ETDA (เอ็ตด้า) จับมือ AsianSIL กระตุ้นความสำคัญ คุ้มครอง “ความเป็นส่วนตัว”
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็ กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร จับมือสมาคมกฎหมายระหว่ างประเทศแห่งเอเชีย (AsianSIL) จัดเสวนาพิเศษในหัวข้อ “ความเป็นส่วนตัว” (Privacy) ระหว่างการประชุมนานาชาติ ของสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่ งเอเชีย
ครั้งที่ 5 (The 5th Biennial
Conference of the AsianSIL 2015) กระตุ้นการตระหนักรู้ถึ งความสำคัญของการคุ้ มครองความเป็นส่วนตัว
และหาแนวทางที่เหมาะสมให้การคุ้ มครองครอบคลุมและสอดคล้องกั บการรักษาความมั่นคงปลอดภั ยไซเบอร์
(Cybersecurity)
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ประธาน AsianSIL 2014-2015 กล่าวเปิดงานภายใต้หัวข้อ
“Privacy Challenges in Thailand” ว่า เมื่อมีการนำเทคโนโลยีและอุ ปกรณ์ดิจิทัลต่าง ๆ มาใช้เพิ่มขึ้น ทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสารในชี วิตประจำวัน
และเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิ จ ให้สอดคล้องกับการเกิดขึ้ นของนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิ จและสังคม
(Digital Economy) ของประเทศไทย คำถามเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิ ดขึ้นต่อ “ความเป็นส่วนตัว”
หรือ Privacy และแนวทางการคุ้มครองและป้องกั นความเป็นส่วนตัว
ก็ยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน
ประเทศไทยมีประชากร 65 ล้านคน จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ มากกว่า
85 ล้านเลขหมาย ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี
2557 มากกว่า 27 ล้านคน
และมูลค่าการทำอีคอมเมิร์ซสูงถึ งกว่า 2 พันล้านบาท
ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนที่ ดีถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิ จและสังคมที่ประเทศไทยกำลังข้ ามผ่าน
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ สิ่งที่คนไทยเริ่มตระหนั กและมองเห็นได้อย่างชัดเจนคื อเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว”
“ด้วยปริมาณของอุปกรณ์ดิจิทั ลและแอปพลิเคชันรูปแบบใหม่ที่ เพิ่มมากขึ้น
จำนวนข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ที่มีการเรียกร้องให้ป้อนเข้ าระบบก็ยิ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้ น
ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาเรื่องPr ivacy ได้ง่ายดาย ยิ่งกว่านั้นคือ
เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาดั งกล่าว ซอฟต์แวร์และบริการจำนวนมากได้ มีการสร้างขึ้นเพื่อปิดบังตัวตน
(Anonymity) ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิ กส์ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ได้ถู กอาชญากรไซเบอร์นำมาใช้เพื่ ออำพรางตัวเองด้วยเช่นเดียวกัน
ดังนั้น สิ่งที่เป็นความท้าทายอย่างที่ สุดในเวลานี้อย่างหนึ่งคือ
เราจะสร้างสมดุลของการรั กษาความเป็นส่วนตัว และการรักษาความมั่นคงปลอดภั ยไซเบอร์ ไปพร้อมกันได้อย่างไร”
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.
สุรเกียรติ์ กล่าว
สำหรับพั ฒนาการกฎหมายของประเทศไทยในการค ุ้มครองความเป็นส่วนตัวนั้น แม้ว่ายังไม่มีกฎหมายกลางที่ กำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปเพื่อดู แลในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่ วนบุคคลอย่างชัดเจน
แต่การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุ คคลของไทยสามารถทำได้ผ่ านการกำหนดของกฎหมายอีกหลายฉบั บที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องผลักดั นกฎหมายกลางในการคุ้มครองข้อมู ลส่วนบุคคลของประเทศ
เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการขั บเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทั ลอย่างสมบูรณ์
สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า การจัดการเสวนาพิเศษในหัวข้อ
“ความเป็นส่วนตัว” เกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้องค์ กรและประชาชนทุกภาคส่วน ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้ มครองความเป็นส่วนตัว
รวมทั้งเข้าใจถึงบริบทอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการป้องกั นและคุ้มครอง
ด้วยความก้าวหน้าของระบบอิ นเทอร์เน็ต การเติบโตของโซเชียลมีเดีย
การใช้งานไอทีในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดปริมาณของข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information)
ที่เป็นทั้งข้อมูลส่วนบุคคลหรื อข้อมูลทางธุรกิจเกิดขึ้นเป็ นจำนวนมหาศาล ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิ ดและนำไปใช้ในทางที่ผิด
โดยศูนย์ประสานการรักษาความมั่ นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย หรือ ThaiCERT
(ไทยเซิร์ต) รายงานว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาได้มีการรับมือกั บภัยคุกคามไซเบอร์
ทั้งหมด 2,534 รายงาน แบ่งออกเป็น
การโจมตีจากโปรแกรมไม่พึ งประสงค์ (Malicious Code) 900
รายงาน คิดเป็น 35.52% ตามด้วย การบุกรุกหรือเจาะระบบได้สำเร็จ (Intrusion) 663 รายงาน คิดเป็น 26.16% การฉ้อฉลฉ้อโกงหรือหลอกลวงเพื่ อผลประโยชน์ (Fraud) 638 รายงาน หรือ 25.18% และความพยายามบุกรุกเข้าระบบ (Intrusion
Attempt) 329 รายงาน หรือ 12.98%
“แม้คนไทยส่วนมากจะตระหนักถึ งความสำคัญของ Privacy แต่ก็พบว่า
ยังมีผู้ใช้เทคโนโลยีหรือผู้ใช้ งานอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนไม่ น้อยที่ขาดความระวังในการให้ข้ อมูลส่วนบุคคลบนออนไลน์
จากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ งานอินเทอร์เน็ตในปีนี้ พบว่า 45.8% ของผู้ตอบแบบสอบถามแสดงข้อมูลส่ วนบุคคลบนออนไลน์อย่างเปิดเผย ขณะที่ 36.4% ไม่ได้สร้างข้อกำหนดในการขออนุ ญาตในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว และ 70.7%
ที่ยอมรับว่าได้แชร์รูปและข้อมู ลส่วนตัวกับคนทั่วไป หรือ Public”
สุรางคณา กล่าว
ปัจจุบัน ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมู ลส่วนบุคคล ซึ่งอยู่ในร่างกฎหมาย
“ชุดเศรษฐกิจดิจิทัล” ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็ นชอบในหลักการไปแล้ว ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและแก้ ไขโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
และกำลังอยู่ในขั้นตอนเพื่อเตรี ยมส่งเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อการพิ จารณาก่อนเสนอเข้าสภานิติบัญญั ติแห่งชาติในลำดับต่อไป
นอกเหนือจากประเด็นของการตระหนั กรู้ถึงความสำคัญและการให้ ความคุ้มครองความเป็นส่วนตัวแล้ ว
ยังได้มีเวทีเสวนาแลกเปลี่ ยนความคิดเห็นของผู้เชี่ ยวชาญระดับนานาชาติเกี่ยวกั บการมาถึงของอินเทอร์เน็ตในทุ กสรรพสิ่ง
หรือ IoT (Internet of Things) ผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัว กรอบการทำงานที่ควรพัฒนาเพื่ อการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว
ข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการให้ความสำคัญระหว่ างการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว และการรักษาความมั่นคงปลอดภั ยไซเบอร์ในแต่ละประเทศ
ภายใต้หัวข้อ Privacy : A Thinnest
Line between Privacy and
Cybersecurity, and Ideology of Eastern and Western World
ศาสตราจารย์ จุยเซลลา ฟินอคชิอาโร แผนกการศึกษาด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยโบโลญญา และประธานคณะทำงาน UNCITRAL ชุดที่ 4 (Prof. Avv.
Giusella Finocchiaro, Professor, Department of Legal
Studies, University of Bologna, and Chairperson of
UNCITRAL Working Group IV) กล่าวว่า กลุ่มประเทศในทวีปยุโรปให้ ความสำคัญต่อความเป็นส่วนตัวใน
2 ส่วน คือ การให้ความเคารพและคุ้มครองต่ อสิทธิในด้านความเป็นส่วนตั วของครอบครัว
และการคุ้มครองความเป็นส่วนตั วในแง่ของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) และข้อมูลส่วนตัวที่เป็ นสารสนเทศ (Personal Information) ในยุโรป ความเป็นส่วนตัวถือเป็นสิ่งที่ มีความสำคัญ (Priority) แม้ในเวลาที่ถูกโจมตีอย่างเหตุ การณ์ที่เกิดขึ้นในปารีส
ดร.ลอรี เลา (Dr.Laurie Lau) ประธาน ASIA PACIFIC Association of
Technology and Society กล่าวว่า การโจมตีที่เกิดขึ้นในปารี สอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้รั ฐบาลหลาย
ๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภูมิภาคนี้
ต้องการที่จะกระชั บความสามารถในการรักษาความมั่ นคงปลอดภัยมากกว่าความเป็นส่ วนตัว และหากพูดถึงแนวคิดอันเป็ นรากฐานของสังคม
เศรษฐกิจ และการเมือง หรือ Ideology แล้ว คำว่า Ideology ย่อมเกี่ยวเนื่องกับการเมื องและรูปแบบการปกครอง ดังนั้น จึงขึ้นกับนโยบายและมุ มมองของภาครัฐเป็นสำคัญ
“ยกตัวอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยถื อเป็นเป้าหมายสูงสุด
และแน่นอนความเป็นส่วนตัวไม่ได้ รับอนุญาตมากนัก ซึ่งต่างกับฮ่องกงที่มีเสรีภาพ ความโปร่งใส
และได้รับการคุ้มครองในด้ านความเป็นส่วนตัวมากกว่า” ดร.เลา กล่าว
สำหรับการเกิดขึ้นของ IoT การเชื่อมโยงของอุปกรณ์รูปแบบต่ าง
ๆ ตลอดจนการใช้งานสมาร์ตโฟนล้ วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาทั ้งด้านการคุ้มครองความเป็นส่ วนตัวและการรักษาความมั่ นคงปลอดภัย
โดยน่าจะยังไม่มีทางออกต่อปั ญหาดังกล่าวตราบเท่าที่ผู้ผลิ ตยังไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการรั กษาความมั่นคงปลอดภัยมาเป็นอั นดับแรก
เพราะอุปกรณ์ต่าง ๆ ล้วนได้รับการพัฒนาและสร้างขึ้ นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
การทำธุรกิจ แต่ไม่ใช่เพื่อการรักษาความมั่ นคงปลอดภัย และเป็นที่แน่นอนว่า ในอนาคต
ปัญหาและการโต้เถียงเกี่ยวกั บความเป็นส่วนตัว และการรักษาความมั่นคงปลอดภั ยจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
สฤณี อาชวานันทกุล
ศาสตราจารย์วุฒิคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์ เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง กล่าวว่า หากมีการให้คำจำกัดความที่ เหมาะสม
ความเป็นส่วนตัวและการรั กษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ก็จะไม่ใช่สิ่งที่ขัดแย้งกัน เพราะการรักษาความมั่นคงปลอดภั ยไซเบอร์คือพื้นฐานสำคัญต่ อการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว
“เพื่อรับประกันความเป็นส่วนตัว เราต้องการการรักษาความมั่ นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในการตรวจสอบว่า
ผู้ให้บริการได้บริการเราด้ วยเทคโนโลยีมาตรฐานในการให้ ความคุ้มครองความเป็นส่วนตัวหรื อไม่
อย่างไร ปัญหาของการรักษาความมั่ นคงปลอดภัยบนไซเบอร์เกิดขึ้นเมื ่อมีความพยายามที่จะสร้างนิ ยามใหม่
หรือขยายขอบเขตของคำว่า Cybersecurity ให้หมายถึง National
Security หรือการรักษาความมั่นคงระดั บประเทศ ดังนั้น
เราจึงจำเป็นต้องสร้างความต่ างที่ชัดเจนเมื่อพูดถึงทั้ งสองคำนี้” สฤณี
กล่าวทิ้งท้าย
การประชุมนานาชาติ ของสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่ งเอเชีย ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็ นเจ้าภาพครั้งนี้
จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีพั ฒนาบทบาทด้านกฎหมายระหว่ างประเทศ
ตลอดจนเปิดโอกาสให้นั กกฎหมายจากประเทศไทย และประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุม
ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการที่เป็ นประโยชน์ต่อการพั ฒนากฎหมายในหมู่ประเทศสมาชิก จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่
ETDA
ได้มีส่วนร่วมจัดงานครั้งนี้
โดยในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ยังได้จัดเสวนาพิเศษในหัวข้อ
“การอภิบาลอินเทอร์เน็ต” (Internet
Governance) ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ได้รั บความสนใจจากผู้เข้าฟัง โดย ETDA
มุ่งหวังว่าจะเกิดการนำไปสู่ การสร้างเครือข่ายทางวิ ชาการสำหรับนั กกฎหมายของประเทศไทยต่อไป