ADS


Breaking News

ผลงาน ก.ล.ต. 4 ปี บรรลุเป้าหมายการยกระดับตลาดทุนสู่สากล ทุกภาคส่วนเศรษฐกิจไทยได้ใช้ประโยชน์

     ก.ล.ต. เผยผลงานการพัฒนาและกำกับดูแลตลาดทุนตลอดระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 - 2558 บรรลุเป้าหมาย การยกระดับตลาดทุนไทย สู่สากลในทุกด้าน เพิ่มความน่าเชื่อถือ ด้วยมาตรการกำกับดูแลและป้องปรามที่ทันสมัย ส่งเสริมให้ทุกภาคเศรษฐกิจ ใช้ประโยชน์จากตลาดทุน โดยเป็นแหล่งระดมทุนสำหรับกิจการทุกขนาด และเป็นทางเลือกสำคัญในการลงทุนของภูมิภาค
     นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของ ก.ล.ต. ร่วม 4 ปี นับตั้งแต่ ตุลาคม 2554 – เมษายน 2558 ก.ล.ต. ขับเคลื่อนตลาดทุนไทยโดยมุ่งเน้นการพัฒนา เพื่อรองรับแนวโน้มและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สร้างความเชื่อมั่นและความยั่งยืน สร้างโอกาสให้กิจการและประชาชนเข้าถึง ตลอดจนใช้ประโยชน์จากตลาดทุน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กับต่างประเทศ ดึงดูดเงินลงทุนจากผู้ลงทุนทั่วโลก
     นายวรพล กล่าวว่า การดำเนินงานของ  ก.ล.ต. ที่ผ่านมา มุ่งสร้างโอกาสในการเข้าถึงการระดมทุนสำหรับกิจการทุกระดับทั้งขนาดใหญ่ขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ SMEs ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศผ่านโครงการ "หุ้นใหม่ ความภูมิใจของจังหวัด" เกิดหุ้นใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดทุนไปแล้วกว่า 30 บริษัท และโครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านโครงการ “หุ้นนวัตกรรมและสร้างสรรค์ ความภูมิใจของไทย” เพิ่มโอกาสต่อยอดขยายกิจการสำหรับธุรกิจที่มีเทคโนโลยีนวัตกรรม  รวมทั้งได้เพิ่มช่องทางใหม่ในการระดมทุนด้วยรูปแบบการเสนอขายหุ้นด้วยวิธี crowdfunding ที่เป็นกระแส การระดมทุนใหม่ของทั่วโลก ตลอดจนเพิ่มช่องทางการระดมทุน ของกิจการขนาดกลางและเล็กผ่าน Private Equity Trust อีกด้วย นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังส่งเสริมให้กิจการ มีทางเลือกการระดมทุนด้วยเครื่องมืออื่น ๆ เช่น การระดมทุนโดยการ ออกตราสารหนี้ ผ่านโครงการ “หุ้นกู้น้องใหม่ ก้าวแรกที่ก้าวไกล” มุ่งให้บริษัทใช้ตราสารหนี้ บริหารต้นทุนการเงินของกิจการ
     ที่สำคัญ ก.ล.ต. ได้สร้างกลไกสนับสนุน การระดมทุนของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประโยชน์ของประเทศ ลดภาระงบประมาณและการเป็นหนี้สาธารณะ เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ท่าอากาศยาน สนามบิน และล่าสุดได้เพิ่มเติมให้รวมถึง ระบบขนส่งทางท่อ ระบบจัดการของเสีย โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT และโครงการที่มีกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หลายประเภทมารวมกันด้วย
     จากแผนกลยุทธ์ที่ ก.ล.ต. ต้องการให้ตลาดทุนไทยเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญของประเทศกลุ่ม GMS (GMS Connector) ได้สร้างความสัมพันธ์และช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้เติบโตไปด้วยกัน มีการลงนามเพื่อพัฒนาตลาดทุนระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของ ลาว กัมพูชา เวียดนาม การเป็นเจ้าภาพการประชุม Mekong Capital Market Cooperation (MCMC) ขณะที่ในระดับอาเซียนมีความร่วมมือที่ชัดเจน จนนำไปสู่การมีมาตรฐานกลางของอาเซียนในการเปิดเผยข้อมูล ASEAN Disclosure Standards) และการเสนอขายกองทุนรวมข้ามกัน (ASEAN Collective Investment Scheme Framework) การเข้าร่วมประเมินมาตรฐานธรรมาภิบาล (CG) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพบริษัทข้ามตลาด และในระดับตลาดทุนของโลก ก.ล.ต. ได้สร้างช่องทางให้ตัวกลางไทยนำสินค้าไปขายในตลาดสำคัญ ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงการลงนามความร่วมมือเพื่อให้กองทุนรวมไทยไปขายในยุโรปได้
     นายวรพล กล่าวว่า ในส่วนของการออกหลักเกณฑ์สนับสนุนการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่การเป็นศูนย์เชื่อมโยง ก.ล.ต. ได้ดำเนินการดังนี้
  1. สนับสนุนการระดมทุนของกิจการต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกลุ่ม GMS  ได้แก่ เกณฑ์รองรับ บริษัทต่างประเทศที่มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นแห่งแรก (primary listing) และเกณฑ์รองรับบริษัทต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อื่นอยู่แล้ว และมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย เพิ่มเติม (secondary listing)
  1. สร้างกลไกการระดมทุนในไทย เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศกลุ่ม GMS ผ่านทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure trust)
  1. วางกติกาสนับสนุนการสร้างสินทรัพย์ลงทุนในประเทศกลุ่ม GMS (GMS asset class) ผ่านกองทุนรวมไทยที่ลงทุนในประเทศกลุ่ม (GMS) ได้ถึง 100% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน แต่จะต้องกระจายการลงทุนซึ่งยังเป็นการสร้างโอกาสการแข่งขันของอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทยด้วย
  1. สร้างกลไกอำนวยความสะดวกเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ผ่าน DR หรือ Depositary Receipt ซึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ การลงทุนผ่าน DR เปิดให้ไปลงทุน ในหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ในประเทศกลุ่ม GMS ด้วย


     สำหรับความพยายามในการพัฒนากฎเกณฑ์และยกระดับการดำเนินธุรกิจ ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนระหว่าง ก.ล.ต. และผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในโครงการ CEO Forum ส่งเสริมให้มีความสนใจเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลักดันให้เข้าร่วมแสดงเจตนารมณ์ ต่อต้านการทุจริต ในโครงการแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทย นำไปสู่ความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมในด้านธรรมาภิบาล (CG) โดยได้รับการประเมิน CG ROSC สูงถึง 82.83 จาก 100 คะแนน ขณะที่การประเมิน CG Watch ได้รับคะแนนสูงเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รวมทั้งได้รับการประเมิน ASEAN CG Scorecard 2556/2557 สูงที่สุดจากทั้งหมด 6 ประเทศใน ASEAN ที่เข้ารับการประเมิน  


     นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้พัฒนางานด้านคุณภาพทางบัญชีจนได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยการเข้าร่วมเป็นสมาชิก IFIAR หรือ International Forum of Independent Audit Regulator ทำให้ได้รับการยอมรับว่า ก.ล.ต. มีความเป็นอิสระจากผู้ประกอบวิชาชีพ และระบบการกำกับดูแลผู้สอบบัญชีของประเทศไทยสอดคล้องกับแนวทางสากล รวมถึงการได้รับ Recognition จากคณะกรรมาธิการยุโรป ในเรื่องระบบการกำกับดูแลผู้สอบบัญชี ส่งผลให้ผู้ลงทุนมีความเชื่อถือในระบบการรายงานทางการเงินและคุณภาพผู้สอบบัญชีไทยมากยิ่งขึ้น


     ในเรื่องการกำกับดูแล ผู้ประกอบธุรกิจและสถาบันตัวกลาง ก.ล.ต. สร้างกลไกคุ้มครอง ผู้ลงทุนเพิ่มขึ้น ปรับปรุงเกณฑ์การเสนอขาย สินค้าและบริการ เพิ่มความรับผิดชอบ ของตัวกลาง ในการขายสินค้าและบริการ ให้เหมาะสม ตลอดจนอำนวยความสะดวก แก่ผู้ประกอบธุรกิจโดยออกเกณฑ์กลาง รองรับการออกและเสนอขาย ตราสารใหม่ ได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มความยืดหยุ่น ให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ระดมทุน เช่น การขยายอัตราส่วน การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ การปรับปรุงเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสาร Basel III และการปรับปรุงเกณฑ์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการลงทุน ในสินค้าต่างประเทศได้สะดวก  นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมในการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า  (AFET) กับตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) ให้เป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อประโยชน์ต่อประเทศในด้านการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) และอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนสามารถทำธุรกรรมในตลาดเดียว ครอบคลุมด้านสินค้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ด้านผู้ประกอบธุรกิจ และด้านบุคลากร


     ทางด้านการพัฒนากฎหมาย มีความคืบหน้าเป็นอย่างมากในการผลักดันการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ กฎหมายหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มมาตรการลงโทษทางแพ่ง (civil sanction) และองค์กรกำกับดูแลตนเองในตลาดทุน (SRO) การดำเนินคดีแบบกลุ่มในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (class action) การปรับปรุงบทบัญญัติการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ให้มีความเป็นสากล (securitization) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่กองทุนและผู้ออมเพื่อเป็นหลักประกันกรณีการออกจากงานและชราภาพ


     นายวรพล กล่าวเสริมว่า สิ่งที่สำคัญมากและจะขาดเสียมิได้เลย คือ การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการลงทุน ทั้งในด้านการให้ความรู้แก่ประชาชน และส่งเสริมงานวิจัยเกี่ยวกับตลาดทุน ในส่วนของการให้ความรู้แก่ประชาชนให้มีความรู้ทางการเงินเพื่อชีวิตที่มั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ ได้ริเริ่มโครงการส่งเสริม ความรู้ด้านการเงินหลายโครงการ พัฒนาสื่อการเรียนรู้บนเว็บไซต์ www.จัดการเงินเป็น.com เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนวัยเริ่มทำงาน ทำคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม และการจัดทำโครงการสร้างวินัยให้พนักงานบริษัทจดทะเบียนรู้จักการวางแผนทางการเงิน (FL in workplace) การรณรงค์ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของการลงทุนอย่างสม่ำเสมอผ่านโครงการสานฝันเริ่มด้วยพันบาท และที่สำคัญคือ การมีความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีและพันธมิตรถึง 17 แห่ง ในการดำเนินโครงการเปลี่ยนประเทศไทยให้รุ่งเรือง
ด้วยความรู้ทางการเงิน


     พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. มุ่งส่งเสริมภาคการศึกษาและการพัฒนางานวิจัยสำหรับตลาดทุน โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดสัมมนา “SEC Working Papers Forum” ทุกเดือน เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และมุ่งนำบทวิจัยไปใช้ได้จริง


     “ตลอดระยะเวลาร่วม 4 ปี ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่มีความต่อเนื่อง และครอบคลุมการพัฒนาหลากหลายด้านพร้อม ๆ กัน เพื่อทำให้ตลาดทุนไทยเป็นที่น่าสนใจในสายตาผู้ลงทุนทั่วโลก เปิดโอกาสให้กับกิจการระดับต่าง ๆ เข้าถึงทุนในรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเอง สร้างสินค้าและบริการที่หลากหลายสร้างผู้ลงทุนคุณภาพ รู้จักใช้ประโยชน์จากตลาดทุน ส่งเสริมการสร้างความยั่งยืน ด้วยความเชื่อมั่นในหลักความดี เมื่อตลาดทุนดี จะดึงดูดเงินลงทุน เพราะผู้ลงทุนย่อมเลือกลงทุนในของที่ดี” นายวรพลกล่าวในท้ายที่สุด

เอกสารแนบข่าว ก.ล.ต. ฉบับที่ 46/2558
ผลการดำเนินงานของ ก.ล.ต. ตุลาคม 2554 - เมษายน 2558


        ก.ล.ต.ให้ความสำคัญกับการกำกับและพัฒนาตลาดทุนไทยให้สามารถตอบโจทย์การระดมทุนของประเทศและความต้องการลงทุนของประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความยั่งยืน ทำให้กิจการและประชาชนเข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดทุน และทำให้ตลาดทุนไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยมีผลงานสำคัญดังต่อไปนี้


  1. เปิดช่องทางกิจการระดับต่าง ๆ มีโอกาสเข้าถึงการระดมทุนในตลาดทุนในรูปแบบที่เหมาะสม
ได้ริเริ่มโครงการ “หุ้นใหม่ ความภูมิใจของจังหวัด” ตั้งแต่ปี 2555- 2557  มีจำนวนบริษัทเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 289 บริษัท ครอบคลุม 42 จังหวัด ทำให้มีบริษัทในโครงการที่ IPO  และเข้าจดทะเบียนใน SET / mai แล้ว 31 บริษัท นับเป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ
ภาพรวม IPO ที่ ก.ล.ต. อนุมัติ
ปี
ก.ล.ต. อนุมัติ
Stock
IFF
REIT
Property Fund
รวม
2554
10
-
-
10
20
มค-กย 54
7
-
-
8
15
ตค-ธค 54
3
-
-
2
5
2555
20
-
-
8
28
34
3
-
9
46
35
-
4
10
49
มค-มีค 2558
5
1
-
-
6


นอกจากนี้ ยังมีโครงการ “หุ้นนวัตกรรมและสร้างสรรค์ ความภูมิใจของไทย” เริ่มเมื่อปี 2557 มีสมาชิก 50 บริษัท และ equity-based crowdfunding ที่จะช่วยส่งเสริม SMEs  และ startups โดยเฉพาะกิจการบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในประเทศให้เติบโต แข่งขันได้  และ โครงการ “หุ้นกู้น้องใหม่ ก้าวแรกที่ก้าวไกล” เพื่อใช้ตลาดทุนในการระดมทุนและปรับโครงสร้างต้นทุนทางการเงิน


  1. สร้างสินค้าและบริการที่หลากหลาย ทำให้ตลาดทุนไทยเป็นที่รู้จักและน่าสนใจในสายตาผู้ลงทุนทั่วโลก
    • กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ก.ล.ต. อนุมัติและจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วทั้งหมด 4  กอง
ชื่อ
ข้อมูล ณ IPO
ก.ล.ต.
อนุมัติ
ซื้อขาย
วันแรก
มูลค่า
ระดมทุน
(ล้านบาท)
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท
58,080.00
58,080.00
4/12/2556
27/12/2556
2. ABPIF
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์
6,300.00
6,300.00
10/7/2556
27/9/2556
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท
62,510.40
62,510.40
14/3/2556
19/4/2556
4. JASIF
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน
55,000.00
55,000.00
20/1/58
16/2/58


    • กองทรัสต์ที่ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ใช้ทรัสต์เป็นทางเลือกในการระดมทุนเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts: REITs) หรือกิจการขนาดกลางและเล็ก (Private Equity Trust) โดย ก.ล.ต. อนุมัติ REITs แล้วทั้งหมด 4 กอง
ชื่อ
ข้อมูล ณ IPO
ก.ล.ต.
อนุมัติ
ซื้อขาย
วันแรก
มูลค่า
ระดมทุน
(ล้านบาท)
1. LHSC
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง
เซ็นเตอร์
4,978.26
4,978.26
9/12/57
26/12/2557
2. WHART
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท
3,107.90
3,107.90
28/11/57
18/12/2557
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อิมแพ็คโกรท
15,714.50
15,714.50
5/9/57
01/10/2557
4. TREIT
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไทคอน
3,425.00
3,425.00
04/12/57

09/01/2558
  • หลักทรัพย์ต่างประเทศ เปิดช่องทางให้มีหลักทรัพย์จากต่างประเทศเข้ามาในตลาดทุนไทย เพื่อเพิ่มขนาดและความน่าสนใจให้กับตลาดทุนไทย ได้แก่ การเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นแห่งแรก (primary listing) การเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (secondary listing) การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกในไทยและประเทศอื่นพร้อมกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน (dual offering) การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (depositary receipts: DR) ที่ลงทุนในต่างประเทศ 
  • สนับสนุนกิจการไทยไปต่างประเทศ รองรับการระดมทุนของกิจการต่างประเทศ อาทิ holding company, GMS Mutual Fund, กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust) 
  1. ยกระดับมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  • บริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ออกและเสนอขายลักทรัพย์ กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ESG  ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดทำและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์  ปรับปรุงหลักเกณฑ์การทำธุรกรรมระหว่างกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชน และบริษัทย่อยของบริษัทดังกล่าว และปรับปรุงการจัดทำความเห็นของฝ่ายจัดการเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน MD&A นอกจากนี้ ยังได้ยกระดับมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี โดยจัดอบรมผู้สอบบัญชีอย่างต่อเนื่อง จัดโครงการผู้สอบบัญชีตลาดทุน ตลอดจนแสดงบทบาทในระดับสากล อาทิ การเข้าร่วมเป็นสมาชิก  IFIAR (International Forum of Independent Audit Regulator) การได้รับการยอมรับจากคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องระบบการกำกับดูแลผู้สอบบัญชี 
  • ธรรมาภิบาลในตลาดทุนไทย การประเมิน CG ROSC ปี 2555 ไทยได้คะแนน 82.83 จาก 100  เทียบกับการประเมินครั้งก่อนเมื่อปี 2548 (เป็นการประเมินครั้งแรก) ซึ่งได้คะแนนรวม 67.66 คะแนน  การประเมิน CG Watch  ไทยติดอันดับ 3 หรือ 4 ของเอเชียมาโดยตลอด ASEAN CG Scorecard 2556/2557 ผลประเมินออกเมื่อกลางปี 2557  บริษัทจดทะเบียนของไทยมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดจากทั้งหมด 6 ประเทศ ใน ASEAN ที่เข้าร่วมโครงการ ในขณะที่ผลการประเมินในประเทศโดยสมาคมนักลงทุนไทย บริษัทจดทะเบียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทุกปี ในปี 2557 บริษัทจดทะเบียนได้คะแนนเฉลี่ย 91 คะแนน เพิ่มขึ้น 28%  จากปีแรก เมื่อ 2549 ที่เริ่มทำประเมิน


  1. เพิ่มบทบาทและความสามารถในการแข่งขันของสถาบันตัวกลาง
  • เน้นการสร้างกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น มีหน่วยงาน compliance ที่เป็นอิสระและบุคลากรอย่างเพียงพอ มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับดูแลสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุนและบุคลากร รวมถึงมาตรการควบคุมภายในเพื่อป้องกันการทำธุรกรรมที่มีลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 
  • เพิ่มความรับผิดชอบของตัวกลางในการขายสินค้าและบริการให้เหมาะสม ไม่เอาเปรียบโดยใช้จุดอ่อนในพฤติกรรมของผู้ลงทุน ในขณะที่ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (underwriter) ต้องรับผิดชอบต่อการขาย IPO มากขึ้น เช่น มีบทวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ต้องมีการวิเคราะห์ระบบงานและการบริหารความเสี่ยงของบริษัทหลักทรัพย์ เรื่อง การซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง รวมทั้งการติดตามประสิทธิภาพและผลกระทบของเกณฑ์ควบคุมการซื้อขายหุ้นภายในวัน (day trade) เป็นต้น 
  • อำนวยความสะดวกและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ โดยออกประกาศเกณฑ์กลางเพื่อรองรับการออกและเสนอขายตราสารใหม่ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอการออกประกาศเฉพาะ ตลอดจนผ่อนคลายหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ระดมทุน ได้แก่ การขยายอัตราส่วนการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ให้กองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่ไม่ใช่รายย่อย และปรับปรุงเกณฑ์การลงทุนของกองทุนรวมทั้งหมด การผ่อนคลายเกณฑ์หุ้นกู้อนุพันธ์ การปรับปรุงหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสาร Basel III การออกประกาศรองรับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ของ REIT และการปรับปรุงเกณฑ์ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการลงทุนในสินค้าต่างประเทศได้สะดวก


  1. การปรับปรุงประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุน
  • Civil sanction เพิ่มมาตรการลงโทษทางแพ่งนอกเหนือจากกระบวนการลงโทษทางอาญา ได้แก่ การชำระค่าปรับทางแพ่ง การให้คืนผลประโยชน์ที่ได้จากการกระทำผิด การชดใช้ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคืนให้กับ ก.ล.ต. การห้ามผู้กระทำผิดเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 5 ปี (อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
  • การปรับปรุงเกี่ยวกับการกระทำไม่เป็นธรรม ปรับปรุงองค์ประกอบความผิดในส่วนของการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งเพิ่มฐานความผิดที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ยังมีไม่ครบถ้วน  เพิ่มบทสันนิษฐาน และเพิ่มโทษปรับ (อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
  • Class action กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้ผู้เสียหายสามารถร่วมกันฟ้องในคดีที่มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมากได้ (ผ่านการพิจารณาของ สนช. แล้ว)
  • Securitization  ปรับปรุงบทบัญญัติการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ให้ครอบคลุมวิธีการและรูปแบบในระดับสากลมากขึ้น ลดต้นทุนการทำธุรกรรมแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และปรับปรุงบทบัญญัติต่างๆที่เป็นอุปสรรค (ผ่านการพิจารณาของ สนช. แล้ว)
  • หลักประกันทางธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ เอสเอ็มอี สามารถใช้หลักทรัพย์ที่ไม่จำเป็นต้องส่งมอบหรือส่งมอบไม่ได้มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจในการขอกู้เงินหรือเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เช่น สินค้าคงคลัง อาทิ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต หรือ วัสดุ วัตถุดิบในการผลิต หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา ((อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช.)
  • PVD แก้ไขให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมในอัตราที่สูงกว่านายจ้างได้  เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในการกำหนดนโยบายการลงทุนสำหรับสมาชิกที่ไม่แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน  และกำหนดให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีสามารถโอนเงินของลูกจ้างไปออมต่อในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ (อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช.)
  • SRO รองรับการจัดตั้งองค์กรผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนที่กำกับดูแลสมาชิก (Self-Regulatory Organization: SRO) และองค์กรผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน (อยู่ระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อนนำเข้า ครม.)


  1. การให้ความรู้กับภาคประชาชนและสนับสนุนให้เกิดการบริการแนะนำการจัดสรรเงินลงทุนสำหรับประชาชนทั่วไป
  • การให้ความรู้ทางการเงิน ริเริ่มโครงการต่างๆ เช่น การให้ความรู้ทางการเงินผ่านทางการพัฒนาสื่อการสอนสำหรับกลุ่มวัยเริ่มทำงาน การจัดทำคู่มือลงทุนในกองทุนรวม โครงการสร้างวินัยให้พนักงานบริษัทจดทะเบียนรู้จักการวางแผนทางการเงิน โครงการสานฝันเริ่มด้วยพันบาท และโครงการเปลี่ยนประเทศไทยให้รุ่งเรืองด้วยความรู้ทางการเงิน 
  • โครงการสนับสนุนให้เกิดการบริการแนะนำการจัดสรรเงินลงทุนสำหรับประชาชนทั่วไป อาทิ กำหนดให้ผู้แนะนำการลงทุนให้คำแนะนำในเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ แก่ผู้ลงทุน ออกเกณฑ์รองรับผู้ให้บริการการวางแผนการลงทุนและการให้ใบอนุญาตแก่ผู้ให้บริการประเภท investment supermarket เพิ่มช่องทางรับชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (Paying Agent) ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสและร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ และ Bond Supermart เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลหุ้นกู้เอกชน เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและมีข้อมูลเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
  1. พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • ระดับประเทศเพื่อนบ้าน ยกระดับสมรรถนะในการเติบโตไปด้วยกัน มีการลงนาม MoU ด้านความร่วมมือในการพัฒนาตลาดทุนระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย จัดการประชุม Mekong Capital Market Cooperation (MCMC) ตลอดจนการจัดอบรมให้แก่บุคลากรของ ก.ล.ต. ประเทศเพื่อนบ้าน
  • ระดับอาเซียน ร่วมกันพัฒนามาตรฐานกลางของอาเซียนเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในการเสนอขายหลักทรัพย์ (ASEAN Disclosure Standards)  การเสนอขายกองทุนรวมข้ามกัน (ASEAN Collective Investment Scheme Framework) การวัดมาตรฐาน CG ใช้ ASEAN Corporate Governance Scorecard ประเมินมาตรฐานของบริษัทชั้นนำของแต่ละประเทศในอาเซียน
  • ระดับ major markets สร้างช่องทางให้ธุรกิจไทยสามารถนำสินค้าไปขายในตลาดสำคัญๆ ได้ เช่นจีน ญี่ปุ่น เกาหลี  และจัดทำ MOU ภายใต้ AIFMD เพื่อให้กองทุนรวมไทยสามารถเข้าไปขายในสหภาพยุโรป