Missing Links นิทรรศการงานภาพเคลื่อนไหวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภัณฑารักษ์: กฤติยา กาวีวงศ์ สถานที่จัดแสดง: หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน กรุงเทพฯ วันที่: 22 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม 2558
ศิลปินที่เข้าร่วม
ภาคที่ 1 Modernization and Urban Conditions (ความเป็นสมัยใหม่และสภาวะความเป็นเมือง)
จัดแสดงระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2558
รายชื่อศิลปิน: จอมเปท คุสวิดานันโต (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย), มาเรีย ทานิคูชิ (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์), อูดัม ทราน เหงียน (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม/สหรัฐอเมริกา), เทะ หม่อ นาย (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า) และ สุริยะ ภูมิวงศ์ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
ภาคที่ 2 Diaspora and Identity (การย้ายถิ่นฐานและอัตลักษณ์)
จัดแสดงระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2558
รายชื่อศิลปิน: คริส ชอง ชาน ฟุย (ประเทศมาเลเซีย/แคนาดา), นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ (ประเทศไทย), ไบรอัน โกถอง ทาน (สาธารณรัฐสิงคโปร์), อะนีดา โยเอ อาร์ลี, แขมร์ อาร์ต และ สตูดิโอ รีโวลต์ (ราชอาณาจักรกัมพูชา/ สหรัฐอเมริกา)
บทนำ
ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พยายามต่อสู้เพื่อความรุดหน้า และเพื่อให้ทัดเทียม กับโลกสากลมาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย ที่ได้รับผลกระทบจากการล่าอาณานิคม สงครามโลก สงครามเพื่ออิสรภาพ สงครามเย็น และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ประเทศในภูมิภาคนี้ ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็น “สมาคมอาเซียน” อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก แนวคิดภูมิภาคนิยม ภายใต้การนำและการเรียกร้อง ให้เกิดการรวมกลุ่มจากประเทศสหรัฐอเมริกา จุดมุ่งหมาย ของการเริ่มดำเนินการก็เพื่อให้ ภูมิภาคในแถบนี้ร่วมมือกันทางการเมือง เพื่อต่อต้านการคุกคาม ของลัทธิคอมมิวนิสต์ จากประเทศรัสเซียและจีนที่ผ่านเข้ามาทางประเทศเวียดนาม
เมื่อพรมแดนของความเป็นชาติ เริ่มที่จะครอบงำและมีอิทธิพลกับแนวความคิดเกี่ยวกับตะวันออกเฉียงใต้ ไม่เพียงแค่ ในโลกวิชาการ แต่รวมถึงระเบียบข้อบังคับอื่นๆ ทั้งหน่วยงานทางการเมือง ภาคเอกชน รวมถึงโลกของศิลปะด้วย เพื่อที่จะเข้าใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากมุมมองอื่นๆ เราจึงสนใจที่จะสืบค้น เรื่องราวเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณนี้ผ่านการมองแบบข้ามพรมแดน โดยเราต้องไม่ลืมว่าพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็น “เขตการติดต่อ” ของชาวจีนพลัดถิ่น คนพื้นเมือง และชาวตะวันตก มาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 หรือก่อนหน้านั้น ในช่วงเวลาก่อนยุคสมัยใหม่ และก่อนความเป็นรัฐชาติจะเกิดขึ้น ลักษณะการเป็นชุมชนร่วมยังมีให้เห็นอยู่มาก ทั้งในแง่การเมืองเชิงภูมิศาสตร์ และความคิดความอ่าน อาณาจักรต่างๆ ทั้งแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่างๆ ต่างไม่มีพรมแดน แต่ก็ยังมีสงครามแก่งแย่งดินแดน ให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อเส้นทางสายไหมและเส้นทางการค้าเครื่องเทศ ถือกำเนิดขึ้น และเชื่อมภูมิภาคนี้เข้ากับโลกตะวันตก การค้าขายและเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการเคลื่อนตัวระหว่างภูมิภาคนี้ และภูมิภาคใกล้เคียง รวมถึง ในภูมิภาคอื่นๆ การหลั่งไหลเข้ามาของพ่อค้าชาวยุโรป และตะวันออกกลาง เริ่มมีบทบทสำคัญ ทั้งในเขตสยาม หมู่เกาะชวา พม่า และเวียดนาม รวมถึงพื้นที่บริเวณอื่นๆ ในช่วงระยะเวลาเกือบศตวรรษ ที่พ่อค้าและชนชาติอาหรับ โปรตุเกส ดัตช์ อังกฤษ และฝรั่งเศส เข้ามามีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อขยายอาณาเขตของตน และแสวงหาทรัพยากรทางธรรมชาติ จากพื้นที่ในแถบนี้ ซึ่งจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ ในยุคอาณานิคมของภูมิภาคนี้
“สยาม” เป็นศูนย์รวมของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสังคม ซึ่งประกอบด้วยคนหลายชาติหลายภาษา ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากการเคลื่อนตัวของกลุ่มคน ทั้งจากในภูมิภาคนี้เองและภูมิภาคอื่นๆ ในแผ่นดินทองหรือสุวรรณภูมิ ศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้กลายมาเป็นบ้านสำหรับชาวจีน ชนเผ่าต่างๆ และกลุ่มผู้อพยพจากทางเหนือและชาวตะวันตก ก่อให้เกิด “ความเป็นพหุสังคม” นิทรรศการนี้ ต้องการที่จะแสดงให้เห็น ถึงความหลากหลาย และความแตกต่างเชิงสังคม วัฒนธรรม ในขณะที่พยายามสร้างจุดหลักบางจุด เพื่อที่จะเชื่อมความเป็นภูมิภาคนี้ เข้าด้วยกัน เราจึงอยากที่จะสืบค้นเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ที่สามารถอธิบายถึงพัฒนาการ ที่เกิดขึ้นนี้ได้ จุดมุ่งหมายก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชม ย้อนกลับไปมองถึงความเป็นมาของพื้นที่บริเวณนี้ และตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยง กับความจริงในโลกปัจจุบัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการสำรวจ การแยกตัวที่เกิดขึ้น รวมถึงผลกระทบ ของการล่าอาณานิคม และประวัติศาสตร์หลังสงครามโลก ผู้คนแต่ละท้องถิ่นมีวิธีการ จัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างไร หลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากเจ้าอาณานิคม รวมถึงสงครามโลกที่มีผลกระทบ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง และนำมาซึ่งการหลั่งไหล ของกลุ่มผู้อพยพในช่วงสมัยสงครามเย็นนั้น แตกต่างจากช่วงเวลาอื่นๆ สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับภูมิภาคนี้ รวมถึงกลุ่มคน และการเชื่อมโยง โดยใช้งานศิลปะ เป็นแรงบันดาลใจ และจุดเริ่มต้น น่าจะสร้างความเข้าใจ ต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้มากขึ้น การมองสังคมผ่านผลงานศิลปะ จากศิลปินในภูมิภาค ประสบการณ์ทางสุนทรียะ ซึ่งบางครั้งได้ก้าวข้าม พรมแดนของความเป็นชาติไปแล้ว
นิทรรศการ Missing Links เปรียบเหมือนพื้นที่ในการสืบค้น และการย้อนกลับมามองอดีตอีกครั้งถึงเรื่องราว การรับรู้ของผู้คน ในระหว่างช่วงการก้าวเข้าสู่ ความเป็นสมัยใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเข้าสู่สังคมเมือง รวมถึงการอพยพย้ายถิ่นฐาน ในพื้นที่บริเวณนี้ Missing Links นิทรรศการที่รวบรวมผลงาน วิดีโอ และงานภาพเคลื่อนไหวจากศิลปิน ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอื่นๆ ซึ่งศิลปินเหล่านี้ มีความสนใจและทำงานเกี่ยวกับช่วงเวลา ของการก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ ผ่านบริบทของตัวศิลปิน ทั้งที่เกิดจากแรงขับของการล่าอาณานิคม หรือจากตัวศิลปินเอง รวมถึง ผลสืบเนื่องสู่ปัจจุบัน นิทรรศการนี้ ไม่ได้ต้องการที่จะแสดงให้เห็นภาพรวม ของสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ แต่มุ่งหวังที่จะหยิบยกบางประเด็นหลัก ที่ยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน เช่น ความเป็นสมัยใหม่ สภาพสังคมเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสังคมเมืองและสังคมชนบท การอพยพย้ายถิ่นฐาน การพลัดถิ่น และเศรษฐกิจข้ามภูมิภาค
นิทรรศการในครั้งนี้จะแบ่งออกเป็นสองช่วงเวลาด้วยกัน โดยแต่ละช่วงเวลาจะประกอบไปด้วยศิลปิน 4 ถึง 5 ท่าน และแสดงเป็นระยะเวลา 3 เดือน การแบ่งนิทรรศการออกเป็นสองช่วงเวลานั้น เพื่อหวังให้ผู้ชมได้มีโอกาสกลับมาดูนิทรรศการอีกครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการพิจารณาใคร่ครวญถึงประเด็นต่างๆ รวมถึงชื่นชมกับประสบการณ์ทางด้านภาพที่เรา ได้นำเสนอ
นิทรรศการ “Missing Links” เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม 2558 เวลา 9.00 – 20.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม ณ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ซ.เกษมสันต์ 2 (สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ)