วช. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน พัฒนานวัตกรรมผ้าขาวม้า
โครงการสัมมนาสื่อสัญจร ครั้งที่ ๕ ประจำปี ๒๕๖๓
เรื่อง
"หัตถกรรมสิ่งทอ ผ้าขาวม้าราชบุรี"
ณ จังหวัดราชบุรี
"หัตถกรรมสิ่งทอ ผ้าขาวม้าราชบุรี"
ณ จังหวัดราชบุรี
เดินทางไปยัง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
การบรรยายเรื่อง
"โครงการการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมต้นแบบในพื้นที่
"โครงการการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมต้นแบบในพื้นที่
ภาคกลาง : กลุ่มหัตถกรรมสิ่งทอ ในจังหวัดราชบุรี"
(ระหว่างเดินทาง)
(ระหว่างเดินทาง)
โดย รศ.ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ
ที่ปรึกษาโครงการ หัตถกรรมสิ่งทอ ผ้าขาวม้าราชบุรี
ที่ปรึกษาโครงการ หัตถกรรมสิ่งทอ ผ้าขาวม้าราชบุรี
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูงานการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผ้าไทย และการท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 ณ จังหวัดราชบุรี เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า คณะผู้วิจัย ได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผ้าขาวม้า โดยมีผลงานวิจัย/ผลิตภัณฑ์จากโครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยส่งเสริมงานสร้างสรรค์ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนผ้าทอไทยและระบบองค์รวม อันนับเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีขีดความสามารถสร้างรายได้ในระดับสูงให้แก่ชุมชนด้วยคุณค่าทางอัตลักษณ์ที่งดงาม รวมถึงการสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ชาวชุมชนทำให้มีกำลังใจในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าขาวม้าทอมือให้คงอยู่เป็นมรดก แล้วยังเป็นจุดขายในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เพื่อนำมาสู่การเพิ่มรายได้ให้กับประชากรในท้องถิ่น และเป็นเวทีของการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมรายได้ผ่านการท่องเที่ยว และขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการถ่ายทอด เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาวิธีการทอ การเลือกประเภทของเส้นใย เพื่อให้คุณภาพของเนื้อผ้าหนา และนุ่มกว่าเดิม ตลอดจนมีความยืดหยุ่น และการย้อมสีให้เหมาะสมกับลวดลายและเส้นใย ตลอดจนการออกแบบลายโดยศึกษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และเพิ่มลวดลายที่มีความทันสมัย เพื่อสามารถนำมาผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ และเหมาะกับกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ องค์ความรู้ที่นำมาดำเนินการถ่ายทอด
#สื่อสัญจรราชบุรี #งานวิจัยวช.
ผู้บรรยาย
ดร.อุดม สมพร
ฅนอำนวยการ จิปาถะภัณฑ์ สถานบ้านคูบัว
ผู้ร่วมบรรยาย (ชุดน้ำเงินเข้ม)
ว่าที่ร้อยตรีเพิ่มสุข เมาระพงษ์
กรรมการมูลนิธิจิปาถะภัณฑ์ สถานบ้านคูบัว
กล่าวถึง สิ่งทอ (ผ้าข้าวม้า) ไท - ยวน
ดร.อุดม สมพร
ฅนอำนวยการ จิปาถะภัณฑ์ สถานบ้านคูบัว
ผู้ร่วมบรรยาย (ชุดน้ำเงินเข้ม)
ว่าที่ร้อยตรีเพิ่มสุข เมาระพงษ์
กรรมการมูลนิธิจิปาถะภัณฑ์ สถานบ้านคูบัว
กล่าวถึง สิ่งทอ (ผ้าข้าวม้า) ไท - ยวน
ณ จิปาถภัณฑ์ สถานบ้านคูบัว
วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
วช. ได้ให้การสนับสนุนโครงการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชน สังคม เพื่อดำเนินการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมต้นแบบในพื้นที่ภาคกลาง: กลุ่มหัตถกรรมสิ่งทอแก่ ดร.พีรยา สระมาลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยได้มีการดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าให้มีคุณภาพ สามารถเพิ่มมูลค่า และช่องทางการตลาด ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของชุมชนให้ดีขึ้น
ศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม
สิ่งทอ (ผ้าข้าวม้า) ไท - ยวน
สิ่งทอ (ผ้าข้าวม้า) ไท - ยวน
ณ จิปาถภัณฑ์ สถานบานคูบัว
โครงการ “การพัฒนาชุมชนต้นแบบในพื้นที่ภาคกลาง: กลุ่มหัตถกรรมสิ่งทอ” ได้ดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง ที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณีอันเป็นลักษณะเด่นของจังหวัดที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล โดยนำองค์ความรู้ด้านการทอ การย้อม การออกแบบลวดลายมาพัฒนาให้การทอผ้าขาวม้าในกลุ่มหัตถกรรมสิ่งทอให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นจากเดิม สร้างอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยเฉพาะจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผ้าขาวม้าในระดับหัตถกรรม และอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ให้ได้ผ้าขาวม้าที่มีความทันสมัย และสามารถเพิ่มช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นการสร้างลวดลายและสีสัน เพื่อเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี และมีความร่วมสมัยแบบสากล โดยการร่วมมือกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาลวดลายและสีสัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศและพัฒนาโครงสร้างและคุณภาพของเนื้อผ้าผ่านกระบวนการคัดเลือกเส้นใยและเทคนิคการทอ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพระดับสากล และในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการแปรรูปสินค้าจากผ้าขาวม้า จะต้องคำนึงถึงการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่าให้มีวัสดุเหลือใช้ให้น้อยที่สุด และนำวัสดุเหลือใช้มาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
เยี่ยมชมกลุ่มสิ่งทอ (ผ้าข้าวม้า) ไท - ยวน
เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม
เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม
ณ จิปาถภัณฑ์ สถานบานคูบัว
วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
ศึกษาดูงานศิลปวัฒนธรรมชาวไทยทรงดำ และหัตถกรรมสิ่งทอ
ณ ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำโรงเรียนบ้านหัวเขาจีน ตำบลหัวเขาจีน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ผศ.ดร.วิทวัน จันทร
ที่ปรึกษาโครงการ ฯ
สรุปผลงานวิจัย
ผศ.ดร.วิทวัน จันทร
ที่ปรึกษาโครงการ ฯ
สรุปผลงานวิจัย
การแสดงหนังใหญ่วัดขนอน
ชื่อตอน สืบมรรคา เป็นตอนหนึ่งของรามเกียรติ์
https://www.facebook.com/737048116416039/videos/287744808971978
https://www.facebook.com/737048116416039/videos/404682123824037
นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
ให้สัมภาษณ์
โดยผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นจะมีพิธีส่งมอบผลงานโครงการ “การพัฒนาชุมชนต้นแบบในพื้นที่ภาคกลาง: กลุ่มหัตถกรรมสิ่งทอ” ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ จังหวัดราชบุรี พร้อมนำเสนอในนิทรรศการหัตถกรรมสิ่งทอจังหวัดราชบุรี ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020) ในวันอาทิตย์ที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ เวทีกลางชั้น ๒๒ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ปทุมวัน กรุงเทพมหานครชื่อตอน สืบมรรคา เป็นตอนหนึ่งของรามเกียรติ์
เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
ณ พิพิธภัณฑ์ หนังใหญ่วัดขนอน
วัดขนอนได้รับเลือกเป็น Asia-Pacific Cultural Center ของ UNESCO เมื่อปี 2550
วัดขนอนได้รับเลือกเป็น Asia-Pacific Cultural Center ของ UNESCO เมื่อปี 2550
นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
ให้สัมภาษณ์
#สื่อสัญจรราชบุรี #งานวิจัยวช.
#NRCT #วช #หัตถกรรมสิ่งทอผ้าขาวม้าราชบุรี