สถาบันอาหาร เดินหน้าโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” ภารกิจเพื่อสังคม...ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้านสุขอนามัยสู่มาตรฐานสากล
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งหน้ายกระดับมาตรฐานด้านสุขอนามัย ให้คนไทยผ่านโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” จัดสรรทีมบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ ถ่ายทอดความรู้ ความปลอดภัยด้านอาหาร แนะหลักปฏิบัติ ตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารที่ดี สำหรับโรงพยาบาล หวังสร้างจิตสำนึก เรื่องอาหารปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ให้คนไทยมีสุขอนามัย ในการบริโภคอาหาร ตอกย้ำภารกิจ ของสถาบันอาหารที่ต้องการ มีส่วนร่วม ในการรับผิดชอบต่อสังคม เผยให้การรับรอง ระบบตามมาตรฐาน GMP in Mass Catering แก่โรงพยาบาลไปแล้ว 7 แห่ง ปี 2558 ตั้งเป้าเพิ่มอีก 10 แห่ง
นางอรวรรณ แก้วประกายแสงกูล รองผู้อำนวยการ และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า โครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” เกิดจากแนวคิด ที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่น ด้านความปลอดภัยอาหาร ในการผลิตอาหาร สำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค โดยทั่วไป โดยสนับสนุน ให้บุคลากรของสถาบันอาหาร ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ในด้านมาตรฐานสุขอนามัย ในระดับสากล มาช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตของคนไทย เมื่อต้องบริโภคอาหาร ร่วมกับคนจำนวนมากโดยเฉพาะในโรงพยาบาล ขณะเดียวกัน ยังเป็นการปลูกจิตสำนึก ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เห็นความสำคัญ ของการผลิตอาหาร ให้ปลอดภัย โดยก่อนหน้านี้ สถาบันอาหาร ได้เริ่มดำเนินโครงการ GMP in Mass Catering เป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นที่กลุ่มเด็ก และเยาวชนภายใต้ชื่อโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงเรียน” โดยได้ร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นโรงเรียนนำร่อง ในการเข้าร่วมกับโครงการ ดังกล่าวเป็นโรงเรียนแรก นอกจากนั้น ยังร่วมกับโรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 โรงเรียน ซึ่งนับว่า ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
“ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 จากการเข้าไป ให้คำปรึกษาแนะนำ ในการพัฒนาครัว และฝ่าย/หน่วยโภชนาการ ของโรงพยาบาลต่างๆ ตลอดจนบุคลากรและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัย แก่ผู้ป่วยให้ได้มาตรฐาน GMP in Mass Catering ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านสุขอนามัยสากล ที่ได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิก Codex ทั่วโลกในการผลิตอาหาร เพื่อการบริโภคให้แก่คนจำนวนมาก เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ด้านความปลอดภัยอาหารในการผลิตอาหาร สำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค โดยทั่วไป นอกเหนือจาก โรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องยึดหลัก GMP เป็นมาตรฐานเบื้องต้น ในการผลิตอยู่แล้ว
ปี 2557 สถาบันอาหารได้ให้การรับรองระบบ GMP in Masst Catering รวม 5 โรงพยาบาล ได้แก่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ สำหรับพื้นที่ครัวผลิตอาหารทั่วไป อาหารเฉพาะโรค อาหารทางสายยาง (ยกเว้นห้องนม) โดยในอนาคตทางผู้บริหาร รพ. มีแนวคิดจะการปรับพื้นที่ภายในครัว (Renovate) ให้ทันสมัย ซึ่งทางสถาบันอาหาร ได้ให้คำแนะนำในการออกแบบ ให้สอดคล้องตามหลักการของ GMP แล้ว ทั้งนี้ครัวของ รพ.ให้บริการผู้ป่วยราว 70,000 คน/ปี ให้บริการศูนย์ศรีพัตร์ (หน่วยงานเครือข่าย) 17,700 คน/ปี ถวายเพลพระ 6500 รูป/ปี และบริการบุคลากร เจ้าหน้าที่ 267,545คน/ปี
สำหรับ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น สถาบันอาหารได้ให้การรับรอง พื้นที่ผลิตอาหาร และงานบริการงานโภชนาการทุกพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ผลิตอาหารผู้ป่วยทั่วไป อาหารเฉพาะโรค และห้องอาหารทางสาย ปัจจุบัน รพ.ให้บริการผู้ป่วยเฉลี่ย 50,000 คน/ปี เช่นเดียวกับสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก) ที่ได้รับการรับรอง ครอบคลุมทุกพื้นที่การผลิตอาหาร บริการผู้ป่วยในส่วนครัวฝ่ายโภชนาการ ได้แก่ อาหารผู้ป่วยทั่วไป อาหารเฉพาะโรค อาหารทางสายยาง และห้องนม โดยครัว รพ.ให้บริการผู้ป่วยในราว 420 -500 คน/วัน หรือราว 153,300 -182,500 คน/ปี และให้บริการบุคลากร เจ้าหน้าที่รวม 12,410 คน/ปี
ล่าสุด รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย สถาบันอาหารได้ให้การรับรอง ห้องอาหารทางสายยาง รวมถึงพื้นที่เตรียมและจัดเก็บที่เกี่ยวข้องกับอาหารทางสาย ระหว่างนี้ทาง รพ.มีแผนในการปรับปรุง(Renovate) ครัวผลิตอาหารทั่วไป อาหารเฉพาะโรค ครัวผลิตอาหารบริการบุคลากร ของโรงพยาบาล และครัวอาหารฮาลาล ก่อนเข้าร่วมโครงการ กับสถาบันอาหารในเฟสต่อไป ทั้งนี้ปัจจุบันครัว รพ.ให้บริการผู้ป่วยใน 400- 450 คน/วัน หรือราว 146,000-164,250 คน/ปี และให้บริการเจ้าหน้าที่ 800 คน/วัน หรือราว 292,000 คน/ปี
นอกจากนี้ทางสถาบันอาหาร ยังได้มีโอกาสเข้าไปสำรวจพื้นที่ และการปฏิบัติงานจริง ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อให้คำแนะนำ ในการปรับปรุงพื้นที่ อย่างไรก็ตามเนื่องจาก รพ.อยู่ในระหว่างจัดทำแผนดำเนินการ ปรับปรุงพื้นที่ของโรงพยาบาล ทางสถาบันอาหารจึงดำเนินการ เฉพาะในส่วนของการจัดวิทยากร มาอบรมให้ความรู้ ในการปฏิบัติงานเรื่อง “ครัวอนามัย ใส่ใจผู้บริโภค” ให้แก่เจ้าหน้าที่ของ รพ.รวม 3 รุ่น จำนวน 270 คน
จากการดำเนินโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน สถาบันอาหารได้รับความร่วมมือ จากผู้บริหาร คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายโภชนาการ และที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาล เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน GMP in Mass Catering รวมแล้ว 640 คน และคาดว่ามีประชาชน ที่เข้ารับบริการจากครัวโรงพยาบาลต่างๆ ที่ได้รับการรับรองระบบแล้วหลายล้านคน
นางอรวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2558 สถาบันอาหาร มีแผนดำเนินการโครงการ ดังกล่าวเพิ่มอีก 10 แห่ง ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการติดต่อประสานงาน โดยมีบางส่วน ตอบรับเข้าร่วมโครงการแล้ว อาทิ รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน รพ.เวชการุณรัศมิ์ รพ.จุฬาภรณ์ และ รพ.ธรรมศาสตร์ นอกเหนือไปจากการติดตาม และประเมินรับรองระบบประจำปี อย่างต่อเนื่องให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ที่ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์มา และในอนาคตจะขยายโครงการ GMP in Mass Catering ไปยังกลุ่มธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร ฟู้ดเซ็นเตอร์ในห้างสรรพสินค้า และร้านอาหารต่างๆ เพื่อความมั่นใจในการบริโภคอาหาร อย่างปลอดภัยของประชาชน
“วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดสำหรับโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” ก็คือ การที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหารโรงพยาบาล และบุคลากรฝ่ายโภชนาการ ได้มาช่วยกันสร้างการรับรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกเรื่อง ความปลอดภัยด้านอาหาร ในการให้บริการแก่ผู้ป่วย และบุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไป ที่มาใช้บริการภายในโรงพยาบาล ผมรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการร่วมสร้างความเชื่อมั่น เรื่องอาหารปลอดภัยให้แก่ประเทศไทย ซึ่งเป็นภารกิจเพื่อสังคมที่สถาบันอาหาร ตั้งปณิธานและริเริ่มปฏิบัติอย่างจริงจัง มาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน นอกเหนือไปจากภารกิจหลัก ที่มุ่งผลักดันมาตรฐานด้านความปลอดภัย ในระดับสากล ไปยังภาคอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหารหวังว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ต่อภาคประชาชน เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต และเชื่อว่าจะเกิดความตื่นตัว ได้รับความร่วมมือ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขยายผลไปยัง โรงพยาบาลอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องในโอกาสต่อไป”Untitled Document
นางอรวรรณ แก้วประกายแสงกูล รองผู้อำนวยการ และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า โครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” เกิดจากแนวคิด ที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่น ด้านความปลอดภัยอาหาร ในการผลิตอาหาร สำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค โดยทั่วไป โดยสนับสนุน ให้บุคลากรของสถาบันอาหาร ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ในด้านมาตรฐานสุขอนามัย ในระดับสากล มาช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตของคนไทย เมื่อต้องบริโภคอาหาร ร่วมกับคนจำนวนมากโดยเฉพาะในโรงพยาบาล ขณะเดียวกัน ยังเป็นการปลูกจิตสำนึก ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เห็นความสำคัญ ของการผลิตอาหาร ให้ปลอดภัย โดยก่อนหน้านี้ สถาบันอาหาร ได้เริ่มดำเนินโครงการ GMP in Mass Catering เป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นที่กลุ่มเด็ก และเยาวชนภายใต้ชื่อโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงเรียน” โดยได้ร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นโรงเรียนนำร่อง ในการเข้าร่วมกับโครงการ ดังกล่าวเป็นโรงเรียนแรก นอกจากนั้น ยังร่วมกับโรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 โรงเรียน ซึ่งนับว่า ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
“ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 จากการเข้าไป ให้คำปรึกษาแนะนำ ในการพัฒนาครัว และฝ่าย/หน่วยโภชนาการ ของโรงพยาบาลต่างๆ ตลอดจนบุคลากรและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัย แก่ผู้ป่วยให้ได้มาตรฐาน GMP in Mass Catering ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านสุขอนามัยสากล ที่ได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิก Codex ทั่วโลกในการผลิตอาหาร เพื่อการบริโภคให้แก่คนจำนวนมาก เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ด้านความปลอดภัยอาหารในการผลิตอาหาร สำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค โดยทั่วไป นอกเหนือจาก โรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องยึดหลัก GMP เป็นมาตรฐานเบื้องต้น ในการผลิตอยู่แล้ว
“ปัจจุบันสถาบันอาหารได้ให้การรับรองระบบ GMP in Mass Catering แก่โรงพยาบาลไปแล้ว 7 แห่ง ได้แก่ รพ.ศิริราช, รพ.ตำรวจ, รพ.สงขลานครินทร์, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก), รพ.มหาราชนครเชียงใหม่(รพ.สวนดอก), รพ.ศรีนครินทร์ และ รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย โดยสถาบันอาหาร ได้รับความไว้วางใจจากโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งมีมาตรฐานการให้บริการ ทางการแพทย์ในระดับสากล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว กับสถาบันอาหาร ตั้งแต่ปี 2554 และเนื่องจาก ครัวโรงพยาบาลศิริราช มีมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร ในการบริการผู้ป่วยในระดับมาตรฐานอยู่แล้ว สถาบันอาหารจึงได้มุ่งให้ ความสำคัญและช่วยดูแลเป็นพิเศษ ในเรื่องการประเมิน การสำรวจพื้นที่ และสังเกตการปฏิบัติงานจริง พร้อมอบรมให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อลดการปนเปื้อนต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แล้วจึงนำข้อแนะนำใน GMP in Mass Catering ที่ทางสถาบันอาหาร จัดทำขึ้นมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นข้อแนะนำ ที่ปรับจากมาตรฐานสากล และข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร ภายในประเทศ”
รพ.ศิริราชได้รับการรับรองระบบ GMP in Mass Catering แล้ว 3 หน่วยด้วยกัน ได้แก่ หน่วยอาหารทางสายให้อาหาร หน่วยผสมนมสำหรับเด็ก ห้องจัดเลี้ยงและห้องเตรียมอาหารเฉพาะกิจ ต่อมาได้พัฒนามาตรฐาน การผลิตนมสำหรับเด็ก เป็นระบบ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points) ซึ่งสถาบันอาหารได้ให้การรับรองระบบ HACCP แก่หน่วยผสมนมสำหรับเด็ก ไปเมื่อปี 2556 นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุน การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และได้ตรวจให้การรับรอง เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทุกปีจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งมีแผน จะเข้าดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ครัว ทุกส่วนภายในโรงพยาบาลในระยะต่อไป
ในปี 2555 สถาบันอาหารได้ให้การรับรองระบบ GMP in Mass Catering แก่ รพ.ตำรวจ ครอบคลุมพื้นที่ครัวผลิตอาหารทั่วไป อาหารเฉพาะโรค และอาหารทางสายยาง หลังจากนั้นในแต่ละปี ทางฝ่ายโภชนาการ รพ.ตำรวจยังคงรักษาระบบ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยขอให้ทางสถาบันอาหาร เข้าไปตรวจ ให้การรับรองทุกปี ตั้งแต่ปี 2555-ปัจจุบัน ซึ่งครัว รพ.ตำรวจ ให้บริการผู้ป่วยราว 166,000 คน/ปี บริการบุคลากร เจ้าหน้าที่ราว 22,995 คน/ปี
ปี 2557 สถาบันอาหารได้ให้การรับรองระบบ GMP in Masst Catering รวม 5 โรงพยาบาล ได้แก่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ สำหรับพื้นที่ครัวผลิตอาหารทั่วไป อาหารเฉพาะโรค อาหารทางสายยาง (ยกเว้นห้องนม) โดยในอนาคตทางผู้บริหาร รพ. มีแนวคิดจะการปรับพื้นที่ภายในครัว (Renovate) ให้ทันสมัย ซึ่งทางสถาบันอาหาร ได้ให้คำแนะนำในการออกแบบ ให้สอดคล้องตามหลักการของ GMP แล้ว ทั้งนี้ครัวของ รพ.ให้บริการผู้ป่วยราว 70,000 คน/ปี ให้บริการศูนย์ศรีพัตร์ (หน่วยงานเครือข่าย) 17,700 คน/ปี ถวายเพลพระ 6500 รูป/ปี และบริการบุคลากร เจ้าหน้าที่ 267,545คน/ปี
สำหรับ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น สถาบันอาหารได้ให้การรับรอง พื้นที่ผลิตอาหาร และงานบริการงานโภชนาการทุกพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ผลิตอาหารผู้ป่วยทั่วไป อาหารเฉพาะโรค และห้องอาหารทางสาย ปัจจุบัน รพ.ให้บริการผู้ป่วยเฉลี่ย 50,000 คน/ปี เช่นเดียวกับสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก) ที่ได้รับการรับรอง ครอบคลุมทุกพื้นที่การผลิตอาหาร บริการผู้ป่วยในส่วนครัวฝ่ายโภชนาการ ได้แก่ อาหารผู้ป่วยทั่วไป อาหารเฉพาะโรค อาหารทางสายยาง และห้องนม โดยครัว รพ.ให้บริการผู้ป่วยในราว 420 -500 คน/วัน หรือราว 153,300 -182,500 คน/ปี และให้บริการบุคลากร เจ้าหน้าที่รวม 12,410 คน/ปี
ด้าน รพ.สงขลานครินทร์ ได้ให้การรับรองห้องอาหารทางสาย ได้แก่ พื้นที่เตรียมและจัดเก็บที่เกี่ยวข้องกับอาหารทางสาย และห้องนม โดยมีแผนดำเนินการเพิ่มเติม ในส่วนของอาหารทั่วไปและอาหารเฉพาะโรค ในเบื้องต้นทางผู้บริหารรพ.เห็นควร ให้มีการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อรองรับการจัดทำระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับ การให้บริการผู้ป่วยในราว 268,017 คน/ปี สวัสดิการและบุคลากร 111,577 คน/ปี และส่วนครัวสำหรับจัดเลี้ยง 14,265 คน/ปี
ล่าสุด รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย สถาบันอาหารได้ให้การรับรอง ห้องอาหารทางสายยาง รวมถึงพื้นที่เตรียมและจัดเก็บที่เกี่ยวข้องกับอาหารทางสาย ระหว่างนี้ทาง รพ.มีแผนในการปรับปรุง(Renovate) ครัวผลิตอาหารทั่วไป อาหารเฉพาะโรค ครัวผลิตอาหารบริการบุคลากร ของโรงพยาบาล และครัวอาหารฮาลาล ก่อนเข้าร่วมโครงการ กับสถาบันอาหารในเฟสต่อไป ทั้งนี้ปัจจุบันครัว รพ.ให้บริการผู้ป่วยใน 400- 450 คน/วัน หรือราว 146,000-164,250 คน/ปี และให้บริการเจ้าหน้าที่ 800 คน/วัน หรือราว 292,000 คน/ปี
นอกจากนี้ทางสถาบันอาหาร ยังได้มีโอกาสเข้าไปสำรวจพื้นที่ และการปฏิบัติงานจริง ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อให้คำแนะนำ ในการปรับปรุงพื้นที่ อย่างไรก็ตามเนื่องจาก รพ.อยู่ในระหว่างจัดทำแผนดำเนินการ ปรับปรุงพื้นที่ของโรงพยาบาล ทางสถาบันอาหารจึงดำเนินการ เฉพาะในส่วนของการจัดวิทยากร มาอบรมให้ความรู้ ในการปฏิบัติงานเรื่อง “ครัวอนามัย ใส่ใจผู้บริโภค” ให้แก่เจ้าหน้าที่ของ รพ.รวม 3 รุ่น จำนวน 270 คน
จากการดำเนินโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน สถาบันอาหารได้รับความร่วมมือ จากผู้บริหาร คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายโภชนาการ และที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาล เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน GMP in Mass Catering รวมแล้ว 640 คน และคาดว่ามีประชาชน ที่เข้ารับบริการจากครัวโรงพยาบาลต่างๆ ที่ได้รับการรับรองระบบแล้วหลายล้านคน
นางอรวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2558 สถาบันอาหาร มีแผนดำเนินการโครงการ ดังกล่าวเพิ่มอีก 10 แห่ง ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการติดต่อประสานงาน โดยมีบางส่วน ตอบรับเข้าร่วมโครงการแล้ว อาทิ รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน รพ.เวชการุณรัศมิ์ รพ.จุฬาภรณ์ และ รพ.ธรรมศาสตร์ นอกเหนือไปจากการติดตาม และประเมินรับรองระบบประจำปี อย่างต่อเนื่องให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ที่ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์มา และในอนาคตจะขยายโครงการ GMP in Mass Catering ไปยังกลุ่มธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร ฟู้ดเซ็นเตอร์ในห้างสรรพสินค้า และร้านอาหารต่างๆ เพื่อความมั่นใจในการบริโภคอาหาร อย่างปลอดภัยของประชาชน
“วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดสำหรับโครงการ “ครัวอนามัย อาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล” ก็คือ การที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหารโรงพยาบาล และบุคลากรฝ่ายโภชนาการ ได้มาช่วยกันสร้างการรับรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกเรื่อง ความปลอดภัยด้านอาหาร ในการให้บริการแก่ผู้ป่วย และบุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไป ที่มาใช้บริการภายในโรงพยาบาล ผมรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการร่วมสร้างความเชื่อมั่น เรื่องอาหารปลอดภัยให้แก่ประเทศไทย ซึ่งเป็นภารกิจเพื่อสังคมที่สถาบันอาหาร ตั้งปณิธานและริเริ่มปฏิบัติอย่างจริงจัง มาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน นอกเหนือไปจากภารกิจหลัก ที่มุ่งผลักดันมาตรฐานด้านความปลอดภัย ในระดับสากล ไปยังภาคอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหารหวังว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ต่อภาคประชาชน เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต และเชื่อว่าจะเกิดความตื่นตัว ได้รับความร่วมมือ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขยายผลไปยัง โรงพยาบาลอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องในโอกาสต่อไป”