ADS


Breaking News

ก.วิทย์ฯ โดย สวทช. จัดงาน ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

มอบรางวัล “ผู้พิชิตยอดเขานวัตกรรม” ประกาศผลสำเร็จการพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทยเชิงรุก
สนองนโยบายรัฐบาลพร้อมชี้หวังเติบโตก้าวกระโดด ในปี 2559
     กรุงเทพฯ : 11 มกราคม 2559 - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Innovation and Technology Assistance Program: ITAP) จัดงาน “ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” เพื่อนำเสนอกลไกเชิงรุกในการสนับสนุนภาคเอกชน พร้อมมอบรางวัลให้กับบริษัทผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมี ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน  

บุคคลในภาพ (จากซ้าย)

1.ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ ผู้อำนวยการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP)

ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

2.ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
3.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


4.ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.)

5.ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี , สวทช. 

     มอบรางวัล “ผู้พิชิตยอดเขานวัตกรรม” ให้กับบริษัทผู้มีการดำเนินธุรกิจจากการไต่ระดับเทคโนโลยี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 5 บริษัท บริษัท แดรี่โฮม จำกัด : ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด : ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ บริษัท เอส.บี.พี. ทิมเบอร์กรุ๊ป จำกัด : นวัตกรรมงานไม้  บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : นวัตกรรมพัดลมไอน้ำ และ บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล(1994) จำกัด : ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรค ไร้ใยหิน  และจัดแสดงนิทรรศการด้านการไต่ระดับเทคโนโลยีและ จัดแสดงผลงานของบริษัทผู้รับรางวัล

     ITAP มุ่งมั่นและเปิดรับที่จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุน  ให้คำแนะนำ เป็นพี่เลี้ยง และพันธมิตรธุรกิจ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้กลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพของ SMEs ให้ยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไป
บุคคลในภาพ (จากซ้าย)

1.คุณเกษม อิสระพิทักษ์กุล  กรรมการผู้จัดการบริษัท 

   บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล(1994) จำกัด: ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรคไร้ใยหิน 

2.คุณนพชัย วีระมาน  กรรมการผู้จัดการบริษัท 

    บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : นวัตกรรมพัดลมไอน้ำ

3.ดร.สมชาย  ฉัตรรัตนา 

    รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

4.ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล 


    รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)

    และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี

5.ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี

6.ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

    ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.)

7.คุณยิวลี่ บุญธำรงกิจ  กรรมการผู้จัดการบริษัท 

    บริษัท เอส.บี.พี. ทิมเบอร์กรุ๊ป จำกัด : นวัตกรรมงานไม้

8.นายพฤฒิ  เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการบริษัท 

    บริษัท แดรี่โฮม จำกัด : ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค

9.นายสรพหล  นิติกาญจนา  กรรมการผู้จัดการบริษัท 

    บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด : ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์
    สวทช. จัดงาน ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกาศผลสำเร็จการพัฒนาศักยภาพ SMEs โดยมีพันธมิตรมาผนึกกำลัง แสดงความยินดีกว่า 60 หน่วยงาน

    จากประสบการณ์ที่สนับสนุนภาคเอกชนมานานกว่า 20 ปี จากการดำเนินงานที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ITAP ได้ดำเนินการวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาทางเทคนิคให้กับ SMEs จำนวน 7,000 ราย และเกิดจำนวนโครงการให้คำปรึกษาในเชิงลึกมากกว่า 5,000 โครงการ ครอบคลุมทุกประเภทของโครงการด้านการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงการผลิต  การสร้างมาตรฐานและการทดสอบ โครงการด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม คิดเป็นสัดส่วนความสำเร็จของโครงการถึงร้อยละ 80 และมีความเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากภาคการศึกษา สถาบันวิจัย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศกว่า 1,300 คน จากการประเมินผลระหว่างปี 2556 – 2558 สร้างผลกระทบจากการลงทุนและการจ้างงานที่เกิดจากการดำเนินโครงการถึง 6,000 ล้านบาท นับว่าเป็นการสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศและยังส่งผลถึงการยกระดับการแข่งขันของภาคธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอีกด้วย
     กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Innovation and Technology Assistance Program: ITAP) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำ พี่เลี้ยง และพันธมิตรธุรกิจ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้กลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และจัดงาน “ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” เพื่อนำเสนอกลไกเชิงรุกในการสนับสนุนภาคเอกชน พร้อมมอบรางวัลให้กับบริษัทผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงฯ มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและสังคม มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ ไอแทบ (ITAP) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่ภาคเอกชน พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนในงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจพร้อมกระตุ้นและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมยังมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ต้องการสร้างขีดความสามารถให้มีนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและคุณภาพที่ดี แต่ในทางปฏิบัติการสร้างสรรค์นวัตกรรมของ SMEs เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากเงินทุนน้อย บุคลากรจำกัด ไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการวิจัย หาก SMEs จะมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเป็นของตนเองไม่ใช่เรื่องง่าย พร้อมทั้งขาดประสบการณ์ในการบริหารโครงการวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ กระทรวงฯ เห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ITAP / สวทช. จึงเป็นหน่วยงานที่ตอบสนองความต้องการในการสนับสนุน SMEs เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้มแข็งด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพัฒนาธุรกิจให้เกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสใหม่ๆ อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตลอดจนการมุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก”

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ดำเนินงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งของ SMEs เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ และเผยแพร่มาตรการภาครัฐในการส่งเสริมให้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาธุรกิจ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของภาครัฐที่จะเชื่อมโยง SMEs ให้เข้าถึงองค์ความรู้และทรัพยากรที่จำเป็น สามารถนำไปใช้ในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ อันจะนำมาซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ SMEs เป็นแกนหลักของเศรษฐกิจ
     จากประสบการณ์ที่สนับสนุนภาคเอกชนมานานกว่า 20 ปี จากการดำเนินงานที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ITAP ได้ดำเนินการวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาทางเทคนิคให้กับ SMEs จำนวน 7,000 ราย และเกิดจำนวนโครงการให้คำปรึกษาในเชิงลึกมากกว่า 5,000 โครงการ ครอบคลุมทุกประเภทของโครงการด้านการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงการผลิต  การสร้างมาตรฐานและการทดสอบ โครงการด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม คิดเป็นสัดส่วนความสำเร็จของโครงการถึงร้อยละ 80 และมีความเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากภาคการศึกษา สถาบันวิจัย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศกว่า 1,300 คน จากการประเมินผลระหว่างปี 2556 – 2558 สร้างผลกระทบจากการลงทุนและการจ้างงานที่เกิดจากการดำเนินโครงการถึง 6,000 ล้านบาท นับว่าเป็นการสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศและยังส่งผลถึงการยกระดับการแข่งขันของภาคธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอีกด้วย”

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล  รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี กล่าวว่า “การเข้าร่วมโครงการกับ ITAP เปรียบเสมือนบริษัทได้มีหน่วยวิจัยและพัฒนาเฉพาะกิจ นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีช่วยบริหารโครงการวิจัย SMEs หาที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและหัวข้อที่ต้องการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวมถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุน ทำให้ผู้ประกอบการลดความเสี่ยงในการทำโครงการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม สามารถตัดสินใจลงทุนได้รวดเร็วขึ้น ซึ่ง ITAP ได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชนจนประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถวิเคราะห์จัดลำดับปัญหา และเสาะหาผู้เชี่ยวชาญได้อย่างถูกจุด โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยเฉพาะทาง การบริการของภาครัฐ และแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะบุคลากรและเทคโนโลยีของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยบริหารโครงการด้วยความเข้าใจทั้งภาษาธุรกิจและภาษาวิจัย พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนบางส่วนให้กับ SMEs ในการทำโครงการ ซึ่งสามารถให้การดูแลและบริการให้คำปรึกษาอย่างทั่วถึง โดยมีสาขาให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ และมีพันธมิตรในการเชื่อมโยงงานในมิติต่างๆ”

     ทั้งนี้ งาน “ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” มีกิจกรรมหลักในงานประกอบด้วย ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Business @ The Speed of Light, Why INNOVATION Must be Addressed” และการรายงานพิเศษกลไกการทำงาน “ITAP: The Right Solutions for Thai SMEs” โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี และการมอบรางวัล “ผู้พิชิตยอดเขานวัตกรรม” ให้กับบริษัทผู้มีการดำเนินธุรกิจจากการไต่ระดับเทคโนโลยี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีผู้ได้รับรางวัล คือ

  1. บริษัท แดรี่โฮม จำกัด : ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค (ที่ 2 จากซ้าย)
  2. บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด : ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์
    (ที่ 5 จากซ้าย)
  3. บริษัท เอส.บี.พี. ทิมเบอร์กรุ๊ป : นวัตกรรมงานไม้
    (ที่ 3 จากซ้าย)
  4. บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : นวัตกรรมพัดลมไอน้ำ
    (ที่ 4 จากซ้าย)
  5. และ บริษัท เอเซีย คอมแพ็ค จำกัด : ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรค ไร้ใยหิน
    (ที่ 1 จากซ้าย)

รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการด้านการไต่ระดับเทคโนโลยีและจัดแสดงผลงานของบริษัทผู้รับรางวัล
    การจัดงานครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของลูกค้าของ ITAP ที่ไม่ย่อท้อ ค่อยๆ พัฒนาจากวิสาหกิจ ธุรกิจเล็กๆ หรือเทคโนโลยีพื้นฐานสู่เทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้กิจการเติบโตขึ้นมีการส่งออก สามารถเข้าสู่โมเดิร์นเทรดได้ หรือเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ กิจการที่ได้รับรางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทใหญ่ แต่สามารถพัฒนาเป็นผู้นำและมีนวัตกรรมได้ ขอเพียงมีความมุ่งมั่น ITAP จะเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมเดินไปด้วยกันสู่ยอดเขานวัตกรรม ซึ่งเป็นการนำเสนอกิจการที่ทำโครงการกับ ITAP แล้วมีพัฒนาการและการเติบโตที่ชัดเจน โดย ITAP มุ่งมั่นและเปิดรับที่จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพของ SMEs ให้ยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไป

สอบถามรายละเอียดโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP)
นางสาวธรินทร์ญา ตามไท  ที่ปรึกษโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทรศัพท์ ๐ ๒๕๖๔ ๗๐๐๐ ต่อ ๑๓๐๐  มือถือ ๐๘๙ ๑๔๓ ๙๒๒๕  โทรสาร  ๐ ๒๕๖๔ ๗๐๘๒
email : tharinya.tamthai@nstda.or.th 


แดรี่โฮม พัฒนาไม่หยุดยั้ง ผู้นำผลิตภัณฑ์นมออแกนิค 
“แดรี่โฮม” เจ้าแรกของผลิตภัณฑ์นมวัวออแกนิคแห่งแรกของประเทศไทย
 ร่วม iTAP พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์ความแตกต่าง คืนคุณภาพสู่ผู้บริโภค

     บริษัท แดรี่โฮม จำกัด ผู้ริเริ่มการผลิตนมอินทรีย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ด้วยวิสัยทัศน์ของคุณพฤฒิ เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการบริษัท มีแนวคิดในการเลี้ยงโคนมที่ไม่ใช้สารเคมี เพื่อช่วยลดต้นทุน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดความเสี่ยงจากสารเคมีที่มีโอกาสตกค้างในผลิตภัณฑ์ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ถึงแม้ขณะนั้นจะยังไม่มีมาตรฐานนมอินทรีย์ของประเทศไทย แต่บริษัทฯก็มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนามาตรฐานนมอินทรีย์และผ่านการรับรองมาตรฐานนมอินทรีย์เป็นรายแรกของประเทศ เป็นผลจากการที่เกษตรกรต้องปรับไปสู่การเลี้ยงขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูแปลงหญ้า การเลี้ยงวัวไม่ใช้สารเคมีต่างๆ เป็นผลให้ผลผลิตและคุณภาพน้ำนมของแม่วัวเพิ่มสูงขึ้น นับเป็นการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับอุตสาหกรรมนมรายใหญ่และอุตสาหกรรมนมข้ามชาติจุดเริ่มต้น ของ Bedtime Milk มาจากความต้องการพัฒนานมที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ดี แต่ไม่มีหน่วยงานไหนที่สามารถตอบสนองงานวิจัยและพัฒนาได้ จนมาพบกับโครงการ iTAP เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่ช่วยจัดหาผู้เชี่ยวชาญที่ตรงกับความต้องการ ร่วมกันพัฒนานมที่มีสารเมลาโทนิน เพื่อหาแนวทางที่จะกระตุ้นให้วัวผลิตนมที่มีสารเมลาโทนินมากกว่านมทั่วไปแล้วนำมาวิเคราะห์ในห้องปฎิบัติการ จนได้นมที่มีคุณสมบัติตามต้องการ ซึ่งสามารถผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ในปี 2552 และถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นของบริษัท

     เมื่อบริษัทเริ่มเข้มแข็งด้วยการเป็นผู้นำนมและผลิตภัณฑ์จากนมออแกนิคแล้ว สิ่งหนึ่งที่บริษัทต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นคือการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) โดยขอรับการสนับสนุนจาก iTAP อย่างต่อเนื่องในโครงการด้านการนำพลังงานความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์และยังต่อยอดในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ เพื่อลดการใช้พลังงานอีกขั้นของการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมสีเขียวปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย
    อีกหนึ่งโครงการที่บริษัทให้ความสนใจที่จะแสดงความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเลี้ยงวัวและการบริโภคผลิตภัณฑ์จากวัว มีการปลดปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นตัวการของปัญหาโลกร้อนมากที่สุด ยิ่งทำให้เกิดแรงกระตุ้นให้ไฟฟ้าภายในโรงงาน นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการน้ำเสียในโรงงานให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ปล่อยทิ้งที่จะทำให้เกิดบริษัทต้องการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ถ้าผลิตนมแบบอินทรีย์แล้วผลที่ได้จะเป็นเช่นไร จึงนำไปสู่การขอรับการสนับสนุนจาก iTAP ในโครงการ “พิชิตฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นต์ผลิตภัณฑ์นมสดพาสเจอร์ไรส์และโยเกิร์ตแดรี่โฮม” เพื่อหาค่าการปลดปล่อยคาร์บอนจากผลิตภัณฑ์ของบริษัททั้งหมด 39 ผลิตภัณฑ์ จากผลการประเมิน พบว่า นมวัวอินทรีย์แดรี่โฮม มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นต์ต่ำกว่านมวัวธรรมดาถึง 13% โดยปริมาตร และบริษัทยังมีความมุ่งมั่นที่จะตั้งเป้าหมายที่จะลดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นต์ลง จากการปรับปรุงตลอดห่วงโซ่การผลิตที่จะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอกย้ำการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน


บริษัท เอส พีเอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด : ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์

     กลุ่มบริษัท เอส พี เอ็ม เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหารสัตว์และปศุสัตว์ครบวงจร โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้ในการผลิตเพื่อสร้างความแตกต่างอย่างยั่งยืน จนธุรกิจหลักของบริษัทเติบโตจนกลายเป็นผู้ผลิตเนื้อสัตว์และอาหารสัตว์ขนาด ใหญ่รายหนึ่งของประเทศไทย

     ปัจจุบัน สินค้าของบริษัท สามารถแบ่งออกได้เป็น สี่กลุ่มหลักๆ คือ อาหารสัตว์เศรษฐกิจเช่น สุกร , สุกรขุนมีชีวิตและสายพันธุ์สุกร , เนื้อสัตว์อนามัย และ ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ โดยกระบวนการผลิตของบริษัททั้งหมดจะถูกควบคุมตามหลักการของระบบมาตร ฐานสากล อาทิเช่น GMP/HACCP และ ISO9001 ประกอบกับการคัดเลือกวัตถุดิบที่เข้มงวด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าของบริษัทมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการและปราศจากสิ่งเจือปนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม

     จุดเริ่มต้นจากการขอรับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สวทช. ด้วยจาการที่บริษัทฯ มีแนวคิดการนำวัตถุดิบชีวภาพมาใช้ ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ชีวภาพเหล่านั้นจะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศและมีราคาสูง ซึ่งในประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ทั้งในด้านของวัตถุดิบ งานวิจัย และนักวิจัยที่มีความสามารถ จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการวิจัยด้านการนำเชื่อจุลินทรีย์จากในระดับห้องปฏิบัติการ นำมาพัฒนาจนสามารถผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ประเภทต่างๆ

     เมื่อโครงการประสบผลสำเร็จ บริษัทฯจึง จัดตั้งโรงงานผลิตเชื้อจุลินทรีย์แห่งแรกในประเทศขึ้น เพื่อเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีราคาถูกและมีคุณภาพดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยีการผลิตของประเทศที่มีการนำงานวิจัยของไทยที่มีอยู่แล้ว มา Upscale การผลิตในระดับอุตสาหกรรม

    จากจุดเริ่มต้นจากการเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี ก้าวไปสู่บริษัทที่ใช้การวิจัยและพัฒนาอย่างเข้มข้น เพื่อการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมปศุสัตว์และอาหารสัตว์ ที่ส่งผลในวงกว้าง ทั้งในด้านของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่สามารถใช้อาหารสัตว์ที่ผสมเชื้อจุลินทรีย์โปรไบโอติกที่สามารถต้านทานโรค เพิ่มอัตราการดูดซึมอาหาร ลดความยุ่งยากในการดูแลและอัตราการตายที่ลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการเลี้ยงลดต่ำลง ผลผลิตที่ได้สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งผลถึงผู้บริโภค ที่ได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่มีสารตกค้างจากฮอร์โมนและยาปฏิชีวนะต่างๆ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความเข้มแข็งทั้งด้านธุรกิจและการเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน