ADS


Breaking News

“ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ทุเรียนภูเขาไฟ GI หนึ่งเดียวในโลก มีให้ชิมแล้วที่ กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาเอ็มควอเทียร์,เอ็มโพเรียม, สยามพารากอน และ เดอะมอลล์ บางกะปิ

ผู้ว่าฯศรีสะเกษ นายธวัช สุระบาลและนายบุญชัยปลื้มสืบกุล ผจก.ใหญ่บริหารสินค้าซุปเปอร์มารฺเก็ต กลุ่มเดอะ มอลล์ กรุ๊ป ร่วมเปิดตัว ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ทุเรียนภูเขาไฟ GI หนึ่งเดียวในโลก กรอบนอกนุ่มใน หวานมัน เนื้อละเอียดละมุนลิ้น มีให้ชิมแล้วที่ กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาเอ็มควอเทียร์,เอ็มโพเรียม,สยามพารากอน และ เดอะมอลล์ บางกะปิ พร้อมกับนำกาแฟทุเรียน และทุเรียนฯ มาให้สื่อมวลชนและลูกค้า ณ บริเวณ กูร์เมต์ มาร์เก็ตสาขาเอ็มควอเทียร์ ได้ลิ้มลอง

ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มีวางจำหน่ายในกูร์เมต์ มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า เครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป ให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใน กทม.ได้ชิม เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม 2561 นี้แล้ว
ความเป็นมาของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ
ในอดีตเกษตรกรชาวสวนผลไม้เดิมทำไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง และพืชไร่อื่น ๆ ซึ่งมักประสบปัญหาขาดทุน  ยิ่งทำก็ยิ่งจน หนี้สินยิ่งเพิ่มพูน อีกทั้งพืชเหล่านั้นต้องลงทุนใหม่ทุกปี และปีไหนผลผลิตมากราคาก็ตกต่ำ บางทีก็ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง จึงคิดหาอาชีพใหม่แทน
จังหวัดศรีสะเกษ เริ่มมีการปลูกไม้ผลอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา โดยเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537  นับว่าศรีสะเกษเป็นจังหวัดแรกๆ ของภาคอีสานที่มีการปลูกทุเรียนและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ไม่แพ้ทุเรียนเจ้าตำรับจากภาคใต้ และภาคตะวันออก ซึ่งทุเรียนที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูก คือ พันธุ์หมอนทอง ปัจจุบันมีพื้นที่การปลูกทุเรียน 6,085 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอกันทรลักษ์ และขุนหาญ ปริมาณผลผลิตรวม 4,474.64 ตัน สามารถสร้างรายได้ให้จังหวัดปีละไม่น้อยกว่า 447 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีผลไม้และพืชเศรษฐกิจอีกหลายชนิดที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น เงาะ ลำไย มังคุด ลองกอง ซึ่งนับรวมแล้ว ถือว่าสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 500 ร้อยล้านบาท
ลักษณะเด่นของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ
ในปี พ.ศ. 2560 นายธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้สร้างอัตลักษณ์ของทุเรียนศรีสะเกษ โดยใช้ชื่อว่า “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” โดยชูคุณสมบัติเด่นของแหล่งผลิตที่ปลูกในบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟโบราณ แถบเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ ดินจึงมีลักษณะเหนียวสีแดง ระบายน้ำดีมาก มีธาตุอาหารชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง และเกษตรกรใช้น้ำใต้ดินที่มีความลึกมากกว่า 50-100 เมตร ในการให้น้ำผลไม้ จึงส่งผลให้ได้รับแร่ธาตุครบถ้วน ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี นอกจากนั้นด้วยลักษณะสภาพภูมิอากาศ ของจังหวัด     ศรีสะเกษที่ไม่ชื้นจนเกินไป ประกอบกับแสงแดดที่มีความเข้มแสงสูง ทำให้พืชได้รับแสงอย่างเต็มที่ ทุเรียนจึงดูดธาตุอาหารจากดินมาช่วยสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื้อทุเรียนที่ได้ จึงอุดมไปด้วยธาตุอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เกิดเป็นทุเรียนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ กล่าวคือ เนื้อทุเรียนแห้งและนุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะไม่ฉุนมาก รสชาติมันค่อนข้างหวาน ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทุเรียนทั้งภายในและต่างประเทศ จึงอาจกล่าวได้ว่า
สถานการณ์การผลิตทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษ
จากการสำรวจสถานการณ์การผลิตทุเรียน ปี 2561 พบว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ทุเรียนทั้งหมด 6,085 ไร่ เพิ่มขึ้น 988 ไร่ จากปี 2560 เนื่องจากจังหวัดมีการส่งเสริมการผลิตทุเรียนในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม (อำเภอขุนหาญ พื้นที่ 435 ไร่ เกษตรกร 87 ราย,อำเภอกันทรลักษ์ พื้นที่ 500 ไร่ เกษตรกร 100 ราย และอำเภอศรีรัตนะ พื้นที่ 65 ไร่ เกษตรกร 13 ราย) โดยทุเรียนพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดคือ พันธุ์หมอนทอง
ซึ่งผลจากการศึกษาของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ พบว่าทุเรียนพันธุ์หมอนทองของศรีสะเกษ มีลักษณะดังนี้ สีเนื้อของทุเรียนเป็นสีเหลือง น้ำหนักผลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.65-4.99 กิโลกรัม/ผล จำนวนพู 5 พู/ผล เปอร์เซ็นต์เนื้อต่อเปอร์เซ็นต์เมล็ด เท่ากับ 88.9 : 11.1
คาดการณ์ผลผลิตทุเรียนศรีสะเกษ ปี 2561 เท่ากับ 3,612.12 ตัน ลดลง 862.52 ตัน จากปี 2560 ที่มีผลผลิตรวม 4,474.64 ตัน คิดเป็นร้อยละ 19.28 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศหนาวเย็น
และอิทธิพลจากพายุฤดูร้อนส่งผลให้ผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์
อำเภอ
เกษตรกร (ครัวเรือน)
พื้นที่ปลูก (ไร่)
พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว (ไร่)
ผลผลิตเฉลี่ย (กิโลกรัม/ไร่)
ปริมาณผลผลิตที่คาด ปี 2561 (ตัน)
หมายเหตุ
กันทรลักษ์
265
2,553
1,272
739
940.00

ขุขันธ์
1
10
-  
-  
-

ขุนหาญ
375
3,222
1,574
1,632
2,568.00

ภูสิงห์
7
36
33
505
16.67

ศรีรัตนะ
39
264
103
849
87.45

รวม
687
6,085
2,982
1,211
3,612.12

ที่มาข้อมูล : ข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่อ.กันทรลักษ์ อ.ขุนหาญ อ.ศรีรัตนะ อ.ภูสิงห์ และอ.ขุขันธ์ ปี 2561 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ
โดยจะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาด แบ่งเป็น 6 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่
ช่วงเวลา
คาดการณ์ผลผลิตทุเรียนศรีสะเกษ ปี 2561
กันทรลักษ์
ขุนหาญ
ศรีรัตนะ
ภูสิงห์
รวม
เก็บเกี่ยว (ไร่)
ผลผลิต (ตัน)
เก็บเกี่ยว (ไร่)
ผลผลิต (ตัน)
เก็บเกี่ยว (ไร่)
ผลผลิต (ตัน)
เก็บเกี่ยว (ไร่)
ผลผลิต (ตัน)
เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่)
ปริมาณผลผลิต (ตัน)
1
10-31 พ.ค. 2561
300
70
1,574
128
-
-


1,874
198
2
1-15 มิ.ย. 2561
-
-
1,574
385
82
27
21
4
1,677
416
3
16-30 มิ.ย. 2561
1,000
586
1,574
1,028
103
36.45
30
6
2,711
1,656.45
4
1-15 ก.ค. 2561
-
-
1,574
514
-
-
33
3.67
1,607
517.67
5
16-31 ก.ค. 2561
1,272
284
1,574
385
103
24
33
3
2,982
696
6
1-15 ส.ค. 2561
-
-
1,574
128
-
-


1,574
128
รวมทั้งหมด
1,272
940
1,574
2,568
103
87.45
33
16.67
2,982
3,612.12
ที่มาข้อมูล : ข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่ อ.กันทรลักษ์ และอ.ขุนหาญ เมื่อระหว่างวันที่ 5-19 เม.ย. 2561 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ
การพัฒนาทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษ
ตั้งแต่ปี 2559 ที่นายธวัช  สุระบาล ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เกิดการพัฒนาทางด้านต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ มีสินค้าเกษตรที่หลากหลาย รวมถึงไม้ผล ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลำไย ลองกอง มังคุด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอีกประเภทหนึ่งของจังหวัด โดยผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทำให้ นายธวัช  สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษอย่างหนึ่ง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งภายใน และต่างประเทศ ให้มีคุณภาพเป็นมาตรฐานตรงตามความต้องการของผู้บริโภค จึงได้เกิดการพัฒนาขึ้น ดังนี้
ด้านการผลิต
1 การพัฒนาคุณภาพผลผลิตทุเรียนศรีสะเกษสู่มาตรฐานสากล (GAP)
จังหวัดศรีสะเกษได้ดำเนินการในการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนให้มีการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตตามระบบการผลิตพืชที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน(GAP) มาโดยต่อเนื่อง ปัจจุบันมีเกษตรกรได้รับใบรับรองตามมาตรฐานการผลิตของ GAP แล้วจำนวน 105 ราย คิดเป็น 21.17 % จากปริมาณพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งจังหวัด โดยจังหวัดศรีสะเกษ มีแนวคิดในการพัฒนาระบบการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตทุเรียน (GAP) โดยการรวมกลุ่มผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพ เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดและเป็นแหล่งสะสมทุนของเกษตรกร เพื่อกลุ่มสามารถบริหารจัดการการตรวจรับรองให้กับสมาชิกได้เอง ไม่ต้องรอการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองจากทางภาครัฐ ซึ่งมีเป้าหมายการดำเนินงานที่อำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอขุนหาญ ซึ่งเป็นพื้นที่ผลผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกที่สำคัญ
อีกกิจกรรมหนึ่งที่จังหวัดได้การส่งเสริม คือ การจัดเกรดผลผลิตทุเรียนและการรักษาคุณภาพสินค้าทุเรียน โดยมีแนวคิดในการคัดแยกเกรดทุเรียนระหว่างทุเรียนคุณภาพ หมายถึงผลผลิตทุเรียนได้ผ่านการตรวจรับรองตามมาตรฐาน GAP กับผลผลิตทุเรียนทั่วไป โดยมีการอัพเกรดราคาของทุเรียน GAP ให้สูงกว่าทุเรียนทั่วไป เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเห็นถึงความสำคัญของการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตมากยิ่งขึ้น  พร้อมทั้งการรณรงค์เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับผลดีของการตัดทุเรียนที่แก่จัด เพื่อให้ได้ผลผลิตทุเรียนที่มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภคซึ่งสวนทุเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสวนทุเรียนคุณภาพจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- เกษตรกรปฏิบัติดูแลสวนทุเรียนได้ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่ง-ดอก-ผล การใส่ปุ๋ย เป็นต้น ต้นทุเรียนต้องมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทุกส่วนและต้องมีการจดลงในสมุดบันทึกการปฏิบัติดูแลสวนเป็นลำดับขั้นตอนอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูการผลิต
- เป็นสวนที่ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช “เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)” ระดับแปลง โดยกรมวิชาการเกษตร
- มีการจัดเก็บข้อมูล ในระบบ QR Code (Quick Response Code) เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจ สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังผู้ผลิตได้
รวมถึงแนวคิดในการจัดตั้ง “ศูนย์ป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงศัตรูทุเรียน” ซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช และดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อพบการระบาดได้อย่างทันท่วงที
2 การส่งเสริมให้มีการเพิ่มพื้นที่การผลิตทุเรียน ในพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม
เมื่อเปรียบเทียบการปลูกทุเรียนกับพืชที่ปลูกอยู่เดิม เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่าทุเรียนให้ผลตอบแทนดีกว่า ทางจังหวัดมีการส่งเสริมให้เกษตรลดพื้นที่การปลูกยางพารา เพื่อปรับเปลี่ยนมาปลูกทุเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยการสนับสนุนต้นพันธุ์ และพัฒนาระบบน้ำให้กับชาวสวน ทั้งในพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์และอำเภอขุนหาญซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมตามประกาศพื้นเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) ควบคู่กับการให้ความรู้ในการพัฒนาพัฒนาคุณภาพของผลผลิต และการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มสวนต่อไป
3 สร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำของผู้บริโภค
จังหวัดศรีสะเกษได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geoghaphical Indication : GI) เนื่องจากพื้นที่ผลิตทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษได้แก่ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ และศรีรัตนะ เป็นเขตพื้นที่แนวภูเขาไฟเก่า จึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารต่างๆ ที่เหมาะสมทำให้ทุเรียนมีรสชาติที่ดี มีกลิ่นหอมผู้บริโภคได้ชิมแล้วต่างยอมรับในรสชาติที่แตกต่างไม่เหมือนที่ใด ของ “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ”
กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศให้ “ทุเรียนภูเขไฟศรีสะเกษ” เป็นทุเรียนภูเขาไฟ GI หรือเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นทุเรียนที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ กล่าวคือ มีอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร เนื้อทุเรียนละเอียดเนียนนุ่ม กรอบนอกนุ่มใน หวานมันกำลังพอดี ที่สำคัญคือกลิ่นหอมอ่อนๆ ทานแล้วไม่ร้อนในด้วย อย่างไรก็ดีประกาศจะมีผลจริงๆต้องหลังจากประกาศพ้นกำหนด 90 วันไปแล้ว ก็คือหลังวันที่ 25 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป
ด้านการตลาด
1 ด้านการพัฒนาช่องทางการตลาดต่างประเทศ
ผลผลิตทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่ต้องการของพ่อค้าส่งออก เนื่องจากมีคุณลักษณะตรงตามความต้องการ และระยะเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นช่วงที่ผลผลิตในประเทศมีอยู่จำนวนมามากส่งผลให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายทุเรียนได้ในราคาที่สูง โดยพ่อค้าส่งออกทุเรียนส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าที่มาจากต่างจังหวัด ซึ่งบางรายก็เข้าไปติดต่อและทำสัญญาซื้อขายกับเกษตรกรเองถึงสวน โดยไม่ได้ผ่านการดำเนินของกลุ่มหรือหน่วยงานภาครัฐจึงทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบและการไม่กระทำตามสัญญาซื้อขายเกิดขึ้น จังหวัดจึงมีแนวคิดในการรวมรายชื่อเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการตรวจรับรองการผลิตของ GAP ที่มีความประสงค์จะจำหน่ายผลผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออก นำมาจัดทำเป็นข้อมูลเผยแพร่ให้กับพ่อค้าส่งออกทุเรียนที่มีการจดทะเบียนการค้าอย่างถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างระบบการผลผลิต การขนส่งเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าตามข้อตกลงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งพื้นที่ปลูกทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษนั้นอยู่บริเวณชายแดนไทยกัมพูชา และอยู่ไม่ไกลจากท่าเรือเมืองดานัง และท่าเรือเมืองวิน-เยิน ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถส่งทุเรียนไปยังประเทศจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลก จึงนับเป็นโอกาสอันดีของทุเรียนศรีสะเกษที่จะสามารถสร้างข้อได้เปรียบทุเรียนจากแหล่งผลิตอื่นๆในด้านระยะทางการขนส่งที่น้อยกว่า ดังนั้นจังหวัดฯ จึงมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทุเรียนด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการตรวจรับรองการผลิตและพัฒนาระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเน้นการพัฒนาคนควบคู่กับการพัฒนาทางเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งปี พ.ศ. 2561 นายธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เชื่อมโยงตลาดกับผู้ประกอบการเพื่อที่จะทำตลาดทุเรียนส่งไปขายที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับทุเรียนภูเขาไฟต่อไป
2 ด้านการพัฒนาช่องทางการตลาดภายในประเทศ
- ตลาดภายในท้องถิ่น
การจำหน่ายทุเรียนในจังหวัดศรีสะเกษนั้นส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าแม่ค้าในจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียงเข้ามารับซ้อผลผลิตกับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเกษตรกรรายย่อยซึ่งพื้นที่ปลูกและผลผลิตทุเรียนไม่มากนัก จึงทำต้องขายทุเรียนให้กับพ่อค้าระดับท้องถิ่น โดยเมื่อได้ทุเรียนจากสวนของเกษตรกรแล้วพ่อค้าจะนำไปจำหน่ายตามจุดจำหน่ายที่สำคัญต่างๆ เช่น ตลาดสด ตามสถานที่การจัดงานเทศกาลต่างๆ ทำให้สินค้าทุเรียนสามารถกระจายตัวได้อย่างทั่วถึง แต่ก็มีพ่อค้าบางรายที่มีการนำทุเรียนจากพื้นที่อื่นๆ เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนที่ถูกคัดทิ้งในกระบวนส่งออกทำให้มีราคาถูกกว่าทุเรียนศรีสะเกษ โดยพ่อค้าเหล่านั้นได้นำมาแอบอ้างว่าเป็นทุเรียนที่ผลิตในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อให้สามารถจำหน่ายในราคาเดียวกับทุเรียนของศรีสะเกษ ส่งผลเสียต่อคุณภาพทุเรียนศรีสะเกษเป็นอย่างมาก จากปัญหาดังกล่าวจังหวัดฯจึงมีแนวทางในการพัฒนาระบบการับประกันคุณภาพทุเรียนศรีสะเกษ โดยในระยะเริ่มแรกจังหวัดได้จัดทำสติ๊กเกอร์ซึ่งมีข้อความว่า “ทุเรียนศรีสะเกษ” เพื่อติดกับขั้วทุเรียน โดยมีการระบุชื่อสวน วันเดือนปีที่เก็บเกี่ยว และวันที่คาดว่าทุเรียนจะสุกพร้อมที่จะรับประทานได้ลงในสติ๊กเกอร์ดังกล่าว ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยทำให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจในการเลือกทุเรียนมากขึ้น อีกแนวคิดหนึ่งที่จังหวัดต้องการดำเนินการคือการขึ้นทะเบียนพ่อค้าผู้จำหน่ายทุเรียนภายในจังหวัด โดยการสำรวจร้านค้า รถเร่ แผงลอยที่จำหน่ายทุเรียนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบและวางแผนการพัฒนาช่องทางการตลาดในท้องถิ่นต่อไป
อีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งจังหวัดได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาทุกปี และเป็นกิจกรรมที่ทำให้ทุเรียนศรีสะเกษ มีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้ นั่นคือ “งานเทศกาลเงาะ-ทุเรียนและของดีศรีสะเกษ” และในปี พ.ศ.2561 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น“เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ อาเซียนเทรดแฟร์ 2561 (Lava Durian Sisaket & Asean Trade Fair 2018)”  ซึ่งกำหนดในช่วงที่ผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดคือในช่วงเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม ของทุกปี ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 29 มิถุนายน – 8 กรกฏาคม 2561 ณ สวนปาล์ม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ โดยกิจกรรมในงานประกอบด้วย การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร การประกวดพันธุ์สัตว์ การประกวดธิดาชาวสวน การประกวดร้องเพลงและวงดนตรีสากล ฯลฯโดยเฉพาะการประกวดทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษที่มีรสชาติอร่อย กรอบนอก นุ่มใน หวานน้อย ละมุนลิ้น  กลิ่นไม่ฉุน เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงเพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดและยังไปการส่งเสริมการท่องเทียวของจังหวัด โดยมีการให้บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อนำนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนทุเรียน เลือกชิมและเลือกซื้อทุเรียนจากสวนในราคาย่อมเยา ซึ่งทำให้เกิดรายได้ต่อชาวสวนและสร้างรายได้เข้าจังหวัดปีละหลายร้อยล้านบาท
กาแฟทุเรียน เข้มข้น กลมกล่อม
มาตรการป้องกันการจำหน่ายทุเรียนอ่อน ได้มีการเปิดช่องทางการร้องเรียนปัญหาทุเรียนอ่อนผ่านทางแอพพลิเคชั่น LINE โดยห้ามเจ้าของสวนนำทุเรียนอ่อนมาขายอย่างเด็ดขาด เพราะทำให้ชื่อเสียงของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษเสียหาย และห้ามนำทุเรียนจากที่อื่นมาแอบอ้างขายแล้วปั่นราคาให้สูง หากเจ้าของสวนหรือมีผู้ใดฝ่าฝืนจะมีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด
- ด้านตลาดชั้นสูงในห้างสรรพสินค้าใน กทม./ตลาดออนไลน์
ปัจจุบันทุเรียนหมอนทองศรีสะเกษ เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ ในปี 2561 ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้เชื่อมโยงตลาดกับทางผู้ประกอบการชาวสวนทุเรียนนำทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษจากอำเภอกันทรลักษณ์ ไปวางจำหน่ายในกูร์เมต์ มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าเอ็มควอเทียร์, เอ็มโพเรียม สยามพารากอน และห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ ให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใน กทม. ได้ชิม เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม 2561 นี้จนจบฤดูกาล
ในด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลผลิตทุเรียนและผลไม้ที่สำคัญของจังหวัดมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสารต่างๆ โดยเน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนให้กับทุเรียนศรีสะเกษ ว่าเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ เก็บเกี่ยวในระยะที่เหมาะสม รสชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่งผลให้กระแสความต้องการบริโภคทุเรียนศรีสะเกษมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามมา
ผลจากความต้องการดังกล่าวจังหวัดศรีสะเกษจึงมีแนวคิดในการ พัฒนาระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อใช้เป็นช่องทางการจำหน่ายทุเรียนให้กับลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัด เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากจังหวัดศรีสะเกษสามารถเข้าถึงแหล่งผลิตได้อย่างมั่นใจ ผู้บริโภคสามารถสั่งจองทุเรียนได้ทางออนไลน์ ทั้งทาง LINE, Facebook หรือทางโทรศัพท์ ซึ่งทุเรียนที่สั่งนั้นจะมีคัดเลือกทุเรียนเกรด Premium ทุกลูกจะมีการตรวจสอบย้อนกลับโดยใช้ QR code ติดที่ลูกทุเรียน เมื่อสแกนแล้วจะแสดงชื่อ ที่อยู่ มาตรฐาน GAP รูปเจ้าของสวนและอื่นๆ ทำให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่า ทุเรียนแต่ละลูกเป็นทุเรียนจากสวนของใคร ซึ่งทุเรียนดังกล่าวจะจัดส่งทางไปรษณีย์ที่มีความปลอดภัย กล่องกระดาษที่บรรจุจะมีความหนาเป็นพิเศษ มากกว่ากล่องกระดาษทั่วไป โดยทุเรียนที่จัดส่งทางไปรษณีย์จะมีกำหนดส่งถึงมือผู้รับภายใน 3 วัน ซึ่งทุเรียนจะสุกพอดีเมื่อไปถึงมือผู้รับ