งใหญ่ต่อการใช้ชีวิตของผู้คน และยังเป็นผู้ก่อตั้ง Disrupt University สถาบันบ่มเพาะและผลักดันสตาร์ทอัพแห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย

เคยร่ำเรียนอยู่มหาวิทยาลัย Stanford สหรัฐอเมริกา และเป็นคนไทยที่สามารถโลดแล่นใน Silicon Valley กับตำแหน่ง Quantitative Marketing Manager ดูแลการตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และรับตำแหน่ง Product Marketing Manager (Global Lead) ของ Google Earth/Moon/Mars และเจ้าของธุรกิจ startup รุ่นแรกซึ่งทำ mobile application ในสหรัฐอเมริกา
Startup 101: เรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นสตาร์ทอัพตั้งแต่เริ่มต้นว่าแนวคิดเป็นอย่างไร สิ่งที่จะต้องเจอในอนาคตมีอะไรบ้างรวมถึงทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

Karun Warapongsittikul
7. Karun Warapongsittikul ผู้ร่วมก่อตั้ง UX Academy

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสร้างประสบการณ์และออกแบบสินค้าให้กับผู้บริโภค จากประสบการณ์ร่วม 10 ปีในการทำงานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการออกแบบ UX Academy เป็นโรงเรียนสอน User Experience แห่งแรกในประเทศไทย

Karun ยังเป็นวิทยากรในหลายๆงานอีกด้วยซึ่งหัวข้อหลักในการบรรยายคือ User Experience นั่นเอง
เรียนรู้การสร้างสินค้าที่สร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภค

Fadi Bishara
8. Fadi Bishara ผู้ก่อตั้งบริษัท Blackbox

ฟาดิ บิชารา ผู้ก่อตั้งบริษัท Blackbox ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านการก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีประเภทบริษัทเกิดใหม่ หรือ Startups ให้เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ

ฟาดิ บิชารา มีผลงานมากมายในซิลิคอน วัลเลย์ สหรัฐอเมริกา และในอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Blackbox ซึ่งเน้นให้คำปรึกษาและข้อแนะนำช่วยเหลือนักธุรกิจ-ผู้ลงทุนมือใหม่ไม่ว่าจะมีกิจการตั้งอยู่ที่ใดในโลก นอกจากนี้ ฟาดิยังดำรงตำแหน่ง Venture Partner ของบริษัท Sinbad Ventures ซึ่งเน้นการลงทุนในเฟสแรกของบริษัทเทคโนโลยีที่จัดตั้งใหม่ในอาระเบีย และที่สำคัญคือยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้อีกหลายองค์กรที่ให้บริการแก่บริษัท startups อีกหลายแห่งทั่วโลก
เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีสตาร์ทอัพของ Silicon Valley ว่าเป็นผู้ก่อตั้งแบบไหนถึงจะประสบความสำเร็จใน Silicon Valley

วิชานน์ มานะวาณิชเจริญ
9. วิชานน์ มานะวาณิชเจริญ ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง “ถามครูดอทคอม”

วิชาญก่อตั้งสตาร์ทอัพ 2 บริษัทภายในระยะเวลา 3 ปีและทั้ง 2 บริษัทยังสามารถทำกำไรได้แล้วอีกด้วยซึ่งอีกหึ่งบริษัทคือ “หาหมอดอทคอม” ซึ่งโตจาก 0 เป็น 7 ล้าน unique visitor ภายในเวลาไม่ถึง 2 ปี

“ถามครู” สามารถระดมทุนได้ถึง 620,000 USD จาก 500Startup ซึ่งเป็นหนึ่งในนักลงทุนจาก Silicon Valley อีกด้วย

นอกจากนี้ “ถามครู” ยังได้รับรางวัล “The Most Promising Startup” จากงาน Echelon 2014 อีกด้วย
การนำเสนอ: เรียนรู้วิธีการนำเสนอเพื่อให้นักลงทุนตัดสินใจมาลงทุนกับเรา รวมถึงการสร้างสไล์ที่รวมเอาข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจเอาไว้อีกด้วย

กิตตินันท์ อนุพันธ์
10. กิตตินันท์ อนุพันธ์

CEO บริษัท Anywhere to go และ CEO ของแอฟ Claim Di ทีมที่ได้รางวัล Digital Winner จากโครงการ dtac Accelerate 2014 และได้เป็นตัวแทนทีมไปแข่งขันต่อที่ประเทศนอร์เวย์

กิตตินันท์เริ่มบริษัทของตัวเองตั้งแต่เมื่อ 14 ปีที่แล้วและตอนนี้เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพจากประเทศไทยที่ได้รับการจับตามองจากต่างชาติมากที่สุดทีมหนึ่ง
การเตรียมตัวระดมทุน: เรียนเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนที่จะประชุมกับนักลงทุนเพื่อเป้าหมายในการระดมทุนของบริษัท

Mentors :
1. กิตตินันท์ อนุพันธ์

CEO บริษัท Anywhere to go และ CEO ของแอฟ Claim Di ทีมที่ได้รางวัล  Digital Winner จากโครงการ Dtac Acccelarate  2014 และได้เป็นตัวแทนทีมไปแข่งขันต่อที่ประเทศนอร์เวย์

กิตตินันท์เริ่มบริษัทของตัวเองตั้งแต่เมื่อ 14 ปีที่แล้วและตอนนี้เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพจากประเทศไทยที่ได้รับการจับตามองจากต่างชาติมากที่สุดทีมหนึ่ง
2. ไผท ผดุงถิ่น

Evangelist จาก builk.com และ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ลองกอง สตูดิโอ จำกัด ปัจจุบันลักษณะงานของพี่โบ๊ท คือ Evangelist เดินสายสอนคณะวิศวกรรมทั่วประเทศ คุยกับผู้ประกอบการก่อสร้างทั่วประเทศให้เห็นประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีไปเปลี่ยนธุรกิจ และปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งประธานสมาคมสตาร์ทอัพแห่งประเทศไทยอีกด้วย

คุณไผทพา Builk ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพจากประเทศไทยทีมแรกที่ได้เข้าร่วมโครงการจาก 500Startups ซึ่งอยู่ที่ Silicon Valley เป็นระยะเวลา 3 เดือน

นอกจากนี้ยังพา Builk ชนะการแข่งขัน Echelon 2012 ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
3. ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์

หมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ มีประสบการณ์ก่อตั้งและทำธุรกิจในสายงานเทคโนโลยีในเมืองไทยมากว่า 12 ปี

ปัจจุบัน คุณหมูเป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของบริษัท Ookbee ซึ่งเป็นร้านหนังสือ e-Magazine และ e-book ที่ใหญ่ที่สุดใน Southeast Asia แอพพลิเคชั่นของ Ookbee ถูกดาวโหลดไปมากกว่า 8.5 ล้านครั้ง มีผู้ใช้งานมากกว่า 6.5 ล้านคน และมีผู้ใช้งานใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 10,000 คนต่อวัน  นอกจากนี้คุณหมูยังเป็นผู้บริหาร กองทุน 500 tuktuks ซึ่งเป็นกองทุน VC ของ 500 Startups หนึ่งในกองทุนที่มีชื่อเสียงที่สุดใน Silicon Valley โดย 500 tuktuks เป็นกองทุนขนาด 450 ล้านบาทที่มุ่งเน้นลงทุนใน Startups ไทย

Mentors :
4. ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม)

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม) CEO กลุ่มบริษัท efrastructure Group, กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com, บริษัท Zocial Inc และอีกหลายบริษัท รวมถึงยังเป็น นายกสมาคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, อาจารย์มหาวิทยาลัย ศรีปทุมและหอการค้า, นักเขียนในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, นิตยสาร BrandAge และนิตยสาร SME  จัดรายการวิทยุ FM 106 และยังเป็น วิทยากรทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยังเป็นที่ปรึกษากับบริษัทชั้นนำและหน่วยงานรัฐบาลหลายร้อยแห่ง ประสบการณ์เชี่ยวชาญด้าน Internet E-Commerce & E-Marketing และ E-Business มากกว่า 15 ปี จบการศึกษา ปริญญาโทใบแรกจาก ม.อัสสัมชัญ ด้าน Internet & E-Commerce และปริญญาโท ใบที่สองที่ สถาบันบัณฑิต บริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้าน Executive MBA และจบปริญญาตรีจาก ม.รังสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. อริยะ พนมยงค์ ‎กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย

อริยะมีประสบการณ์ในด้านการบริหาร และการพัฒนาธุรกิจในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและโทรคมนาคมกว่า 18 ปี เคยดำรงตำแหน่ง Country Head คนแรกของ Google Thailand และ Chief Commercial Officer ที่ True Corporation นอกจากนี้อริยะยังมีประสบการณ์การทำงานในธุรกิจโทรคมนาคมจากต่างประเทศ โดยรับผิดชอบในด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และการพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่ Netonomy และ Genesyslab (Alcatel-Lucent) ประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งที่ Orange ประเทศโรมาเนีย
6. ทิวา ยอร์ค, ประธานกรรมการบริหาร, เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ kaidee.com

ทิวา มีประสบการณ์ทำงานในแวดวงธุรกิจดิจิตอลเป็นเวลากว่า 19 ปี เขาเคยทำงานเป็น Platforms Director ของบริษัท  Omnicom Media Group มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างบริการดิจิตอลให้กับบรรดาบริษัทเอเจนซี่ในประเทศไทย ก่อนหน้านั้นระหว่างปี 2004 ถึง 2010 เขาทำงานในหลายตำแหน่งกับบริษัท  DMS Group of companies อาทิเช่น ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการให้กับ Admax Network ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจของ DMS Group และตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ New Media
ทิวาเริ่มการทำงานในตำแหน่งผู้จัดการผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัท Medicalogic/Medscape ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท GE Medical Systems และ WebMD ตามลำดั