ADS


Breaking News

เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลวิจัยใหม่ ชี้ องค์กรที่ยกเครื่องระบบไอที จะก้าวข้ามการแข่งขันได้

88 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบสำรวจ กำลังปฏิรูประบบไอทีอยู่ในระดับที่น้อยสุดถึงปานกลาง
81 เปอร์เซ็นต์ เห็นพ้องต้องกันว่าการปฏิรูประบบไอทีจำเป็นต่อการเอาชนะในตลาด

สรุปประเด็นข่าว
  • เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลการศึกษาใหม่เกี่ยวกับการเติบโตของการปฏิรูปไอที โดยทำสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที 4,000 รายทั่วโลก
  • ผลสำรวจ ชี้ว่าองค์กรที่มีการปฏิรูป มีแนวโน้มที่จะออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่สู่ตลาดทำให้อยู่เหนือการแข่งขันได้สูงกว่าถึง 22 เท่า
  • 81 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรเหล่านี้ เห็นพ้องว่าหากไม่ปฏิรูปไอที จะทำให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ คิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ถึง 71 เปอร์เซ็นต์
  • 96 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจ มีแนวคิดริเริ่มในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลอยู่แล้ว และยังเห็นถึงการเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างการเติบโตในการปฏิรูปไอที และความก้าวหน้าในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล
เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลวิจัยชิ้นใหม่ ที่จัดทำโดย Enterprise Strategy Group (ESG) เกี่ยวกับประโยชน์ของการปฏิรูปไอที ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเหตุและผลที่ว่าการปฏิรูปไอทีสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ที่ช่วยนำไปสู่ความแตกต่างในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงนวัตกรรมและสร้างการเติบโตได้ในท้ายที่สุด

ภาพรวมธุรกิจในปัจจุบันเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนมากขับเคลื่อนจากการที่องค์กรธุรกิจนำเทคโนโลยีมาใช้ในแนวทางใหม่ๆ หรือใช้อย่างมีนวัตกรรม  ซึ่งการที่จะอยู่รอดและเฟื่องฟูได้ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน ทำให้องค์กรธุรกิจต่างนำเทคโนโลยีใหม่ กระบวนการและทักษะใหม่ๆ มาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด ก้าวแรกที่เป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ก็คือ การปฏิรูปไอที เพื่อช่วยให้องค์กรนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพื่อให้แข่งขันได้พร้อมผลักดันเรื่องของนวัตกรรม  สอดคล้องตามผลการศึกษาเกี่ยวกับการเติบโตของการปฏิรูปไอทีปี 2018 ของ ESG (ESG’s 2018 IT Transformation Maturity Study) ในประเด็นต่อไปนี้
  • 81 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจ เห็นพ้องว่าถ้าไม่มีการปฏิรูปไอที องค์กรตนก็จะไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งเป็นความเห็นที่เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ถึง 71 เปอร์เซ็นต์
  • 88 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบสำรวจ กล่าวว่าองค์กรของตนอยู่ภายใต้ความกดดันที่ต้องส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น
  • องค์กรที่มีการปฏิรูป มีแนวโน้มที่จะอยู่เหนือการแข่งขันจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ออกสู่ตลาดได้ มากกว่าถึง 22 เท่า
  • องค์กรที่มีการปฏิรูป มีแนวโน้มความเชื่อว่าตนอยู่ในสถานภาพที่แข็งแกร่งที่จะแข่งขันและประสบความสำเร็จในตลาดภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าได้มากกว่าถึง 2.5 เท่า
  • บริษัทที่มีการปฏิรูป มีแนวโน้มว่าจะตัดสินใจจากข้อมูลได้ดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าคู่แข่งถึง 18 เท่า และบรรลุเกินเป้าหมายรายได้ที่ตั้งไว้ถึง 2 เท่า
“ข้อมูล เป็นข้อได้เปรียบใหม่ทางการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังมีการกระจายการใช้งานผ่านจุดเชื่อมต่อเครือข่ายปลายทาง (edge) รวมถึงดาต้าเซ็นเตอร์หลัก และคลาวด์  ทั้งนี้องค์กรธุรกิจต่างตระหนักดีว่าต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นความฉลาดทางธุรกิจ ซึ่งต้องอาศัยระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบเอ็นด์-ทู-เอ็นด์ ที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการ วิเคราะห์ จัดเก็บพร้อมปกป้องข้อมูลได้ในทุกที่” นายนพดล ปัญญาธิปัตย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ อีเอ็มซี (ประเทศไทย) กล่าว “เราอยู่ในธุรกิจที่ช่วยให้สร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถสร้างกลยุทธ์แบบครบวงจรได้จริง พร้อมผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังการเปลี่ยนแปลง”

การศึกษาพัฒนาการในการปฏิรูปไอที ของ ESG ประจำปี 2018
การศึกษาการเติบโตของการปฏิรูปไอที ของ ESG ประจำปี 2018 เป็นการตามรอยการศึกษาต้นแบบที่จัดทำโดย เดลล์ อีเอ็มซี ESG 2017 IT Transformation Maturity Study และเป็นการศึกษาที่ออกแบบมาเพื่อให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ของการปฏิรูปไอที ประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทที่ผ่านประสบการณ์การปฏิรูป และบทบาทของเทคโนโลยีสำคัญที่มีต่อการปฏิรูปไอที  ทั้งนี้ ESG ได้นำโมเดลเรื่องการเติบโตที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจากงานวิจัย มาใช้ระบุความคืบหน้าเรื่องการปฏิรูปไอทีในขั้นตอนที่ต่างกัน พร้อมประเมินว่าองค์กรระดับโลกแห่งไหนบ้างที่ผ่านการปฏิรูปในขั้นตอนใด จากการตอบคำถามถึงการนำเทคโนโลยีที่เพิ่มความทันสมัยให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ รวมถึงกระบวนการไอทีแบบอัตโนมัติมาใช้ พร้อมปฏิรูปเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างรวดเร็วในองค์กร

“บรรดาบริษัทต่างๆในปัจจุบัน ล้วนต้องการความคล่องตัวเพื่อให้ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้ พร้อมขับเคลื่อนไปสู่การเติบโต และการปฏิรูปไอทีสามารถช่วยให้เข้าถึงศักยภาพนั้นได้” จอห์น แมคไนท์ รองประธานฝ่ายงานวิจัย Enterprise Strategy Group กล่าว “เห็นได้ชัดเจนว่าการปฏิรูปไอทีมีการขยายตัวไปสู่องค์กรต่างๆ มากขึ้น เพราะบรรดาบริษัท รวมถึงผู้บริหารระดับอาวุโสต่างเข้าใจดีว่าการปฏิรูปไอทีสำคัญต่อกลยุทธ์ธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมอย่างไร ในขณะที่การบรรลุในการปฏิรูปก็อาจเป็นความพยายามครั้งสำคัญ ซึ่งงานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า บริษัทที่ “ปฏิรูปแล้ว” จะสัมผัสถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจอย่างแท้จริง รวมถึงมีแนวโน้มที่จะอยู่เหนือการแข่งขันด้วยการนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ออกสู่ตลาด สามารถนำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น เร็วขึ้นกว่าคู่แข่งในตลาด และบรรลุเป้าหมายรายได้เกินกว่าที่ตั้งไว้”

ปีนี้ มีองค์กรที่เข้าร่วมการสำรวจถึง 4,000 แห่ง โดยจะถูกแบ่งกลุ่มตามขั้นตอนในการพัฒนาสู่การปฏิรูปไอทีบนฐานเดียวกัน
  • ขั้นตอนที่ 1 – Legacy ยังเป็นระบบดั้งเดิม (6%) ซึ่งยังขาดอยู่หลายขั้นตอน ถ้าไม่ได้ขาดทุกแง่มุมในการปฏิรูปไอทีตามการศึกษาของ ESG
  • ขั้นตอนที่ 2 Emerging เพิ่งเริ่ม (45%) โดยแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในเรื่องการปฏิรูปไอที แต่ยังมีการนำเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัยมาใช้น้อยมาก
  • ขั้นตอนที่ 3 – Evolving มีพัฒนาการที่ดี (43%) โดยแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปฏิรูปไอที และมีการนำเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัยมาใช้ พร้อมวิธีการส่งมอบไอทีในระดับปานกลาง
  • ขั้นตอนที่ 4 – Transformed ปฏิรูปแล้ว (6%) มีพัฒนาการไกลที่สุดในการดำเนินการตามความริเริ่มด้านการปฏิรูปไอที

ผลศึกษาในปีนี้ แสดงให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจกำลังคืบหน้าสู่การเติบโตด้านไอทีและโดยทั่วไปเชื่อว่าการปฏิรูปเป็นสิ่งสำคัญในแง่ยุทธศาสตร์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
  • 96 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบสำรวจ กล่าวว่ากำลังดำเนินการตามโครงการริเริ่มในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ทั้งในขั้นตอนของการวางแผน เริ่มติดตั้งใช้งาน อยู่ระหว่างกระบวนการดำเนินการ หรือพัฒนาให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว
  • ผู้ตอบสำรวจที่อยู่ในองค์กรที่ปฏิรูปแล้ว มีแนวโน้มว่าจะมีการพัฒนาการไปสู่โครงการปฏิรูปสู่ดิจิทัลตามมา มากกว่าบริษัทที่ใช้ระบบงานดั้งเดิมถึง 16 เท่า (66% เทียบกับ 4%)
  • องค์กรที่ปฏิรูปแล้ว มีแนวโน้มว่าจะทำรายได้ทะลุเป้าที่กำหนดในปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับองค์กรที่ยังเป็นระบบดั้งเดิม (94% เทียบกับ 44%)
  • 84 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบสำรวจที่มีพัฒนาการในการดำเนินการตามความริเริ่มในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล กล่าวว่าตนอยู่ในจุดที่แข็งแกร่ง หรือ แข็งแกร่งมากในการแข่งขัน และประสบความสำเร็จ

การเติบโตของการปฏิรูปไอที สามารถเร่งให้เกิดนวัตกรรม ผลักดันไปสู่การเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพด้านไอที และลดค่าใช้จ่ายได้ ยิ่งไปกว่านั้นคือ
  • องค์กรที่ปฏิรูปแล้ว สามารถเปลี่ยนงบประมาณด้านไอทีเป็นนวัตกรรมได้มากกว่า 17 เปอร์เซ็นต์
  • ปิดโครงการได้เร็วกว่ากำหนดการถึง 3 เท่า และมีแนวโน้มว่าจะปรับมาใช้แอปพลิเคชันส่วนใหญ่ได้เร็วกว่ากำหนดการถึง 10 เท่า
  • องค์กรที่ปฏิรูปแล้ว ยังรายงานว่าบรรลุโครงการไอทีภายใต้งบประมาณที่กำหนดได้มากกว่าถึง 14 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังใช้เงินไปกับแอปพลิเคชันสำคัญทางธุรกิจน้อยลงถึง 31 เปอร์เซ็นต์

ทำให้การปฏิรูปไอที และการปฏิรูปสู่ดิจิทัลเป็นจริงได้
Bank Leumi สถาบันธนาคารชั้นนำและเก่าแก่ที่สุดในอิสราเอล กำลังเห็นถึงประโยชน์ของการปฏิรูปไอที ด้วยการทำให้ mobile-only bank หรือการให้บริการผ่านมือถือเท่านั้น เป็นจริงขึ้นมา ทั้งนี้องค์กรได้เริ่มต้นที่การสร้างแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น ดูแลลูกค้าได้เร็วยิ่งขึ้น และเข้าถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้  การจะทำเรื่องเหล่านี้ได้ บริษัทต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น และเริ่มนำโมเดลไฮบริดคลาวด์มาใช้ รวมถึงดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ (software-defined data center) ซึ่งจะช่วยให้บริษัทย้ายโปรแกรมจากเครื่องที่พัฒนาไปยังเครื่องที่ใช้งานจริงได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง แทนที่จะใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ได้เร็วขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง  จึงเป็นการช่วยให้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีนวัตกรรมสู่ตลาดได้

“เราอยู่ท่ามกลางยุคของการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ซึ่งทั้งความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” อิแลน บูกานิม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ Bank Leumi กล่าว “ในฐานะที่เราเป็นธนาคาร จึงต้องปรับตัวพร้อมมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เราเห็นถึงโอกาสในการดำเนินการเรื่องนี้กับ mobile-only bank ใหม่ของเราคือ “Pepper”  การย้ายไปสู่โมเดลไฮบริดคลาวด์ และสภาพแวดล้อมดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ช่วยให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการให้บริการด้านธนาคารแบบเรียลไทม์ ให้ความสามารถในการดำเนินการได้รวดเร็วและช่วยลดเวลาในการเสนอความสามารถด้านฟังก์ชันการทำงานแบบใหม่ จึงทำให้สามารถมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าได้”

เกี่ยวกับเดลล์ อีเอ็มซี
เดลล์ อีเอ็มซี เป็นส่วนหนึ่งของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่มุ่งช่วยองค์กรธุรกิจเปลี่ยนโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ไปสู่ความทันสมัย ในระบบอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบควบรวม เซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และระบบปกป้องข้อมูล ให้พื้นฐานที่เชื่อถือได้สำหรับธุรกิจที่ต้องการพลิกโฉมไอที ด้วยการสร้างไฮบริดคลาวด์ พร้อมปรับโฉมธุรกิจด้วยการสร้างแอพพลิเคชันเพื่อการใช้งานบนคลาวด์และโซลูชันบิ๊กดาต้า ทั้งนี้ เดลล์ อีเอ็มซี ให้บริการลูกค้าครอบคลุม 180 ประเทศ รวมถึง 98 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในทำเนียบ Fortune 500 ด้วยสายผลิตภัณฑ์แห่งนวัตกรรมที่สมบูรณ์ที่สุดในอุตสาหกรรมทั้งระบบงานหลักจนถึงระบบคลาวด์  
# # #

Copyright © 2018 Dell Inc. or its subsidiaries. All Rights Reserved. Dell, EMC and other trademarks are trademarks of Dell Inc. or its subsidiaries. Other trademarks may be trademarks of their respective owners. 

ESG Research Insights Paper commissioned by Dell EMC and Intel, March 2018. Results based on 4,000 global survey respondents fielded between September 19, 2017 and November 6, 2017.