ก.ล.ต. เปิดแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ยกระดับความแข็งแกร่งระบบนิเวศตลาดทุนทุกด้านสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ก.ล.ต.
เปิดแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (2559-2561) พัฒนารากฐานและความสมดุลระบบนิ เวศตลาดทุนรอบด้าน เน้นสร้างความน่าเชื่อถือ เพิ่มประสิทธิภาพและศั กยภาพในการแข่งขันของตลาดและตั วกลาง กฎเกณฑ์ปฏิบัติได้จริงผ่ านการทำความเข้าใจและให้ความรู้ กับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
พร้อมผสมผสานกลไกอื่นนอกเหนื อจากการใช้กฎเกณฑ์ มุ่งให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ ประโยชน์จากตลาดทุนได้ และตลาดทุนไทยเติบโตอย่างยั่งยื น
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า
“แผนยุทธศาสตร์
ก.ล.ต.
3 ปี เป็นผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ และปรับโฟกัสลงไปที่ต้นเหตุ ของเรื่องและกลุ่มเป้าหมายเพื่ อให้สามารถพัฒนาและแก้ไขปั ญหาได้อย่างตรงจุด โดยเชื่อมโยงผู้ที่เกี่ยวข้ องในแต่ละเรื่องเข้าด้วยกันเพื่ อทำให้ระบบนิเวศตลาดทุนมี ความสมดุล
นอกจากนี้ ยังได้ผสมผสานกลไกอื่ นนอกจากการบังคับใช้ด้วยกฎเกณฑ์ เพียงอย่างเดียว โดยสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้ องและกลุ่มเป้าหมายมีความเข้ าใจอย่างแท้จริง ผ่านการทำความเข้าใจและให้ ความรู้ ซึ่งการออกกฎเกณฑ์จะเป็นจุดเริ่ มต้นที่ทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ ยวข้องในแต่ละเรื่องได้มี เวลาปรับตัวไปสู่เป้าหมายต่อไป
เพื่อมุ่งให้ตลาดทุนไทย มีความน่าเชื่อถือ ระบบนิเวศในตลาดทุนมีความสมดุ ลทุกด้าน มีประสิทธิภาพและศั กยภาพในการแข่งขัน ด้วยกฎเกณฑ์ที่พัฒนาจากมุมมองที ่รอบด้านและปฏิบัติได้จริง รองรับความหลากหลายของสินค้ าและบริการตามมาตรฐานสากล และประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ ประโยชน์จากตลาดทุนทั้งการเข้ าถึงทุนและการลงทุน
โดยแผนการดำเนินงานครอบคลุม 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การระดมทุน ตลาดและตัวกลาง สินค้า/ตราสารทางการเงิน และการพัฒนาศักยภาพของ ก.ล.ต.
ไปพร้อมกัน
ในด้านการระดมทุน จะมีงานสำคัญ อาทิ ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนสร้ างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่ งยืน โดยการออกแนวปฏิบัติให้บริษั ทจดทะเบียนหลอมรวมการกำกับดู แลกิจการที่ดี
และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่ งแวดล้อมเข้าไปในการประกอบธุรกิ จ โดยสื่อสารกับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษั ทจดทะเบียนเพื่อให้เห็นประโยชน์ และเกิดการปฏิบัติจริง รวมถึงการใช้กลไกด้านผู้ลงทุ นสถาบันเป็นแรงผลักดันอีกทางหนึ่ง การยกระดับการกำกับดูแลที่ปรึ กษาทางการเงินให้เทียบเท่าธุรกิ จหลักทรัพย์ทั่วไป
การเน้นบทบาทผู้บริหารที่รับผิ ดชอบทางด้านการเงิน/บัญชี นอกจากนี้จะพัฒนารูปแบบการเปิ ดเผยข้อมูลของบริษัทให้น่าสนใจ กระชับ เข้าใจง่าย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ ลงทุน ปรับปรุงกฎเกณฑ์การทำรายการที่ สำคัญและรายการที่เกี่ยวโยงกั นให้ทัดเทียมตลาดในภูมิภาค
และสนับสนุนการใช้สิทธิของผู้ถื อหุ้นและทำให้การเปิดเผยข้อมู ลเข้าใจและเข้าถึงง่าย
สำหรับด้านตลาดและตัวกลาง ก.ล.ต.
จะยกระดับกฎเกณฑ์การกำกับดู แลให้ได้มาตรฐานสากลและร่วมกั บตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เสริมสร้างความสัมพันธ์ในภูมิ ภาคลุ่มน้ำโขงอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งส่งเสริมตราสารประเภทที่ เป็น
win-win ทั้งตลาดทุนไทยและเพื่อนบ้าน อาทิ การออกกองทุนที่ลงทุนในหลักทรั พย์ที่จดทะเบียนในตลาดทุ นของประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งจะปรับปรุงโครงสร้ างใบอนุญาตและหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันที่สร้ างสรรค์ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจตั วกลางดำเนินธุรกิจในรูปแบบที่ หลากหลาย
รองรับผู้มีส่วนร่วมรายใหม่ และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่ วยตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุ นในวงกว้าง
นอกจากนี้ จะเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้ กฎหมายโดยปรับปรุงระยะเวลาการจั ดการเรื่องที่ต้องตรวจสอบดำเนิ นคดีและเรื่องร้องเรี ยนจากประชาชน (case
management) และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ ยวข้อง อาทิ ตลท. ให้เกิดการดำเนินการกับผู้ กระทำผิดอย่างจริงจัง รวมทั้งผลักดันและดำเนินการให้ มาตรการทางแพ่ง
(civil sanction) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการบั งคับใช้กฎหมายในตลาดทุน
เรื่องการพัฒนาสินค้า/ ตราสารทางการเงิน จะปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ทางการเงิ นและธุรกรรมใหม่ๆ ในตลาดทุน เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลคุ ณภาพกระบวนการผลิต
การเปิดเผยข้อมูล และการขายตราสารการลงทุนเพื่ อไม่ให้เกิดการเอาเปรี ยบจากความไม่รู้ของผู้ลงทุน และส่งเสริมการเข้าถึงตลาดทุน ผ่านการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่ องมือขยายช่องทางเข้าถึงทุ นของผู้ ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งธุรกิจเกิดใหม่ และการเข้าถึงการลงทุ นของประชาชน
รวมทั้งผลักดันให้เกิดการออมผ่ านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มุ่ งเป้าหมายระยะยาวเพื่อรองรับวั ยเกษียณ”
“เรื่องสุดท้ายที่นับเป็นอีสรุปผลการดำเนินงานของ ก.ล.ต. ปี 2558
ปี 2558 เป็นปีแห่งการริเริ่มและวางรากฐานสำหรับการวางแผนยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต. ใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อการพัฒนาระบบนิเวศตลาดทุน โดย ก.ล.ต. เน้นการทำงานร่วมกันกับทุกฝ่ายด้วยความเข้าใจสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย มุ่งให้ตลาดทุนเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นประโยชน์แก่ เศรษฐกิจชาติและประชาชน
การดำเนินการในปีที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับการทำให้ตลาดทุนเปิดกว้างเพื่อตอบสนองความต้องการระดมทุนและลงทุนที่หลากหลาย แข่งขันได้ในระดับสากล โดยมีความไว้วางใจและเชื่อมั่นในตลาดทุนจากผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นรากฐาน โดยมีงานด้านการพัฒนาและกำกับดูแลตลาดทุนที่สำคัญมากมาย อาทิ
1. ด้านการพัฒนา
1.1 เปิดช่องทางให้กิจการขนาดเล็กและกิจการที่เพิ่งเริ่มต้น (startup) ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่มีศักยภาพสูง และหลายส่วนเป็นกิจการเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ มีโอกาสเข้าถึงทุนในรูปแบบและต้นทุนที่เหมาะสม โดยพัฒนาหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเสนอขายหุ้นผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (equity crowdfunding)
1.2 สร้างสินค้าและบริการที่หลากหลาย ทำให้ตลาดทุนไทยน่าสนใจในสายตาผู้ลงทุนทั่วโลก เช่น
1.2.1 ผ่อนคลายเกณฑ์กองทุนรวมในประเทศให้ผลิตสินค้าได้เทียบเท่ากับสากล แข่งขันได้ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุน อาทิ แก้ไขเกณฑ์ให้กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) สามารถลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่ลงทุนได้/ที่ไม่ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (non-investment grade/unrated) โดยไม่จำกัดอัตราส่วน แต่ต้องกระจายการลงทุนมากขึ้น และเปิดให้กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่ใช่รายย่อย (AI fund) สามารถลงทุนในสินค้าได้เพิ่มเติม
1.2.2 เปิดช่องทางและผลักดันให้มีสินค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เช่น (1) พัฒนาเกณฑ์เพื่อรองรับตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ (depositary receipt: DR) ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิง (underlying) มาจาก GMS ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดหลักทรัพย์ของ GMS (2) ปรับปรุงเกณฑ์เพื่ออนุญาตให้ retail fund สามารถลงทุนในกลุ่มประเทศ GMS ได้โดยไม่จำกัดอัตราส่วน ทำให้ปัจจุบันมีเกณฑ์พร้อมรองรับสินค้าจากต่างประเทศและ GMS ได้ทุกประเภท และมีการเปิดเผยความเสี่ยงในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ filing) เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงสำคัญที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน (3) สร้างช่องทางเสนอขายสินค้าของไทยและ GMS ต่อผู้ลงทุนในตลาดสำคัญ ผ่านการลงนามใน Statement of Understanding (SOU) ร่วมกับ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เพื่อขายหน่วยลงทุนข้ามกันภายใต้ Asia Region Funds Passport (ARFP) และผลักดันในเรื่องภาษีเพื่อให้สามารถขายหน่วยลงทุนในยุโรปได้ภายใต้ Alternative Investment Fund Managers Directive (AIFMD) รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ (4) ออกเกณฑ์รองรับกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค (5) สนับสนุนการระดมทุนของกิจการต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกลุ่ม GMS ได้แก่ การพัฒนาเกณฑ์รองรับบริษัทต่างประเทศที่มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นแห่งแรก (primary listing) และเกณฑ์รองรับบริษัทต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อื่นอยู่แล้ว และมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มเติม (secondary listing)
1.3 ปรับปรุงประกาศเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สอดคล้องกับแนวทางสากลและพัฒนาการของตลาด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจกองทุนรวมที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อาทิ เกณฑ์กำหนดประเภททรัพย์สินที่กองทุนลงทุนได้ เกณฑ์การลงทุน PVD และการให้กองทุนกระจายการลงทุนมากขึ้น
1.4 วางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่บริษัทจดทะเบียนและตัวกลางด้วยการจัดทำดัชนีชี้วัดและเปิดเผยผลการประเมินระดับการพัฒนาด้านการป้องกันการมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชัน (anti-
corruption progress indicator) ของบริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซึ่งผลการประเมินในปีนี้พบว่ามีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 13 แห่ง ได้รับผลประเมินในระดับ 5 คือ สามารถขยายผลการต่อต้านคอร์รัปชันกว้างไกลไปถึงห่วงโซ่ธุรกิจ (supply chain)
2. ด้านการกำกับดูแล
2.1 ศึกษาจุดเปราะบางของโครงสร้างตลาดที่เอื้อต่อการกระทำผิด ตั้งแต่การรับหลักทรัพย์จนถึงการบังคับใช้กฎหมาย และเสนอแนวทางดำเนินการเพื่อป้องปรามการกระทำผิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งได้หารือกับผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ และนำเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. นำไปสู่การกำหนดแผนงานรอบรับในแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ต่อไป
2.2 ปรับปรุงเกณฑ์การออกหุ้นเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private placement หรือ PP) ของบริษัทจดทะเบียนเพื่อป้องกันกรณีที่มีการใช้การเพิ่มทุนแบบ PP ไปในทางที่จะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงความสมดุลของความคุ้มค่าในการปรับปรุงหลักเกณฑ์เทียบกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นของบริษัทจดทะเบียน และความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงเกณฑ์เพื่อรักษาความเป็นธรรมในตลาดทุน
2.3 ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการกับเรื่องร้องเรียนและกรณีการกระทำผิด (case management) โดยปรับปรุงแนวทางและขั้นตอนการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน
เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องได้ดีขึ้นและสร้างรากฐานเพื่อการเป็น องค์กรที่ยั่งยืน อาทิ
3.1 ปรับโครงสร้างองค์กรโดยจัดสายงานให้เห็นงานตั้งแต่ต้นจนจบ ครบวงจร เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น
3.2 กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของ ก.ล.ต. และดำเนินโครงการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนปลูกฝังวัฒนธรรมในการทำงานที่สอดรับกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมดังกล่าวแก่บุคลากรในทุกระดับ เพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยการ “เปิดใจ” รับฟังผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ด้วยความ “ร่วมมือ”และบุคลากรของ ก.ล.ต. มีความ “รู้จริง” โดยมีความ “ซื่อตรง” เป็นพื้นฐานสำคัญ อันจะนำไปสู่ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชนอย่างแท้จริง อาทิ กฎเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ บังคับใช้ได้จริง ไม่เป็นภาระอันเกินควร เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย
การตรวจสอบ / สอบทาน
1. ตรวจสอบกรณีการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ได้แก่ การสร้างราคาหลักทรัพย์การเผยแพร่ข่าวและการใช้ข้อมูลภายใน รวม 70 กรณี กรณีการทุจริต/กระทำผิดของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน/บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และการกระทำผิดเกี่ยวกับบัญชีหรือเอกสาร 14 กรณี กรณีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่ได้รับอนุญาต 15 กรณี อื่น ๆ 3 กรณี รวม 102 กรณี
2. ดำเนินการเข้าตรวจบริษัทหลักทรัพย์ทั้งสิ้น 21 บริษัท บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนและธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่อง 16 บริษัท
3. ตรวจระบบควบคุมคุณภาพของสำนักงานสอบบัญชี 16 สำนักงาน
4. ตรวจสอบงบการเงินบริษัทจดทะเบียน 129 บริษัท และสั่งแก้ไขงบการเงินบริษัทจดทะเบียนและแจ้งแก่สาธารณชน 5 บริษัท
5. สอบทานแบบ 56-1 ของบริษัทจดทะเบียน จำนวน 188 บริษัท
6. สอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มาซึ่งสินทรัพย์สำคัญ ที่ขออนุมัติที่ประชุมผู้ถือหุ้น 52 รายการ รวมมูลค่า 164,690 ล้านบาท และดำเนินการออกข่าวเตือนผู้ลงทุน 6 รายการ รวมมูลค่า 33,940 ล้านบาท
การบังคับใช้กฎหมาย
1. กล่าวโทษกรณีเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ 77 ราย ได้แก่ การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาต 8 ราย การกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ 6 ราย การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ 1 ราย การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (เช่น การไม่จัดทำหรือรายงานข้อมูลตามกำหนด) 38 ราย การทุจริตหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ 23 ราย อื่น ๆ 1 ราย กล่าวโทษกรณีเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 4 ราย
2. เปรียบเทียบกรณีเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ 89 ราย รวมจำนวนเงินค่าปรับ 91,441,038.06 บาท ได้แก่ การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 6 ราย รวม 2,454,600 บาท การประกอบธุรกิจจัดการลงทุน 8 ราย รวม 2,543,100 บาท การกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ 23 ราย รวม 72,448,538.06 บาท การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ 4 ราย รวม 2,258,800 บาท การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (เช่น การไม่จัดทำหรือรายงานข้อมูลตามกำหนด) 48 ราย รวม 11,736,000 บาท
3. การลงโทษทางบริหาร มีจำนวนผู้ถูกดำเนินการทั้งหมด 48 ราย โดยเป็นผู้แนะนำการลงทุน/นักวิเคราะห์การลงทุน 41 ราย ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์/บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ 4 ราย ที่ปรึกษาทางการเงิน 1 ราย และผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงิน 2 ราย และแบ่งตามการดำเนินการ/โทษที่ได้รับได้เป็น สั่งพัก 44 ราย และเพิกถอนใบอนุญาต 4 ราย