ADS


Breaking News

การประกาศผลรางวัลสุดยอดนักสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก คว้าเงินรางวัลกว่าหนึ่งแสนบาท

การจัดงานประกวดการสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก ของงานวิจัยแปลงร่าง ตอน กินเป็น เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยให้เกิดการใช้ประโยชน์สู่สาธารณะของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้มาถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ การประกาศผลรางวัลที่ตัดสินผลงานของผู้เข้าประกวดกว่า 1,100 ชิ้น พร้อมคว้าเงินรางวัลกว่า 100,000 บาท
ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กล่าวถึงการตัดสินผลงานที่เข้าประกวดครั้งนี้ว่า “โครงการประกวดสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิกของงานวิจัยแปลงร่าง ตอนกินเป็น  ถือเป็นความภาคภูมิใจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยที่มีส่วนในการเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์สู่สาธารณะ โดยการบริโภคอย่างถูกต้องมีความสำคัญ เพราะการที่ประชาชนในชาติมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศที่สำคัญประการหนึ่ง
สกว.ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมความเจริญทางด้านสุขภาวะของประชาชนที่จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ ที่ผ่านมาสกว.ได้มีการสนับสนุนทุนวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวกับอาหารและการบริโภคมาอย่างต่อเนื่อง เช่น งานวิจัยความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาระบบการผลิตอาหาร งานวิจัยเกี่ยวกับสารอาหาร การพัฒนาอาหารที่นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารที่เหมาะสมกับการบริโภค และนำมาสู่โครงการวิจัย แปลงร่าง ตอนกินเป็น


จากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้งานวิจัยสามารถ “แปลงร่าง” เปลี่ยนรูปแบบจากหนังสือเล่มมาเป็นสื่อสร้างสรรค์ในรูปแบบอินโฟกราฟิกที่สวยงาม และน่าสนใจผ่านโครงการประกวดในครั้งนี้ โดยโครงการนี้เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยทั้งในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา หรือ เทียบเท่าที่สนใจ ได้ส่งผลงานประกวด โดยนำผลงานวิจัยด้านอาหารและการบริโภคของ สกว. มาแปลงร่างออกแบบให้ในรูปแบบการสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก 1 ชิ้นงาน
ในวันนี้เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่มีเยาวชนที่สนใจได้นำงานวิจัยด้านอาหารและการบริโภคของ สกว. มาแปลงร่างผ่านความคิดสร้างสรรค์ และส่งผลงานสื่อสร้างสรรค์อินโฟกราฟิกเข้าประกวดในโครงการมากกว่า 1,100 ชิ้น และมีคณะกรรมการตัดสินที่ทรงคุณวุฒิในหลายๆ ด้าน ได้แก่ คุณจิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์ ผู้ก่อตั้งนิตยสาร cheeze และบรรณาธิการบริหารหนังสือ looker, คุณธวัชชัย แสงธรรมชัย ทีมงานจาก “รู้ สู้ Flood” และผู้ก่อตั้ง WHY NOT SOCIAL ENTERPRISE, คุณโอชวิน จิรโสตติกุล ผู้ก่อตั้ง Infographic Thailand, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมยศ ธรรมรักษ์ นักวิชาการด้านการสื่อสาร และคุณสุชาดา สถาปิตานนท์ Executive Director, Le Cordon Bleu Dusit Culinary School”


    ภายในงานยังมีการเสวนาพูดคุยหัวข้อ “งานวิจัยอาหารกับการนำมาสู่งานออกแบบอินโฟกราฟิก” ร่วมด้วย รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ  รองผู้อำนวยการสกว. ด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และงานสื่อสารสังคม, ณิชา ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวาณิชย์ นักแสดงไทยทีวีสีช่อง 3, คุณปู จิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์ และคุณโอชวิน จิรโสตติกุล พร้อมด้วยนิทรรศการผลงานที่ผ่านการคัดเลือก และการตอบคำถามเล่นเกมส์กับพิธีกรอารมณ์ดี แบงค์ อภิภู สหรัตน์ชัย และยังมีการแสดงปอม ปอมเชียร์อีกด้วย

    ท่านสามารถติดตามผลการประกวดการสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิกของงานวิจัยแปลงร่าง ตอน กินเป็น ได้ที่ http://transform.trf.or.th หรือเพจ แปลงร่าง https://www.facebook.com/trftransform


รายชื่อผู้ได้รับรางวัล
“โครงการประกวดสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิกเผยแพร่งานวิจัยของ สกว.
เพื่อการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านสาธารณะ” วิจัยแปลงร่าง ตอน “กินเป็น”
โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

* รางวัล popular vote
ผลงานมียอด Like มากที่สุดถึง 3,212 Like (โดยการโหวตรางวัลนี้ เริ่มโหวตตั้งแต่ 21 ธันวาคม 58 ถึงวันที่ 15 มกราคม 59 เวลาเที่ยงคืน) ได้แก่
นางสาวแคทรียา นานอก  สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โครงการวิจัย ศักยภาพของฝรั่ง มะละกอ ส้มโอ และสับปะรดในการยับยั้งการย่อยไขมัน
นักวิจัย : ผศ.ดร.นันทีทิพ ลิ้มเพียรชอบ และ ผศ.ดร.อนันต์ อุ่นอรุณ คณะเภสัชศาสตร์
* รางวัล ชมเชย 6 รางวัล ได้แก่
1. นางสาวมิลลิกา สังข์ผุด สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
โครงการวิจัย : การเพิ่มมูลค่าเนื้อลำไยสดและเนื้อลำไยอบแห้ง เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ
นักวิจัย :  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นิธิยา รัตนาปนนท์  และคณะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. นางสาวสุนิสา ขุนทอง สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
โครงการวิจัย การสำรวจศักยภาพของ มะม่วง ในการปกป้องและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
นักวิจัย : จินตนาภรณ์ วัฒนธร และคณะ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. นายพรชนะ ปานนวน สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
โครงการวิจัย การสำรวจศักยภาพของ มะม่วง ในการปกป้องและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
นักวิจัย : จินตนาภรณ์ วัฒนธร และคณะ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. นางสาวเกสรา พนมศักดิ์ สาขาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โครงการวิจัย การศึกษาผลของสับปะรด แตงโม และฝรั่ง ต่อการเปลี่ยนแปลงความดันเลือดและการทำงานของเกล็ดเลือดในอาสาสมัครปกติ
นักวิจัย :  นางสุภีนันท์ อัญเชิญ และ นายณัฐวุธ สิบหมู่ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
5. นางสาวดวงฤทัย กุลสุยะ สาขา โฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและ
การเข้าถึงอาหารปลอดภัยในชุมชน
นักวิจัย :   นายจตุรงค์ พวงมณี และคณะ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร
6. นายจิรายุทธ จันแดง สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
โครงการวิจัย การศึกษาคุณค่าทางอาหารของแมลงที่กินได้ทางภาคใต้ตอนบน
นักวิจัย : จิตเกษม หลำสะอาด ภาควิชาเกษตรศาสตร์ สถาบันราชภัฎสุราษฏร์ธานี
* รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
นางสาวสุธินี เศรษฐ์สวรรค์ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
โครงการวิจัย การพัฒนาระบบการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลาเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในระดับครัวเรือน
นักวิจัย: รศ.ดร. กมล เลิศรัตน์ และคณะ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
* รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
นางสาวสิรินทร์ อุ่นมณี สาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
โครงการวิจัย ค่าดัชนีน้ำตาล (ไกลซีมิก) ของผลไม้ไทย
นักวิจัย :  รศ.ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล และคณะ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
* รางวัลชนะเลิศ การประกวด “ประกวดการสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิกของงานวิจัยแปลงร่าง ตอนกินเป็น” ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
นางสาวกมลกาญจน์ รัตนอุดมสวัสดิ์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โครงการวิจัย การศึกษาคุณค่าทางอาหารของแมลงที่กินได้ทางภาคใต้ตอนบน
นักวิจัย : จิตเกษม หลำสะอาด ภาควิชาเกษตรศาสตร์ สถาบันราชภัฏสุราษฏร์ธานี