กระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่เยี่ยม 2 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ภาคเหนือ
มุ่งหวังยกระดับการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร สู่เกษตรอุตสาหกรรมแปรรูปอย่างครบวงจร
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (สปอ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม 2 สถานประกอบการในภาคเหนือ ที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ได้แก่ โรงสีข้าวเกริก และโรงงานใบชาสยาม จ.เชียงราย เพื่อพัฒนาขี ดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งการลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยน้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิ จพอเพียงมาปรับใช้เป็น แนวทางการดำเนินโครงการเพื่อสนั บสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรู ปการเกษตรของประเทศ สร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้มี ความแข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้อย่างมั่ นคงและยั่งยืน พร้อมก้าวไปสู่อุตสาหกรรมแปรรู ปเกษตรอย่างครบวงจร
นายประสงค์ นรจิตร์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุ ตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการพัฒนาขี ดความสามารถในการแข่งขันของอุ ตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิ ภาค (One Province One Agro-Industrial Product) OPOAI เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2550 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาขี ดความสามารถในการแข่งขันให้กั บสถานประกอบการ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิ ภาพการผลิตให้กับสถานประกอบการ โดยให้ความรู้ คำปรึกษาแนะนำด้านบริหารจั ดการลดต้นทุนพลังงาน การพัฒนายกระดับประสิทธิ ภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ให้ได้รั บมาตรฐานสากล รวมถึงกำหนดให้มีกลยุทธ์ขับเคลื ่อนการตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภั ณฑ์ ซึ่งการทำงานเป็นการบูรณาการร่ วมกันในลักษณะไตรภาคีของหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุ ตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิ ภาคให้สถานประกอบการสามารถแข่ งขัน ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการ จะมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ ยวชาญเฉพาะด้าน เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ปรึกษาแนะนำสถานประกอบการที่เข้ าร่วมโครงการ โดยทีมงานที่ปรึกษาจะเข้าไปศึ กษาข้อมูลของสถานประกอบการจาก คณะผู้บริหารของสถานประกอบการนั ้น ๆ โดยเฉพาะเพื่อดูว่าสมควรเข้าพั ฒนาในแผนงานไหนมากที่สุด และเมื่อได้ข้อสรุป ทางทีมที่ปรึกษาจะมีแผนการดำเนิ นงานให้ปฏิบัติจริง และติดตามผลพร้อมทั้งให้คำปรึ กษาเป็นระยะ ๆ ซึ่งประโยชน์ที่ สถานประกอบการได้รับโดยตรงที่ เห็นชัดมากที่สุดคือ ได้รับรู้ถึงข้อบกพร่ องของสถานประกอบการเองว่ามีข้ อบกพร่องอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิต การบริหารงาน และอื่น ๆ ซึ่งบางครั้ งสถานประกอบการเองอาจจะมองไม่ เห็นข้อบกพร่องนั้น ๆ และที่สำคัญการให้คำปรึ กษาแนะนำทั้งหมดไม่เสียค่าใช้จ่ ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ยอมรับว่าในปีแรกของโครงการ OPOAI เรื่องการเชิญชวนผู้ ประกอบการให้เข้าร่วมโครงการค่ อนข้างยาก เพราะผู้ประกอบการยังไม่มั่ นใจว่าโครงการจะสามารถเข้าไปช่ วยเหลือพวกเขาได้จริง หรืออาจเข้าไปรบกวนกระบวนการผลิ ต แต่ความเป็นจริงแล้วโครงการ OPOAI เน้นเข้าไปแก้ไขปัญหาเพื่อพั ฒนายกระดับสถานประกอบการผ่าน 6 แผนงานการพัฒนา ได้แก่ 1. การบริหารจัดการโลจิสติกส์ 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน 4. การลดต้นทุนพลังงาน 5. การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ ระบบมาตรฐานสากล และ 6. กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด
โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ แล้วกว่า 1,041 ราย และเพื่อเป็นการติดตาม ให้กำลังใจจึงได้มีการลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่เข้ าร่วมโครงการ OPOAI ภาคเหนือ โดยได้เข้าเยี่ยมชมโรงสีข้ าวเกริก ตั้งอยู่ที่ ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย เข้าร่วมโครงการในปี 2558 และเข้าเยี่ยมชม โรงงานใบชาสยาม ตั้งอยู่ที่ ต.เวียงกาเหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เข้าร่วมโครงการในปี 2557
นายประสงค์กล่าวทิ้งท้ายว่า จากการลงพื้นที่เข้าเยี่ ยมสถานประกอบการทั้ง 2 แห่งได้มองเห็นถึงผลสำเร็จของ ทั้ง 2 กิจการที่สามารถลดต้นทุนการผลิ ตได้มาก ซึ่งส่งผลดีต่ อสถานประกอบการโดยตรงในการดำเนิ นธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ ในตลาด มีการเติบโตที่มั่งคง และยั่งยืน เนื่องจากสามารถสร้างให้เกิ ดการจ้างแรงงานในท้องถิ่น และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ให้มีงานทำ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และไม่ละทิ้งบ้านเกิ ดไปทำงานในเมือง โดยมองเห็นคุณค่าของการดำเนินธุ รกิจในพื้นที่ และชุมชนรอบข้างที่มีความเอื้ ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาทิ โรงงานใบชาสยามมีการรับซื้อใบชา ในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งที่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และเกษตรกรที่นำใบชามาขายให้ โดยตรงกับทางโรงงาน
ขณะที่โรงสีข้าวเกริกก็มี ผลการดำเนินงานที่เข้มแข็ง สามารถสร้างความมั่นคงให้คนในพื้นที่ด้วยการวางแผนการเพาะปลูก มีการตกลงราคารับซื้อล่วงหน้ าทำให้เกษตรกรรู้รายได้ของตนเอง และสามารถวางแผนการใช้จ่ ายในอนาคตได้ ส่งผลให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุ นเวียนใช้จ่ายในครอบครัวได้อย่ างดี ซึ่งถ้ามีสถานประกอบการที่ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่ างนี้หลาย ๆ แห่งในพื้นที่เชื่อว่ าจะสามารถช่วยกันฝ่าวิกฤตสินค้ าเกษตรตกต่ำได้อย่างแน่นอน
ด้านนายสุทิน กองทอง กรรมการผู้จัดการโรงสีข้าวเกริก สถานประกอบการที่เข้าร่ วมโครงการ OPOAI ในปี 2588 กล่าวว่า โรงสีข้าวเกริกดำเนินกิ จการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้ าวสารโดยการสี โดยการดำเนินธุรกิจใช้วิธี ทำนาแบบ ครบวงจร (Contract Farming) กับทางโรงสีก่อน และจะไม่มีการรับซื้อข้าวที่ปลู กจากเกษตรกรที่ไม่ได้ทำ Contract Farming โดยเด็ดขาดเพื่อป้องกันปัญหาด้ านคุณภาพของข้าวไม่ตรงกับความต้ องการของลูกค้า โดยการจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ ปุ่น ปุ๋ย-ยาปราบศัตรูพืช และมีนักวิชาการเป็นพี่เลี้ ยงคอยให้ความรู้แก่เกษตรกร รวมทั้งประกันราคารับซื้อผลผลิ ตคืนทั้งหมด
โรงสีข้าวเกริกเข้าร่วมโครงการ OPOAI จำนวน 1 แผนงาน คือ แผนงานที่ 4 การลดต้นทุนพลังงาน โดยมีเป้าหมายต้องการผลิตสินค้ าที่ดีมีคุณภาพให้แก่ลูกค้า เนื่องจากแรงงานเป็นปัญหาใหญ่ เพราะคนที่ทำนาในปัจจุบันอายุ 40 ปีขึ้นไป จึงต้องหาวิธีการลดต้นทุน และจากการที่ปรึกษาได้เข้ าสำรวจสภาพปัจจุบันพบว่า มีการใช้พลังงานมาก และยังไม่มีมาตรการในการลดต้นทุ น ทีมที่ปรึกษาจึ งเสนอมาตรการประหยัดพลังงาน 3 มาตรการ คือ มาตรการจัดเวลาในการใช้งานเครื่ องจักรเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้ านไฟฟ้า มาตรการที่สอง คือ มาตรการปรับปริมาณอากาศที่ใช้ ในการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้มี ความเหมาะสมของเตาเผาเชื้อเพลิ งที่ใช้ในการอบแห้งข้าว และมาตรการที่สาม คือ มาตรการเปลี่ยนขนาดเครื่องจั กรต้นกำลังให้มีความเหมาะสมกั บภาระงาน และในการดำเนินมาตรการประหยั ดพลังงานทั้ งสามมาตรการสามารถลดค่าใช้จ่ ายด้านพลังงานของโรงสีเฉพาะในส่ วนของค่าไฟฟ้า ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,115,156.00 บาทต่อปี หากคิดเป็นร้อยละของการลดค่าใช้ จ่ายด้านพลังงานจากการดำเนิ นมาตรการการประหยัดพลังงานจะเท่ ากับ 19.96 ของค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้ งหมด
ทั้งนี้จุดแข็งของโรงสีเกริก คือ ปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่ปลู กประมาณ 4 พันไร่ เกษตรกร 500-600 ราย มีกำลังการผลิตรวม 1,500-2,000 ตันข้าวสารต่อปี ซึ่งเกษตรกรที่มีความรู้ดีแล้ว จะมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 800–1,200 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อเที ยบกับข้าวหอมมะลิที่มีผลผลิ ตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 600-700 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 40-42 บาท/กิโลกรัม
ด้านนายดิฐพงศ์ เรืองฤทธิเดช กรรมการผู้จัดการโรงงานใบชาสยาม สถานประกอบการที่เข้าร่ วมโครงการ OPOAI ในปี 2557 กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้ดำเนินกิ จการประเภทผลิตและจำหน่ายสินค้ าชาตรามือ เข้าร่วมโครงการ OPOAI ใน 2 แผนงาน คือ แผนงานที่ 1 การบริหารจัดการโลจิสติกส์ และแผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน โดยมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนิ นการผลิตชาที่ดีและมีคุณภาพ
โดยแผนงานที่ 1 การบริหารจัดการโลจิสติกส์ มีการพัฒนาใน 2 ส่วนประกอบด้วย 1. การปรับปรุงระบบการจัดการสินค้ าคงคลังบรรจุภัณฑ์ให้มีการจั ดวางสินค้าที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเบิกจ่ายสินค้าได้เพิ่ มมากขึ้น จากเดิม 1 นาที สามารถเบิกได้ 50 กล่อง เพิ่มขึ้นเป็น 104 กล่อง คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 52 และ 2. พื้นที่คลังวัตถุดิบ ทางคลังสามารถเพิ่มพื้นที่การจั ดเก็บวัตถุได้เป็น 2,512,000 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้น 300% และสามารถลดต้นทุนการขนถ่ ายลำเลียงสินค้า ในคลังวัตถุดิบลดลง 45% ของการทำงานทั้งหมด โดยคิดเป็นเวลาที่สามารถลดได้ จากการลำเลียง 702 ชั่วโมงคิดเป็นมูลค่าประมาณ 26,325 บาท/ ปี
แผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน ซึ่งแผนงานนี้มีการปรับปรุงเรื่ องความสูญเสียจากการไม่มี มาตรฐานการตรวจทางด้านเคมี ของผลิตภัณฑ์ชา และความสูญเสียจากการไม่มี มาตรฐานการตรวจทางด้านประสาทสั มผัส ของผลิตภัณฑ์ชา และภายหลังจากที่ดำเนินงานพบว่า จำนวนข้อมูลข้อร้องเรียนของลู กค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไม่เป็ นไปตามข้อกำหนดด้านเคมีและด้ านประสาทสัมผัสของสินค้าเฉลี่ ยคิดเป็นสองครั้งต่อเดือน หรือมูลค่าการเสี ยโอกาสในการขายสินค้า คิดเป็นมูลค่าสองแสนกว่าบาทต่ อปีลดลงเป็นศูนย์ และมีการสั่ง Oder ของร้านกาแฟอเมซอน (Amazon Café PTT) ต่อเนื่อง มียอดสั่งซื้อเข้ามาตั้งแต่เดื อน ส.ค. เป็นต้นไปประมาณ 88.5 ตันต่อเดือน